กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17420
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาเปรียบเทียบการอนุญาโตตุลาการในกฎหมายอิสลามและกฎหมายไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comparative study of the arbitration in Islamic law and Thai law |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อีสมาแอ กาเต๊ะ ซาฟารี เหาะไบ Faculty of Islamic Sciences คณะวิทยาการอิสลาม |
คำสำคัญ: | อิสลามศึกษา;กฎหมายอิสลาม;กฏหมายไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักการอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายอิสลาม 2) หลักการอนุญาโตตุลาการตามหลักกฎหมายไทย 3/ เปรียบเทียบหลักการอนุญาโตตุลาการตามหลัก กฎหมายอิสลามและกฎหมายไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)ในรูปแบบวิจัย เอกสาร (Document Research) เป็นการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบสาระสำคัญจากการรวบรวมข้อมูล จากอัลกุรอาน อัสสุนนะฮฺ ประกอบกับตำราอรรถาธิบายอัลกุรอาน ตำราอธิบายอัลหะดีษ ตลอดจนตำรา กฎหมายอิสลาม พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ประมวลกฎหมายวีพิจารณาความแพ่ง คำอธิบายพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ อนุญาโตตุลาการในกฎหมายอิสลามและกฎหมายไทย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) การอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายอิสลามนั้นมีประวัติความ เป็นมาตั้งแต่สังคมมนุษย์ยุคก่อนอิสลาม จนกระทั้งในยุคอิสลามได้มีการบัญญัติรูปแบบของการ อนุญาโตตุลาการไว้ในอัลกุรอาน อัสสุนนะฮ โดยกฎหมายอิสลามได้กำหนดองค์ประกอบและเงื่อนไข ต่าง ๆ ของการอนุญาโตตุลาการไว้ 2) การอนุญาโตตุลาการตามหลักกฎหมายไทยนั้นมีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่สังคมมนุษย์ยุคโบราณเช่นเดียวกับการอนุญาโตตุลาการในกฎหมายอิสลาม และมีวิวัฒนาการ เรื่อยมาจนกระทั้งได้มีบัญญัติรูปแบบการอนุญาโตตุลาการไว้ในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในปัจจุบัน โดยพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ได้กำหนดองค์ประกอบและเงื่อนไขต่างๆของการอนุญาโตตุลาการไว้อย่างชัดเจน 3) เมื่อเปรียบเทียบหลักการอนุญาโตตุลาการตามหลักกฎหมายอิสลามและกฎหมายไทยแล้ว ปรากฏว่า การอนุญาโตตุลาการในกฎหมายอิสลามและกฎหมายไทยมีความสอดคล้องกันในหลายประเด็น เช่น การ แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นจำต้องได้รับความยินยอมจากคู่พิพาททั้งสองฝ่าย เป็นต้น แต่ยังมีบางประเด็น ที่มีความแตกต่างกัน เช่นประเด็นบทบัญญัติที่สามารถระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการได้ คุณสมบัติ บางประการขิงอนุญาโตตุลาการ เป็นต้น จึงสามารถนำหลักฐานการอนุญาโตตุลาการอิสลามมาปรับใช้ได้ กับบริบทสังคมไทยตามกฎหมายไทย เพื่อให้ประชาชนยอมรับและเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม อันจะ ส่งผลต่อความผาสุกของสังคมไทยต่อไปได้ |
Abstract(Thai): | This research's objectives were 1) to study arbitration principles in Islamic law 2) to study arbitration principles according to Thai law 3) to compare arbitration principles according to Islamic law and Thai law. The research methodology was qualitative as: document research, a comparative analysis by collecting information from the Quran, the Sunnah and the Qur'anic texts The textbook describes Al Hadith As well as Islamic law texts Arbitration Act, BE 2545 (2002) Code of Civil Procedure Description of the Arbitration Act BE 2545, documents and research related to arbitration in Islamic law and Thai law The results of the research found that 1) there was arbitration since pre-Islamic society in form of Islamic law until in the Islamic era that was a form of arbitration in the Qur'an, the Sunnah, which the Islamic law has defined the elements and conditions of the arbitration. 2) there was arbitration under Thai law since Ancient human society as well as arbitration in Islamic law, further it evolved until establishment in the Arbitration Act BE 2545, which is the current arbitration law By the Arbitration Act BE 2545, clearly defines the elements and conditions of the arbitration. 3) the comparison arbitration principles between to Islamic law and Thai law, it appears that arbitration in Islamic law and Thai law is consistent in many points such as the appointment of such arbitrators requires consent from both parties. In contrast, there are differently points such as the provisions that can be arbitrarily disputed. Therefore, there are some qualifications of arbitrators able to apply Islamic arbitration principles in the Thai society context according to Thai law, further acceptable and trust in the justice system, which can affect the well-being of society as a whole. |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17420 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1643.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น