Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17169
Title: | การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของส้มจุกโดยครื่องหมายอาร์เอพีดี |
Other Titles: | A Study on Genetic Diversity of Neck Orange (Citrus reticulata Blanco) Based on Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) |
Authors: | กรกช นาคคนอง รสริน ช่วยการ Faculty of Natural Resources (Plant Science) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์ |
Keywords: | ส้มจุก พันธุศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Neck orange has the original planting area in Chana District, Songkhla Province. However, the planting area has dramatically decreased. The aims of this study are to collect and assess genetic diversity of neck orange by using fruit morphology and DNA markers. In this study, ninety-five samples were collected from Songkhla, Trang and Surat Thani provinces. Seventy-four samples were using for fruit morphological characterization. According to fruit physical characteristics, fruit weight was in the range of 201-250 g. An average fruit diameter was 7.52 cm. The high of fruit polar was on average 1.0 cm with ranged from 1.01- 1.50 cm Fruit chemical characteristics including juice content was on an average 35.5 percent. Total soluble solids (TSS), titratable acidity and the ratio between total soluble solids and titratable acidity (TSS/TA) were ranged from 8-10 oBrix, 0.31-0.50 percent and 15.1-20.0, respectively. Genetic diversity of ninetyfive samples was analyzed by five RAPD primers including OPA-10, OPA-12, OPA-18, OPB-01, and OPZ-11. Result from a dendrogram analysis based on RAPD markers, 2 clusters could be separated with similarity coefficients ranging from 0.48-0.98 with an average of 0.73. Genetic variability of neck orange progenies from 6 mother plants was investigated by two RAPD primers (OPA-18 and OPZ-11. There were 1 to 4 seedlings per seed with an average percentage of polyembryony was 42.5 percent. Therefore, seed propagation of neck orange may result in genetic variation. Farmers can propagate by seeds but they have to prove that seedlings are nucellus. |
Abstract(Thai): | ส้มจุกมีแหล่งปลูกเดิมอยู่ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงไปมาก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ รวบรวม และวิเคราะห์พันธุกรรมของส้มจุก โดยอาศัย ลักษณะสัณฐานวิทยาของผล และเครื่องหมายดีเอ็นเอ ทําการเก็บรวบรวมส้มจุกจากพื้นที่จังหวัด สงขลา ตรัง และสุราษฎร์ธานีทั้งหมดจํานวน 95 ตัวอย่าง นํามาศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของผล ส้มจุกจํานวน 74 ตัวอย่าง พบว่าคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ น้ําหนักผลสดอยู่ในช่วง 201-250 กรัม ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลาง 7.52 เซนติเมตร ความสูงขั้วผลมีค่าเฉลี่ย 1 เซนติเมตร และอยู่ในช่วง 1.01-1.50 เซนติเมตร คุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ปริมาณน้ําคั้น มีค่าเฉลี่ย 35.5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ ของแข็งที่ละลายน้ําได้ (total soluble solids, TSS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (titratable acidity, TA) และอัตราส่วนระหว่างปริมาณของแข็งที่ละลายน้ําได้กับปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) อยู่ ในช่วง 8-10 องศาบริกซ์, 0.31-0.50 เปอร์เซ็นต์ และ15.1-20.0 ตามลําดับ สําหรับการศึกษาความ หลากหลายทางพันธุกรรมของส้มจุกจํานวน 95 ตัวอย่างโดยใช้จํานวน 5 ไพรเมอร์ ได้แก่ OPA-10, OPA-12, OPA-18, OPB-01 และ OPZ-11 ผลจากการสร้างเคนโดรแกรมด้วยเครื่องหมายอาร์เอพีดี พบว่าสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม มีค่าดัชนีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมอยู่ในช่วง 0.48-0.98 มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.73 ความแตกต่างทางพันธุกรรมของต้นกล้าส้มจุกจากผลของต้นแม่จํานวน 6 ต้น ทดสอบด้วยเทคนิคอาร์เอพีดีจํานวน 2 ไพรเมอร์ คือ OPA-18 และ OPZ-11 พบว่าต้นกล้ามีการงอก 1 ถึง 4 ต้นกล้าต่อเมล็ด โดยมีเปอร์เซ็นต์โพลีเอมบริโอนีเฉลี่ย 42.5 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าส้ม จุกที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีความแปรปรวนเกิดขึ้น ดังนั้นเกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ได้ แต่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าต้นกล้าที่ได้เป็นนิวเซลลัส |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พืชศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17169 |
Appears in Collections: | 510 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
440699.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License