Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15228
Title: | โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานสำนักงานเกษตรอำเภอ Smart Office |
Authors: | ถาวร, ศรีสุข กำแพง, แก้วสุวรรณ์ |
Keywords: | ความไม่มั่นคงทางอาหาร |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร |
Abstract: | กรมส่งเสริมการเกษตรมีการจัดบริการให้เกษตรกรในระดับพื้นที่ โดยพัฒนาช่องทางการเข้าถึงบริการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว สร้างโอกาสการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานและภาคีส่วนที่เกี่ยวข้อง และได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการของสำนักงานเกษตรอำเภอในลักษณะของศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop-Service) หรือสำนักงานเกษตรอำเภอ Smart Office โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี 2554-2556 จำนวน 101 อำเภอ และในปี 2557 จำนวน 14 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 115 อำเภอ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้การสนับสนุนงบประมาณอำเภอละ 500,000 บาท ในการปรับปรุงสำนักงานเกษตรอำเภอให้ มีสภาพเหมาะสมต่อการให้บริการเกษตรกรและประชาชนที่มาติดต่อราชการ และวางรูปแบบสำนักงานที่อำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับการปฏิบัติงานระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2558 จะขยายผลการดำเนินงานสำนักงานเกษตรอำเภอ Smart Office ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด ทุกอำเภอ โดยพัฒนาสำนักงานเกษตรอำเภอที่เหลืออีก จำนวน 767 อำเภอ เพื่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 882 อำเภอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการเกษตรกรด้วยสมาร์ทการ์ดทั่วประเทศ“เกษตรกรอัจฉริยะ”หรือ “เกษตรกรปราดเปรื่อง”ภายใต้โครงการ Smart Farmer/ Smart Officer เป็นการรวม 4 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการข้อมูล ของเกษตรกรอย่างแท้จริงที่จะมีการเก็บรวบรวม และทำทะเบียนเกษตรกรร่วมกับทะเบียนราษฎร และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจัดเก็บในบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวนี้จะต่อยอดไปสู่การจัดเก็บข้อมูล แผนที่ทางการเกษตร และก้าวไปสู่นโยบายการจัดโซนนิ่งทางการเกษตรในอนาคต และได้มีการจัดทำต้นแบบระบบ Thai Smart Farmer ซึ่งถือเป็นระบบบริการเกษตรกรในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพโดยใช้บัตร Smart Card ในการเข้าถึงบริการ (www.thaismartfamer.net) และมีใช้ Single Form ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงข้อมูลที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว โดยมีระบบสำคัญ 4 ระบบย่อย คือ 1.ตรวจสอบข้อมูลเกษตรกร (e-Check) 2.บริการให้กับประชาชน (e-Service) 3.เกษตรกรต้นแบบ/เจ้าหน้าที่ต้นแบบ (e-Contact) และ 4.ข้อมูลองค์ความรู้ (e-Knowledge) กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะที่เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายให้นำระบบ www.thaismartfamer.net และจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร มาให้บริการเกษตรกรในสำนักงานเกษตรอำเภอ ดังนั้น เพื่อให้สำนักงานเกษตรอำเภอเป็นช่องทางในการเข้าถึงบริการทางด้านการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สะดวก รวดเร็ว โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงควรมีการพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรอำเภอ Smart Office เพื่อหาวิธีการปรับปรุงสำนักงานเกษตรอำเภอ Smart Office ให้มีความมุ่งมั่นในงานบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งหากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จก็จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15228 |
Appears in Collections: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
โครงการSmart office.doc | 97 kB | Microsoft Word | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.