กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17002
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอดุลย์ เบ็ญนุ้ย และคณะ-
dc.date.accessioned2016-01-19T07:44:16Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T15:13:14Z-
dc.date.available2016-01-19T07:44:16Z-
dc.date.available2021-05-17T15:13:14Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17002-
dc.description.abstractบนสันเขาของเกาะใหญ่ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพพลังงานลมสูงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีการศึกษาวิเคราะห์พบว่าสามารถติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ (3 MW) ได้จำนวนทั้งหมด 22 ตัว จากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ฟาร์ม คือ ฟาร์มที่ 1 บริเวณเขาเกาะใหญ่ (ควนสีปาน) ฟาร์มที่ 2 บริเวณเขาขวาง และฟาร์มที่ 3 บริเวณเขาตะโหนด โดยสามารถติดตั้งกังหันลมได้จำนวน 8 10 และ 4 ตัว ตามลำดับ ได้ทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการมองเห็นกังหันลม ในระยะ 15 กิโลเมตร จากตำแหน่งที่ตั้งกังหันลม พบว่ามีพื้นที่ที่ไม่สามารถมองเห็นกังหันลมกับพื้นที่ที่สามารถมองเห็นกังหันลม ในฟาร์มที่ 1 ร้อยละ 13.80 และ 86.20 ฟาร์มที่ 2 ร้อยละ 16.58 และ 83.42 และฟาร์มที่ 3 ร้อยละ 20.76 และ 79.24 ตามลำดับ และเมื่อทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการมองเห็นกังหันลมเฉพาะบริเวณที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน ชุมชน และถนนสายหลัก ในระยะ 5 กิโลเมตร จากตำแหน่งที่ตั้งกังหันลม พบว่าเฉพาะในเขตตำบลเกาะใหญ่และตำบลกระแสสินธุ์ มีพื้นที่ที่ไม่สามารถมองเห็นกังหันลมประมาณร้อยละ 21.02 และมีพื้นที่ที่สามารถมองเห็นกังหันลมร้อยละ 78.98 โดยสามารถมองเห็นกังหันลมได้สูงสุด 17 ตัว ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน ซึ่งผลกระทบจากการมองเห็นกังหันลมสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะ 12 กิโลเมตร (ตามค่าทัศนวิสัยเฉลี่ย 30 ปี ของจังหวัดสงขลา) ทั้งด้านลบและด้านบวก กล่าวคือ กังหันลมเป็นสิ่งแปลกปลอมซึ่งหากมองในขณะขับขี่ยานพาหนะบนถนนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือในบริเวณที่สามารถมองเห็นกังหันลมได้จำนวนหลายตัว สามารถกำหนดเป็นจุดชมทัศนียภาพสำหรับพัฒนาการท่องเที่ยวได้ ผลของการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับการดำเนินการก่อสร้างโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคตth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherสถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์th_TH
dc.subjectภูมิสารสนเทศth_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้GIS.ในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการมองเห็น กรณีศึกษาทุ่งกังหันลมบริเวณเกาะใหญ่ อ.กระแสสินธิ์ จ.สงขลาth_TH
dc.typeOtherth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ข้อมูลชุดลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์-ทุ่งกังหันลมเกาะใหญ่.rar83.63 MBUnknownดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น