Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15247
Title: | กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสม ม.12 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง |
Authors: | สมนึก คงชู และคณะ |
Keywords: | การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม;ความไม่มั่นคงทางอาหาร |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร |
Abstract: | โครงการวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสม ม.12 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) บริบทชุมชนและสถานการณ์วิสาหกิจชุมชน (2) รูปแบบการบริหารวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน (3) การพัฒนากิจกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิตของวิสาหกิจชุมชน (การเลี้ยงปลาดุก) และ (4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและปรับใช้ในวิสาหกิจชุมชนที่มีลักษณะใกล้เคียง การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research:PAR) ดำเนินการวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ จังหวัด เขตและกรม ผลการวิจัย พบว่า (1) บริบทของชุมชนและสถานการณ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสม ม.12 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง ได้รับการจัดสรรพื้นที่ครัวเรือนละ 5 ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยและทำกิน และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เมื่อ ปี 2548 มีสมาชิกจำนวน 43 คน ดำเนินกิจกรรมไร่นาสวนผสมและเลี้ยงปลาดุก (2) รูปแบบการบริหารวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน มีกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้และสรุปบทเรียนอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนดำเนินงานร่วมกัน มีการชี้แจงสร้างความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกันจัดทำแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน จัดเวทีเรียนรู้หลักและเวทีย่อยเพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์วิสาหกิจชุมชน กิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน โครงสร้างองค์กรและการบริหาร จัดทำแผนพัฒนาและดำเนินการตามแผนที่วางไว้ สรุปผลการวิจัยและประเมินผลการเปลี่ยนแปลง (3) การพัฒนากิจกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิตของวิสาหกิจชุมชน (การเลี้ยงปลาดุก) มีจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกเลี้ยงปลา วิเคราะห์ข้อมูลการผลิตเปรียบเทียบระหว่างผู้ประสบความสำเร็จและขาดทุน สรุปเป็นองค์ความรู้ในการเลี้ยงปลาเพื่อลดต้นทุน ร่วมกันวางแนวทางการพัฒนากิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก จัดทำข้อตกลงร่วม ดำเนินการพัฒนาด้านการผลิต การแปรรูปและการตลาด (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองได้แก่ การบริหารจัดการองค์กร โครงสร้างและกฎระเบียบ ความซื่อสัตย์ของคณะกรรมการ ความรอบรู้ การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมกิจกรรม ความรับผิดชอบและเสียสละของสมาชิก ลักษณะกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง มีค่าตอบแทนสูง ไม่กระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนตามศักยภาพจากภาคีที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนดังกล่าวเกิดความเข้มแข็งและการพึ่งตนเอง ในด้านต่างๆ ได้แก่ (1) ด้านเทคโนโลยี มีการใช้หลักวิชาการวางแผนผลิต จัดการความรู้เพื่อลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุก (2) ด้านเศรษฐกิจ มีการศึกษาข้อมูลการผลิตปลาดุก ปรับปรุงกฎระเบียบระดมทุน พัฒนาการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต (3) ด้านทรัพยากร มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาสวนผสม เช่น พันธุ์ปลา ร่องน้ำ พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสมาชิกเชี่ยวชาญในการเลี้ยงปลาดุก (4) ด้านจิตใจ สมาชิกมีความมั่นใจ รู้สึกเป็นเจ้าของ ผูกพัน ตระหนักในการร่วมกันแก้ไขปัญหา มีส่วนร่วม แสดงออกมากขึ้น (5) ด้านสังคม ตื่นตัวในการรวมกลุ่ม มีการปรับโครงสร้างขององค์กร กฎระเบียบ รับสมาชิกเพิ่ม และเน้นประโยชน์เพื่อคนในชุมชน |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15247 |
Appears in Collections: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสม ม.12 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง.docx | 13.29 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.