กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15898
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือไซนั่งในทะเลสาบสงขลาตอนนอก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาพร, องสารา
คำสำคัญ: การลดลงของทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ;ความไม่มั่นคงทางอาหาร
วันที่เผยแพร่: ธัน-2551
บทคัดย่อ: สำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือไซนั่งในทะเลสาบสงขลาตอนนอก ระหว่างเดือน มิถุนายน 2546 - กันยายน 2547 พบว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำที่ถูกจับได้จากไซนั่งมีอัตราการจับ 0.9 ก.ก./ลูก/วัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำ จำนวน 273 ชนิด ได้แก่ กลุ่มกุ้ง 26 ชนิด ปลา 214 ชนิด ปู 23 ชนิด หมึก 5 ชนิด และ กั้งตั๊กแตน 5 ชนิด องค์ประกอบสัตว์น้ำที่จับได้โดยน้ำหนัก แยกออกเป็น กลุ่มกุ้ง 54.7 % กลุ่มปลา 36.6 % กลุ่มปู 4.5 % กลุ่มกั้งตั๊กแตน 4.2 % จากผลการศึกษาพบว่า สัตว์น้ำที่ถูกจับได้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มกุ้ง และ กลุ่มรองลงมาคือกลุ่มปลา ซึ่งปลาที่พบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ปลาเศรษฐกิจ สัตว์น้ำที่สำคัญคือกุ้ง ชนิด ต่างๆ ปู และกั้ง มีขนาดความยาวเฉลี่ยดังนี้ กุ้งแชบว๊ ย Penaeus merguiensis 9.6+0.06 เซนติเมตร กุ้งหัวมัน Metapenaeus tenuipes 7.5+0.08 เซนติเมตร กุ้งกุลาลาย P. semisulcatus 9.1+0.34 เซนติเมตร กุ้งขาว M. lysianassa 4.5+0.02 เซนติเมตร ปูม้า Portunus pelagicus 6.2+0.57 เซนติเมตร กั้งตั๊กแตนสันแดง Erugosquilla woodmansoni 7.5+0.06 เซนติเมตร และสัตว์น้ำที่ถูกจับได้จากการศึกษาในครั้งนี้ มีขนาด เล็กลงกว่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แต่ขนาดของสัตว์น้ำที่ถูกจับไม่ได้มีขนาดเล็กกว่าขนาดที่เริ่มสืบพันธุ์ได้
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15898
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือไซนั่งในทะเลสาบสงขลาตอนนอก.pdf443.58 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น