Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17064
Title: การตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันสอนศิลปะ (สอนปั้น) ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา: กรณีศึกษา Clay Works สาขาหาดใหญ่
Other Titles: Consumers’ Decision Making in Selecting the Art Academy (Sculpture) in Hatyai District, Songkhla Provice: A Case Study of the Clay Works Hatyai
Authors: ทิพวรรณ จันทมณีโชติ
วราภรณ์ ชีวาพัฒนานุวงศ์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค;ส่วนประสมทางการตลาด
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสาคัญ ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันสอนศิลปะ Clay Works สาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ศึกษา กระบวนการตัดสินใจใช้บริการสถาบันสอนศิลปะ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสม ทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสถาบันสอนศิลปะ โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครองที่สมัครลงเรียนในหลักสูตรของสถาบันสอนศิลปะ Clay Works สาขาหาดใหญ่ จานวน 306 คน แล้วนาข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมและรายด้านมี ความสาคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันสอนศิลปะอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความ สาคัญมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกายภาพ ด้าน ช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลาดับ สาหรับกระบวนการ ตัดสินใจใช้บริการสถาบันสอนศิลปะ ผู้ปกครองให้ความสาคัญกับขั้นตอนการรับรู้ปัญหาหรือ ความต้องการมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นตอนการประเมินและวิเคราะห์ทางเลือก การตัดสินใจใช้ บริการ การประเมินพฤติกรรมภายหลังการใช้บริการ และการแสวงหาข้อมูลและทางเลือก ตามลาดับ โดยขั้นตอนการแสวงหาข้อมูลและทางเลือกมีความแตกต่างกันตามอายุ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ กระบวนการตัดสินใจใช้บริการ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความสัมพันธ์ของปัจจัย ด้านกายภาพ ด้านบุคลากร และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย และด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับปานกลาง งานวิจัยนี้เสนอแนะให้ทางสถาบันสอนศิลปะควรที่จะช่วยเสริมสร้าง พัฒนา บุคลากรในสถาบันให้มีศักยภาพ มีหลักหรือแนวคิดในการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ เพื่อให้ทัน กับยุคสมัย และช่วยทาให้บุตรหลานมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17064
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons