Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17171
Title: การศึกษาการกลายพันธุ์ของยีน UGT2B17 ในตัวแทนประชากรไทยมุสลิมที่จังหวัดสงขลา
Other Titles: The study of UGT2B17 polymorphism in representative Thai muslim population at Songkhla province
Authors: วันดี อุดมอักษร
สิริกันยา อนันตเสนา
Faculty of Science (Pharmacology)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา
Keywords: เภสัชพันธุศาสตร์;ยีนมะเร็ง
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The human UDP glucuronosyltransferase 2B17 (UGT2B17) enzyme play an important role in phase II drug metabolism, that catalyze the glucuronidation of various substrates, including endogenous as well as xenobiotic, such as steroid hormones (testosterone and its metabolites), exemestane and vorinostat. UGT2B17 is encoded by the UGT2B17 gene. The mutation of the UGT2B17 gene may affect to loss of enzyme activity or no enzyme activity. Although the polymorphic gene deletion of UGT2B17 gene has a high prevalence in Asian (67%), there is no report in Thai population. The aim of this study was to determine the genetic polymorphism of UGT2B17 in promoter and exon 1 regions in representative Thai-Muslim population in Songkhla province. Ninety-nine genomic DNAs were extracted from Thai-Muslim neonates cord blood samples, which were collected at Songkhla hospital and then were amplified the promoter and exon 1 regions of UGT2B17 gene by PCR. The mutations of UGT2B17 gene were detected by direct sequencing. The result showed that 53 samples (53.54%) were homozygous deletion (del/del), 41 samples (41.41%) were heterozygous deletion (del/ins), and 5 samples (5.05%) were wild-type homozygous insertion (ins/ins) of UGT2B17 gene. Two known SNPs were found in promoter region (-198G>A and 15C>T) of wild type UGT2B17 gene. The nucleotide sequence of UGT2B17 deletion polymorphism was similar to UGT2B15 gene, which indicated that this sample lack of UGT2B17 gene. One known SNPs (253T>G, YPD) and 1 novel SNPs (643T>G, M L ) were found in exon 1 region of UGT2B15 gene. The genotype frequency of homozygous mutation (G/G) and heterozygous mutation (T/G) for 253T>G region were 0.1698 and 0.5849, respectively (40/53 72, 75.47%). The genotype frequency of heterozygous mutation (A/T) for 643A>T region was 0.0377 (2/53 91, 3.77%). Allele frequency of the two mutations arranged in descending order are 0.4623 (253T>G) and 0.0189 (643T>G). One SNPs (253T>G) was in Hardy-Weinberg equilibrium (p>0.05). On the other hand, 643T>G was not followed to the Hardy-Weinberg equilibrium (p<0.05). Conclusion, Homozygous deletion (del/del) of the UGT2B17 is the highest prevalence in representative Thai-Muslim population which is similar to other Asians (Japanese, Korean and Chinese). The polymorphic gene deletion of the UGT2B17 leads to a lack of enzyme activity, which alters glucuronidation of steroid hormones (testosterone and its metabolites) and associated to increase the risk of prostate cancer. Moreover, UGT2B17 deletion polymorphism has been found associated to increase the risk of upper aero digestive tract (UADT) cancer. However, it should be considered other factors which may related with disease development such as gender, age or environment etc.
Abstract(Thai): UDP glucuronosyltransferase 2B17 (UGT2B17) เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาท สําคัญเกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรรูปของยาในเฟส I โดยการเกิดปฏิกิริยากลูคูโรนิเดชั่นของ สารที่เป็นสับสเตรท ทั้งสารที่ถูกสร้างขึ้นภายในร่างกาย เช่น สเตียรอยด์ฮอร์โมน (เทสโทสเตอโรน และสารเมแทบอไลท์) รวมทั้งยาที่มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง เช่น exemestane และ vorinostat เป็นต้น ยืน UGT2B17 มีหน้าที่ในการสร้างเอนไซม์ UGT2B17 ซึ่งการเกิดการกลายพันธุ์ของยีน UGT2B17 จะส่งผลให้เอนไซม์ UGT2B17 ทํางานลดน้อยลง หรือไม่มีการทํางานของเอนไซม์ UGT2B17 โดยการกลายพันธุ์ของยีน UGT2B17 แบบ deletion สามารถพบได้มากในประชากรชาวเอเชียถึง 67% แต่ยังไม่พบว่ามีการศึกษาใน ประชากรชาวไทย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่ของการกลายพันธุ์ บริเวณโปรโมเตอร์และเอกซอน 1 ของยีน UGT2B17 ในตัวแทนประชากรชาวไทยมุสลิมใน จังหวัดสงขลา โดยการนําจีโนมิกดีเอ็นเอจํานวน 99 ตัวอย่าง ที่ถูกสกัดมาจากตัวอย่างเลือดจาก สายสะดือของเด็กทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลสงขลา มาทําการเพิ่มจํานวนชิ้นส่วนยืนบริเวณ โปรโมเตอร์และเอกซอน 1 ด้วยเทคนิค PCR จากนั้นจึงนําไปวิเคราะห์หาลําดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) เพื่อตรวจหาตําแหน่งที่เกิดการกลายพันธุ์ของยีน จากผลการศึกษาพบ ความชุกของจีโนไทป์ของยีน UGT2B17 แบบ homozygous deletion (del/del) จํานวน 53 (53.54%) ตัวอย่าง แบบ heterozygous deletion (del/ins) จํานวน 41 (41.41%) ตัวอย่าง และ แบบ wild-type homozygous (ins/ins) จํานวน 5 (5.05%) ตัวอย่าง โดยการศึกษาการกลาย พันธุ์ของ wild-type UGT2B17 จะพบว่ายืนทั้ง 5 ตัวอย่างมีการกลายพันธุ์แบบ homozygous mutation บริเวณโปรโมเตอร์ 2 ตําแหน่ง ซึ่งเป็นknown SNPs ได้แก่ -198G>A และ -15c> นอกจากนี้ยังพบว่าลําดับนิวคลีโอไทด์ของ UGT2B17 แบบ deldel มีลําดับนิวคลีโอไทด์ที่ เหมือนกันกับยืน UGT2B15 ซึ่งหมายถึงการขาดการแสดงออกของยีน บGT2B17 และเมื่อ นํามาตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน UGT2B15 พบการกลายพันธุ์ของยีน 2 ตําแหน่ง คือ known SNPs บริเวณเอกซอน 1 (253T>G, YD) และ novel SNPs บริเวณเอกซอน 1 (643A>T, ML) การกลายพันธุ์ของยืนตรงตําแหน่ง 253T>G มีความถี่จีโนไทป์ของ homozygous mutation (G/G) และ heterozygous mutation (TIG) เท่ากับ 0.1698 และ 0.5849 ตามลําดับ (40/53 คน, 75.47%) ในขณะที่การกลายพันธุ์ตําแหน่ง 643A>T มีความถี่จี โนไทป์ของ heterozygous mutation (ANT) เท่ากับ 0.0377 (2/53 คน, 3.77%) ความถีแอลลี ลของการกลายพันธุ์เรียงจากสูงไปต่ํา คือ 0.4623 (253T>G) และ 0.0189 (643A>T) จากการ วิเคราะห์สมดุลฮาร์ดีไวน์เบิร์กของยีน UGT2B15 พบว่าการกลายพันธุ์ตรงตําแหน่ง 253T>G เป็นไปตามกฎฮาร์ดีไวน์เบิร์ก (p>0.05) แต่การกลายพันธุ์ตรงตําแหน่ง 643A>T ไม่เป็นไปตาม กฎฮาร์ดีไวน์เบิร์ก (p<0.05) สรุปได้ว่าประชากรชาวไทยมุสลิมพบการแสดงออกของจีโนไทป์ ของยืน UGT2B17 แบบ homozygous deletion (del/del) มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับเชื้อชาติอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ซึ่งการแสดงออกของจีโนไทป์แบบ deldel จะส่งผลให้ ขาดการทํางานของเอนไซม์ UGT2B17 ทําให้ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยากลคูโรนิเดชั่นของส เตียรอยด์ฮอร์โมน (เทสโทสเตอโรน และสารเมแทบอไลท์) ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการ เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก หรืออาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณ upper aerodigestive tract ในคนที่สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสารก่อมะเร็ง และเอทานอลจัดเป็น สับสเตรทของเอนไซม์ UGT2B17 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคร่วมด้วย เช่น เพศ อายุ หรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เภสัชวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17171
Appears in Collections:336 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
441404.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons