กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17488
ชื่อเรื่อง: การปรับลดระยะเวลาการหยุดทำงานชุดรางพับเครื่องพิมพ์ : กรณีศึกษา โรงงานผลิตกล่องลูกฟูก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Reducing Flexo Printing Machine Downtime at Folding Bar : Case Study In Corrugated Boxes Manufacturer
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนิดา รัตนมณี
ขจรศักดิ์ กองลุน
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คำสำคัญ: เครื่องพิมพ์;Total Productive Maintenance;TPM;folding bar
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research was about the problem of the Flexo printing machine downtime that affects the machine to stop for initial adjustment and correction by the operator, this results in the loss of cost and production time. Therefore, the objective of this research was to reduce Flexo printing machine downtime at the folding bar by 30% compared to the production downtime data before the improvement. This study started by collecting data on the condition of printing machine problems affecting machine downtime in February 2021. The Pareto chart found that the most problems were the Folding & Gluing Section Unit at the folding bar and collecting downtime data for the folding bar from January 2020 to April 2021, the machine downtime average was 195.8. minutes per month and the Standard deviation was 97.49 minutes per month. Consequently, the problems were analyzed by using a fishbone diagram and Failure Mode and Effect Analysis to find out the root causes of the problems. The risk priority number score was over 200 points. After that delivered into the improvement process by using the principle of Total Productive Maintenance. It consists of adjustment /replacement/installation of spare parts and equipment. Preparing Work Instruction document for set-up and checking. Preparing check sheet form. Preparing annual maintenance plan and training to educate operators and maintenance technicians for the Folding and Gluing Section Unit. Then followed up on improvements by collecting downtime at the folding bar to compare with before the improvement. The results indicate that the downtime average at the folding bar was reduced from 195.8 minutes per month to 64.75 minutes per month, which is representing a 66.93% reduction according to the objective and the standard deviation was reduced to 6.80 min per month.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้จะนำสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์ที่ส่งผลกระทบทำให้เครื่องจักร ต้องหยุดเพื่อทำการปรับตั้งและแก้ไขเบื้องต้นโดยพนักงานควบคุมเครื่องจักร ส่งผลให้ต้องสูญเสีย ต้นทุนและเวลาในการผลิต จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาที่สูญเสียจากกระดาษติดที่ชุดรางพับ เครื่องพิมพ์ลง ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับข้อมูลเวลาหยุดเครื่องพิมพ์เดิมก่อนการปรับปรุง การศึกษา เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์ที่ส่งผลกระทบทำให้เครื่องจักรต้อง หยุดการทำงานในเดือน กุมภาพันธ์2564 โดยใช้แผนภูมิพาเรโต พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสูงที่สุด คือ กระดาษติดที่ชุดรางพับที่ยูนิตชุดทากาวและรางพับ และทำการรวบรวมข้อมูลการหยุดเครื่องของ ปัญหากระดาษติดที่ชุดรางพับตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2563 ถึง เมษายน 2564 พบว่า เวลาที่ เครื่องจักรต้องหยุดการทำงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 195.8 นาทีต่อเดือน และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 97.49 นาทีจึงได้นำปัญหาดังกล่าวมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงโดยใช้แผนผังก้างปลา และ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบโดยการประเมินตัวเลขความเสี่ยง แล้วคัดเลือก สาเหตุของปัญหาที่มีตัวเลขความเสี่ยงที่มากกว่า 200 คะแนน นำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยหลักการ บำรุงรักษาแบบทวีผล ประกอบด้วย การปรับตั้ง/เปลี่ยน/ติดตั้ง อะไหล่และอุปกรณ์ต่างๆ จัดทำ เอกสารขั้นตอนการปรับตั้งและวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ จัดทำแบบฟอร์มใบตรวจสอบ เครื่องพิมพ์ จัดแผนการบำรุงรักษาประจำปี และจัดอบรมให้ความรู้กับพนักงานควบคุมเครื่องพิมพ์ และช่างซ่อมบำรุง สำหรับชุดรางพับของเครื่องพิมพ์ จากนั้นได้ติดตามผลการปรับปรุง โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลเวลาที่สูญเสียไปจากกระดาษติดที่ชุดรางพับของเครื่องพิมพ์เพื่อเปรียบเทียบกับก่อน การปรับปรุง พบว่าสามารถลดเวลาที่สูญเสียไปจากกระดาษติดที่ชุดรางพับ จากค่าเฉลี่ยของเวลาที่ สูญเสียไป 195.8 นาทีต่อเดือน ลดลงเหลือ 64.75 นาที คิดเป็นร้อยละ 66.93 เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนด และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงเหลือ 6.80 นาที
รายละเอียด: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2556
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17488
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:228 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6310121030.pdf3.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons