กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15242
ชื่อเรื่อง: ประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตเกษตรภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาหารฮาลาลให้เป็นสินค้าส่งออกจังหวัดสงขลา ปี 2547
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทรวดี, จินดาพันธ์
คำสำคัญ: การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม;ความไม่มั่นคงทางอาหาร
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: การประเมินผล กิจกรรมส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตเกษตร ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาหารฮาลาลให้เป็นสินค้าส่งออกจังหวัดสงขลา ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและศึกษาปัญหาอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 247 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ สรุปผลการประเมินในภาพรวมตามแบบจำลองซิบ (CIPP Model) ในลักษณะพรรณาวิเคราะห์ ความเรียง และตาราง สรุปผลการประเมิน ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ อายุเฉลี่ย 39.14 ปี ร้อยละ 82.19 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 60.32 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 64.78 ประกอบอาชีพหลักทำสวนยางพารา และมีรายได้ครอบครัวเฉลี่ย 32,048 บาทต่อปี ผลการประเมินสภาพทั่วไปของโครงการ พบว่า ร้อยละ 96.36 เห็นว่าโครงการมีความสอดคล้องหรือกับความต้องการของสมาชิก สิ่งที่คาดหวังจะได้รับหลังจากร่วมโครงการ คือ 1) ได้รับความรู้ ร้อยละ 33.20 2) มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีส่วนร่วมทางสังคม ร้อยละ 27.53 3) ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร้อยละ 11.34 สมาชิกเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ 1) เพื่อแปรรูปผลผลิตเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ร้อยละ 76.92 2) เพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับรายได้ ร้อยละ 69.23 3) ขยายฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออก ร้อยละ 57.49 4) เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ ร้อยละ 40.49 เหตุผลที่สมาชิกตัดสินใจร่วมโครงการคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้เข้าร่วม ร้อยละ 41.30 และจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มเป็นสินค้าฮาลาล ร้อยละ 25.10 สมาชิกพอใจต่อการดำเนินโครงการในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.01 และ ระดับมาก ร้อยละ 48.18 ที่มีความพอใจโครงการเพราะจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มเป็นสินค้าฮาลาล ร้อยละ 50.20 และมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.94 ผลการประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ พบว่า การจัดสรรงบประมาณตรงกับความต้องการ ร้อยละ 89.88 งบประมาณมีความเหมาะสมกับระยะเวลาดำเนินโครงการ ร้อยละ 65.99 แต่เห็นว่างบประมาณยังไม่เพียงพอกับการดำเนินโครงการ ร้อยละ 58.30 เกี่ยวกับความรู้และเทคโนโลยีการผลิตอาหารฮาลาล พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับความรู้ 2 ครั้งต่อปี ร้อยละ 39.40 และร้อยละ 25.85 ได้รับความรู้ มากกว่า 3 ครั้งต่อปี ได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยวิธีการอบรม ร้อยละ 80.51 รองลงมา คือ การศึกษาดูงาน ร้อยละ 55.51 แต่สมาชิกยังเห็นว่าความรู้ที่ได้รับยังไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 53.81 โดยหน่วยงานที่ให้การถ่ายทอดความรู้มากที่สุด คือ สำนักงานเกษตรอำเภอ ร้อยละ 91.94 รองลงมา คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร้อยละ 62.29 และสมาชิกได้รับความรู้และเทคโนโลยีการผลิต ตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม ร้อยละ 53.85 สำหรับเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 74.50 และมีความพอเพียงเหมาะสมในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.16 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน พบว่า สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตอาหารฮาลาลระดับปานกลาง ร้อยละ 52.63 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการระดับอำเภอได้ชี้แจงรายละเอียดและขั้นตอนปฏิบัติก่อนดำเนินโครงการ ร้อยละ 89.88 โดยได้รับการสนับสนุนเยี่ยมเยียนและให้คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตร 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 98.38 สมาชิกมีส่วนร่วมบริหารจัดการกลุ่มในกิจกรรมวางแผนการผลิตมากที่สุด คือ ร้อยละ 80.57 และร่วมกิจกรรมการกำหนดราคาสินค้าน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 28.74 ผลการประเมินผลผลิต พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ ร้อยละ 89.88 โดยมีรายได้เฉลี่ย 942.07 บาทต่อเดือน ผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มผลิต คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งและน้ำตาล ร้อยละ 38.06 รองลงมา คือ ประเภทเนื้อสัตว์และอาหารทะเล โดยมีสภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 68.42 สำหรับสภาพการตลาด พบว่า ตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร ซึ่งทั้งหมดจำหน่ายภายในตลาดของหมู่บ้าน รองลงมา คือ ตลาดภายในอำเภอและส่งจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศน้อยมาก มีเพียงร้อยละ 1.62 เท่านั้น ผลิตภัณฑ์อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยยังไม่ได้เครื่องหมายรับรองคุณภาพด้านอาหารและยา (อย.) และเครื่องหมายผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 59.11 และ ร้อยละ 59.51 ส่วนที่ได้รับเครื่องหมายดังกล่าวแล้ว มีเพียงร้อยละ 2.83 และร้อยละ 4.86 เท่านั้น ปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ การรับรองเครื่องหมายคุณภาพด้านอาหารและยา (อย.) ร้อยละ 66.80 และปัญหาอุปสรรคที่พบน้อยที่สุด คือ การร่วมมือของสมาชิกร้อยละ 15.79 นอกจากนั้น สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ ได้แก่ ข้อเสนอแนะด้านความต้องการงบประมาณ ร้อยละ 89.74 นอกจากนั้น ได้แก่ ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ ด้านความรู้ และด้านอื่นๆ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15242
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น