กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17463
ชื่อเรื่อง: การจัดการคุณภาพชีวิตของพนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่ ก่อนและขณะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of Life Management for Employees in Hat Yai International Airport before and while the COVID-19 Pandemic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
ภรัณยู สกุลประดิษฐ์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: การจัดการคุณภาพชีวิต;ท่าอากาศยานหาดใหญ่
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this study were to study the quality of life of staff at Hat Yai Airport before and during the coronavirus epidemic situation in 2019 and to study the relationship between social media and the quality of life of Hat Yai Airport employees during the epidemic situation. The research tool was a questionnaire. The questionnaires were completed by 175 employees of Hat Yai Airport. The results acquired from questionnaire were analyzed by the Statistical Package for the Social Sciences program (SPSS). The statistical method used in the analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Correlation, and Wilcoxon Sign Rank Test Stats. The results of the research found that 1. Most of the respondents were male (65.1%), married status (55.4%), age 26 - 33 years (44.0%), salary less than or equal to 20,000 baht (39.4%) , bachelor's degree (54.3%) and 3 - 7 years in work experience (34.3%) 2. A sample group of employees at Hat Yai Airport used various social media platforms in various ways during the epidemic of coronavirus disease 2019 which were LINE, FACEBOOK, YOUTUBE, INSTAGRAM, TIKTOK and TWITTER, respectively. 3. Quality of Life Management of Hat Yai Airport Employees before and during the coronavirus disease 2019 epidemic situation was considered at the highest level in general. 4. The use of social media had a statistically significant correlation with the quality of life of Hat Yai Airport employees during the epidemic situation of the Coronavirus Disease 2019.
Abstract(Thai): การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของพนักงาน ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ก่อนและขณะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสังคมออนไลน์(Social Media) กับคุณภาพชีวิตของพนักงาน ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ในขณะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้จํานวน 175คน คือ พนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ในการทําวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยชุดแบบสอบถามจะถูกนํามาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป และสถิติที่นํามา ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเพียร์สัน (Pearson Correlation) และสถิติ Wilcoxon Sign Rank Test ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศชาย (ร้อยละ 65.1) สถานภาพแต่งงาน (ร้อยละ 55.4) อายุ 26 - 33 ปี (ร้อยละ 44.0) เงินเดือนต่ํากว่า หรือเท่ากับ 20,000 บาท (ร้อยละ 39.4) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 54.3) ประสบการณ์การทํางาน 3 - 7 ปี (ร้อยละ 34.3) 2. กลุ่มตัวอย่างพนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะต่าง ๆ ขณะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ใช้ LINE มากที่สุด รองลงมา คือ FACEBOOK, YOUTUBE, INSTAGRAM, TIKTOK และ TWITTER ตามลําดับ 3. การจัดการคุณภาพชีวิตของพนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่ ก่อนและขณะเกิด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. สื่อสังคมออนไลน์(Social Media) มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของพนักงาน ท่าอากาศยานหาดใหญ่ในขณะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. คุณภาพชีวิตของพนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่ ก่อนและขณะเกิดสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17463
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6310521056.pdfการจัดการคุณภาพชีวิตของพนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่ ก่อนและขณะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 20192.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons