Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17146
Title: การปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Practices of smallholder Farmers in Surat Thani Province, in Compliance with the RSPO Standard for Sustainable Palm Oil Production
Authors: สุธัญญา ทองรักษ์
จักรกฤษณ์ กันแสงแก้ว
คณะเศรษฐศาสตร์ (การจัดการธุรกิจเกษตร)
Keywords: ปาล์มน้ำมัน การผลิต
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aims to: 1) study social, economic and participation in RSPO group activities of the smallholders, 2) examine oil palm production, plantation management, and oil palm yield of the smallholders, 3) evaluate the implementation of RSPO practices of the smallholders, 4) analyze factors affecting the implementation of RSPO practices of the smallholders, and 5) study constraints related to the implementation of RSPO practices of the smallholders. Data were collected from 247 smallholders who are members of the farmer groups, in Surat Thani province, that received RSPO certification before 2017. The data were analyzed using descriptive statistics and order logistic regression analysis. The results indicate that average age of the smallholders is 54 years old. On average, they have 18.94 years of experience in oil palm production. The average income from oil palm production is 382,086 baht per year. The smallholders have joined the RSPO groups for 3.28 years on average. Around one-fifth (22.3%) of the members also act as group committees. Most of the members (91.7%) receive 0.1 -0.2 baht/kg higher price for their products than non-member smallholders. The smallholders have an average of 36.5 rai of oil palm plantation. The average age of palm oil trees is 15.25 years. Only 13.4 percent of the smallholders have been using fertilizer based on soil and leaf analysis. More than one-third (42.0%) of smallholders take the leaves spread over the entire plantations. The average oil palm yield is 3,038.54 kg/rai/year. Around one-fourth (26.3%) of the smallholders have implemented RSPO standard practices at a high level. About one-fifth (21.59%) of the smallholders have problem with the unclear oil palm fruit grading of the partner CPO mills. There are only three factors that positively affect the smallholders' implementation of RSPO standard practices at a high level. Three factors are: 1) having a position in the RSPO group (α=0.1), 2) marked up price of oil palm as a result of being a group member (α=0.01) and 3) cumulative number of participations to group training (α=0.01). However, there are 2 factors that are affecting the smallholders' implementation of RSPO standard practices in the opposite direction. Two factors are: 1) experience in oil palm production (α=0.01) and 2) ratio of annual income from oil palm production and household income (α=0.01). Nonetheless, total oil palm plantation areas negatively affect the smallholders' implementation of RSPO standard practices at a low level (α=0.1).
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจและการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมกลุ่ม RSPO ของเกษตรกรรายย่อย 2) ศึกษาการผลิตปาล์มน้ํามัน การจัดการสวน ปาล์มน้ํามันและผลผลิตปาล์มน้ํามันของเกษตรกรรายย่อย 3) ประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรรายย่อย 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรรายย่อย และ 5) ศึกษาปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรรายย่อย โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรรายย่อยสมาชิกกลุ่มที่ได้รับรองมาตรฐาน RSPO ก่อนปี 2560 ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี จํานวน 247 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอย โลจิสติคเรียงลําดับ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 54 ปี มีประสบการณ์การทําสวนปาล์มน้ํามัน เฉลี่ย 18.94 ปี มีรายได้จากการผลิตปาล์มน้ํามันเฉลี่ย 382,086 บาทต่อปี เกษตรกรเข้าร่วมกลุ่ม PSPO มาแล้วเฉลี่ย 3.28 ปี เกษตรกรสมาชิกร้อยละ 22.3 ทําหน้าที่เป็นคณะกรรมการกลุ่มด้วย เกษตรกร สมาชิกร้อยละ 91.7 ขายผลผลิตปาล์มน้ํามันได้ในราคาที่สูงกว่าเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิก 0.10 - 0.20 บาท/กก. เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ํามันเฉลี่ย 36.5 ไร่ ต้นปาล์มน้ํามันมีอายุเฉลี่ย 15.25 ปี เกษตรกรเพียงร้อยละ 13.4 ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ํามัน ร้อยละ 42.0 วางทางใบกระจายคลุมพื้นที่ทั้งสวน และได้ผลผลิตเฉลี่ย 3,038.54 กก./ไร่/ปี เกษตรกรร้อยละ 26.3 ปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ได้ในระดับมาก และเกษตรกรร้อยละ 21.5 ประสบปัญหาความไม่ชัดเจน ในการคัดคุณภาพรับซื้อทะลายปาล์มน้ํามันของโรงงานสกัดเครือข่าย สําหรับปัจจัยที่ส่งผลทางบวก ต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรในระดับมากมี 3 ปัจจัย คือ 1) การมีตําแหน่งใน กลุ่ม RSPO (C=0.1) 2) ราคาผลผลิตปาล์มน้ํามันที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม (X=0.01) และ 3) จํานวนครั้งสะสมในการเข้าร่วมอบรมตามหลักสูตรที่กลุ่มจัด (C=0.01) แต่มี 2 ปัจจัยที่ส่งผลทางลบ คือ 1) ประสบการณ์การทําสวนปาล์มน้ํามัน (I=0.01) และ 2) สัดส่วน รายได้จากการทําสวนปาล์มน้ํามันต่อรายได้ครัวเรือนในรอบปี (C=0.01) ส่วนพื้นที่ปลูกปาล์มน้ํามัน ทั้งหมดที่ถือครองส่งผลทางลบต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรในระดับน้อย (C-0.1)
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (การจัดการธุรกิจเกษตร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17146
Appears in Collections:878 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
440506.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons