Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17320
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้บริการธุรกรรมการเงินโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) |
Authors: | ชยานนท์ ภู่เจริญ ปฐมาภรณ์ จันทร์วิภาวี Faculty of Hospitality and Tourism (MBA(Thai)) คณะการบริการและการท่องเที่ยว (บริหารธุรกิจ) |
Keywords: | ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี;ความสำเร็จของระบบสารสนเทศ;โมบายแบงก์กิ้ง |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The objective of this research were 1) to assess the Technology Acceptance Model and IS Success Model 2) to evaluate the impact of demographic factors on the Technology Acceptance Model and IS Success Model among mobile banking users in Phuket and 3) to analyzethe correlation between the demographic factors, Technology Acceptance Model and IS Success Model on the user’s behavior in using financial transactions via Mobile Banking in Phuket. The sample was 400 Phuket residents who had experience using mobile banking application. Using descriptive statistics and inferential statistics (Independent-Sample T-Test, One-Way ANOVA) also Pearson's Correlation Coefficient to analyze. The results showed that the user’s behavior of financial transactions via Mobile Banking was mainly used by transferring the money (Buying products online) with the most average frequency of financial transactions is 20.36 times per month and has the highest average amount that has been transferred is 132,503.88 baht. Siam Commercial Bank is the most popular bank with 35.5 percent using, followed by Kasikorn Bank 21.25 percent, and the reason choosing the bank was the salary through the bank's account 58.25 percent. The opinions on Technology Acceptance Model (Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and adoption) are strongly agree while the opinions on the IS Success Model (Information Quality and Service Quality) were agree, System Quality was the strongly agree. From the hypothesis testing, it was found that the different in gender, age, status, and occupation had the same level of opinion on the Technology Acceptance Model and IS Success Model, but the different in levels of education had different levels of opinions on the 3 factors of Technology Acceptance Model and IS Success Model (information quality) and the different in income levels had different opinions on Technology Acceptance Model (Perceived Usefulness)at the 0.05 significance level. From the correlation testing between the demographic factors, Technology Acceptance Model and IS Success Model with the average frequency of financial transactions and the highest amount transferred via mobile banking application, The results revealed that at the 0.05 significance level, Age had no correlation with the average frequency of financial transactions via mobile banking application, while income has an incredibly low correlation with the average frequency of financial transactions and at the 0.01 significance level, Age had a very low correlation with the highest amount transferred via mobile banking application and income had a relatively low correlation with the highest amount transferred via mobile banking application. Furthermore, the Technology Acceptance Model and IS Success Model were found that both factors were not corelated with the average frequency of financial transactions and the highest amount transferred via mobile banking application |
Abstract(Thai): | การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้บริการธุรกรรมการเงิน Mobile Banking ในจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและความสำเร็จของระบบสารสนเทศ 2) เพื่อประเมินผลกระทบของปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและความสำเร็จของระบบสารสนเทศของผู้ใช้บริการ Mobile Banking ในจังหวัดภูเก็ต และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและความสำเร็จของระบบสารสนเทศต่อพฤติกรรมในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตที่มีประสบการณ์ใช้บริการธุรกรรมการเงิน Mobile Banking จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติด้วย การทดสอบค่าที (Independent-Sample T-Test) และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) อีกทั้งการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม โดยใช้วิธีของเพียรสัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมผู้ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้า (ซื้อสินค้าออนไลน์) โดยมีความถี่เฉลี่ยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) มากที่สุด คือ 20.36 ครั้งต่อเดือนและมียอดเงินที่เคยโอนสูงสุดเฉลี่ย คือ 132,503.88 บาท เลือกใช้ของธนาคารไทยพาณิชย์มากที่สุด ร้อยละ 35.5 รองลงมา คือ ธนาคารกสิกรไทย ร้อยละ 21.25 และสาเหตุที่เลือกใช้บริการคือเงินเดือนผ่านบัญชีของธนาคารร้อยละ 58.25 ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model : TAM) ด้านการรับรู้ประโยชน์ (Perceived Usefulness) ด้านการรับรู้ความง่าย (Perceived Ease of Use) และด้านการนำมาใช้ (Adoption)คือ เห็นด้วยมากที่สุด ในขณะที่ความคิดเห็นต่อแบบจำลองความสำเร็จของระบบสารสนเทศ (IS Success Model) ด้านคุณภาพข้อมูล (Information Quality) และด้านคุณภาพการบริการ (Service Quality)คือ เห็นด้วยมาก ด้านคุณภาพระบบ (System Quality) คือ เห็นด้วยมากที่สุด จากการทดสอบสมมุติฐานพบว่าเพศ อายุ สถานภาพและอาชีพที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีและแบบจำลองความสำเร็จของระบบสารสนเทศไม่แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีทั้ง 3 ด้านและแบบจำลองความสำเร็จของระบบสารสนเทศ คุณภาพข้อมูล (Information Quality) แตกต่างกัน และรายได้ที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ประโยชน์ (Perceived Usefulness) แตกต่างกันพบว่า ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี และ ความสำเร็จของระบบสารสนเทศกับความถี่เฉลี่ยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) และยอดเงินที่เคยโอนสูงสุดที่เคยทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) ผลการวิเคราะห์พบว่า ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความถี่เฉลี่ยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) ในขณะที่รายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมากกับความถี่เฉลี่ยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) และ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อายุ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมากกับยอดเงินที่เคยโอนสูงสุดที่เคยทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) และ รายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับค่อนข้างต่ำกับยอดเงินที่เคยโอนสูงสุดที่เคยทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) ในส่วนของปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีและความสำเร็จของระบบสารสนเทศ พบว่าทั้งสองปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับ ความถี่เฉลี่ยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) และไม่มีความสัมพันธ์กับ ยอดเงินที่เคยโอนสูงสุดที่เคยทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Banking) |
Description: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17320 |
Appears in Collections: | 9505 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6030122006.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License