กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17167
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการเล่นบำบัด ต่อทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Play Therapy Program on Social Skills of Childern with Attention Deficit Hyperactivity Disorder
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรวรรณ หนูแก้ว
นิฏย์ฐา ยอดแก้ว
Faculty of Nursing (Psychiatric Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช
คำสำคัญ: โรคสมาธิสั้น การรักษา;เด็กสมาธิสั้น การปรับพฤติกรรม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This quasi-experimental research, two-group pretest-posttest design, aimed to examine the effects of play therapy on social skills of children with attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD). Participants comprised 60 children, age 7-11 years, diagnosed with ADHD. The participants were assigned into matched pairs based on age and severity of the inattention symptoms and randomly allocated to one or other of 2 groups each of 30 children. The research instruments consisted of (1) the experiment, which was the play therapy program based on the concept of Cattanach and literature reviews of play therapy and included 4 sessions, each of 60 minutes, once a week; (2) the collecting data instrument, comprising the demographics data questionnaire of children with ADHD and their parents; the social skills questionnaire of children with ADHD by parents; the social skills observation of nurses. Content validity of instrument part 1-2 was verified by three experts. The reliability of the questionnaire was tested using Cronbach's alpha coefficient, yielding a value of .93, and the reliability of the social skill observation was tested using the inter-rater agreement between 2 observers, yielding a value of 90 percent. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, independent t-test, Wilcoxon signed-ranks test and Mann-whitney test. The results showed that: 1. Mean score the social skills of children with ADHD for parents after receiving the play therapy program (M = 66.43, SD = 3.69) was higher than before receiving the program (M = 38.76, SD = 9.78) with statistical significance (1 = -18.57, p <.001). The mean scores social skills of children with ADHD for nurses after receiving the therapy play program (Mdn = 30.00, ICQ = 4.00) was higher than before receiving the program (Mdn = 14.50, ICQ = 1.25) with statistical significance (1 = -4.85, p <.001). 2. Mean score the social skills of children with ADHD for parents after the experiment of the group that received the play therapy program (M = 66.43, SD = 3.69) was higher than the group without the play therapy program (M = 36.33, SD = 8.93) and was statistically significant (Z = -17.04, p<.001). The social skills average score of children with ADHD for nurses the experimental group after participating the play therapy program (Mean Rank = 45.50, Sum of Ranks = 1365.00) was higher than the group that not participating the play program (Mean Rank = 15.50, Sum of Ranks = 465.00) and was statistically significant (Z=-6.84,p<.001). The play therapy program could be increase social skills of children with ADHD. Therefore, it could be applied to improve social skills of children with ADHD children treated at clinic in hospitals.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเล่นบําบัด ต่อทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น อายุ 7-11 ปี จํานวน 60 คน ที่เข้ารับการ รักษาในคลินิกปลูกคิด โรงพยาบาลอ่างทอง ทําการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตาม คุณสมบัติที่กําหนด และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มอย่างง่าย และวิธีการจับคู่ตามอายุและระดับความรุนแรงของโรค แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จํานวนกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเล่นบําบัด ซึ่งสร้างขึ้นจากแนวคิดของแคททานัทร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม ดําเนินกิจกรรม 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กสมาธิสั้น และข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้ปกครอง แบบสอบถามทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้นสําหรับผู้ปกครอง และแบบสังเกตทักษะ ทางสังคมของเด็กสมาธิสั้นของพยาบาล เครื่องมือทั้ง 2 ส่วนผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินทักษะทางสังคมของ เด็กสมาธิสั้นของผู้ปกครอง โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .93 และแบบสังเกต ทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้นของพยาบาล ได้ตรวจสอบความเที่ยง โดยใช้ค่าความสอดคล้อง ระหว่างผู้สังเกต 2 คน ได้ค่าเท่ากับร้อยละ 90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติที่คู่ สถิติที่ อิสระ สถิติ Wilcoxon Signed-ranks test และสถิติ Mann-whitney test ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้นสําหรับผู้ปกครอง หลังได้รับ โปรแกรมการเล่นบําบัด (M = 66.43, SD = 3.69) มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (M = 38.76, SD = 9,78) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (1 = -18.57, p<.001) และค่ามัธยฐานของคะแนนทักษะทางสังคม ของเด็กสมาธิสั้นสําหรับพยาบาล หลังได้รับโปรแกรมการเล่นบําบัด (Man = 30,00, ICQ = 4,00)มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (Mdn = 14.50, ICQ =1.25) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (2 = -4.85, p<.001) 2. คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้นสําหรับผู้ปกครอง หลังการ ทดลองของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเล่นบําบัด (M = 66.43, SD = 3.69) มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ โปรแกรมการเล่นบําบัด (M = 36.33, SD = 8.93) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (1 = -17.04, p<.001) และค่าเฉลี่ยอันดับของคะแนนทักษะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้นสําหรับพยาบาล กลุ่มทดลองหลัง เข้าร่วมโปรแกรมการเล่นบําบัด (Mean Rank = 45.50, Sum of Ranks = 1365,00) มากกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้รับโปรแกรมการเล่นบําบัด (Mean Rank = 15.50, Sum of Ranks = 465,00) อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (Z = - 6,84, p<.001) โปรแกรมการเล่นบําบัดในเด็กสมาธิสั้น สามารถเพิ่มทักษะทางสังคมในเด็กสมาธิ สั้นได้ ดังนั้นจึงควรนําโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กสมาธิสั้นที่รับ การรักษาในคลินิกของโรงพยาบาล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17167
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:647 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
441129.pdf1.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons