กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15267
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนา ของครัวเรือนเกษตรกร ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริจิต, ทุ่งหว้า
คำสำคัญ: การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
วันที่เผยแพร่: 2536
สำนักพิมพ์: กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนาของเกษตรกร โดยใช้วิธีการสังเกตและติดตามการปฏิบัติงานของเกษตรกรบางรายด้วยวิธีการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน (RRA) หลังจากนั้นได้สุ่มตัวอย่างและออกสัมภาษณ์เกษตรกรโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติหาความสัมพันธ์ของตัวแปรในแต่ละปัจจัย ผลการศึกษาสรุปได้ว่าความทันสมัยของวิธีการทำนาไม่ได้ทำให้ผลิตภาพของแรงงานเพิ่มขี้น จึงทำให้ครัวเรือนเกษตรกรส่วนมากมีผลิตภาพของแรงงานต่ำกว่าเส้นยังชีพ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนาของเกษตรกรคือการที่เกษตรกรมีพื้นที่นาที่มีระบบการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจัยทางด้านชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมทุกตัวแปรในงานวิจัยนี้ไม่มีผลต่อการยอมรับการใช้นวัตกรรมเลย ในแง่ของการแพร่กระจายทางนวัตกรรม พบว่าวิธีการส่งเสริมรายบุคคลผ่านทางเกษตรตำบลและเกษตรกรผู้นำมีอิทธิพลสูงสุดต่อการยอมรับนวัตกรรม ดังนั้นเกษตรตำบลที่มีความสามารถจะมีส่วนช่วยเสริมการยอมรับนวัตกรรมของเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาการเกษตรตามความต้องการของเกษตรกรให้ได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ทางการเกษตรให้ถูกต้องตามสภาพในแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะเป็นแนวทางชี้นำการเผยแพร่นวัตกรรมให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำนาของเกษตรกรที่มีการทำนาเป็นอาชีพหลัก เพื่อเป็นแนวทางนำไปประกอบการวางแผนพัฒนาวิธีการผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมตามความต้องการตามสภาพความเป็นจริงในท้องถิ่น รวมทั้งเป็นแนวทางในการเลือกวิธีการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15267
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น