Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15220
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
Authors: | อมร, สุวรรณรัตน์ |
Keywords: | การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม;ความไม่มั่นคงทางอาหาร |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร |
Abstract: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ของการดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลสถานภาพของกลุ่ม ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่ม ปัญหาการดำเนินงานกลุ่ม แนวทางการแก้ไข ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนากลุ่มให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด และรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กับสมาชิกกลุ่มซึ่งเป็นประชากรตัวอย่างจำนวน 260 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.26 ของสมาชิกกลุ่มทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์และใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ น้ำหนักคะแนนเฉลี่ย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดเป็นกลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งมาจากกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและการขายยาง จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สมาชิกกลุ่มดำเนินกิจกรรมร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพการเกษตร ธุรกิจของกลุ่มที่ทำมี 4 ชนิด ได้แก่ การรวบรวมยางแผ่นดิบจำหน่าย การจัดซื้อวัสดุการเกษตรและเครื่องอุปโภคบริโภคมาจำหน่าย การรับเงินฝาก และการให้สินเชื่อ ความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มประสบความสำเร็จในระดับมาก กลุ่มสมาชิก 806 ราย เป็นคณะกรรมการกลุ่ม 5 ราย ที่ปรึกษากลุ่ม 3 ราย ผู้ตรวจสอบกิจกรรมกลุ่ม 3 ราย สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยสูงกว่า 50 ปี การศึกษาจบชั้นประถมศึกษา มีอาชีพหลักทำสวน รายได้ของครอบครัวต่อปีต่ำกว่า 100,000 บาท ระยะเวลาการเป็นสมาชิกมากว่า 10 ปีขึ้นไป ส่วนคณะกรรมการระยะเวลาดำรงตำแหน่งมากกว่า 1 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่ม 3 อันดับแรก ได้แก่ คณะกรรมการกลุ่ม ธุรกิจกลุ่ม แผนงานของกลุ่ม อันดับความสำคัญของปัจจัย 3 อันดับแรก ได้แก่ คณะกรรมการกลุ่ม ธุรกิจกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม ปัญหาในการดำเนินงานของกลุ่มมี 2 ปัญหาด้านการบริหารงานกลุ่ม และปัญหาด้านธุรกิจกลุ่ม แนวทางแก้ไขปัญหาของกลุ่มที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้เจ้าหน้าที่มาให้ความรู้แก่คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม จัดคนให้ทำงานตามความรู้ความสามารถความสมัครใจเปิดให้สมาชิกกลุ่มทำยางแผ่นดิบไปจำหน่ายด้วยตัวเอง การระดมทุนและจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม ข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่ม ให้กลุ่มมีบทบาทในการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ส่งเสริมด้านสวัสดิการให้กับสมาชิกกลุ่ม จัดทำข้อมูลข่าวสารเผยแพร่ผลงาน เป็นต้น แนวทางการพัฒนากลุ่มให้มีสภาพยิ่งขึ้น สมาชิกกลุ่มให้ข้อเสนอแนะคณะกรรมการกลุ่มจะต้องพัฒนาตนเองและพัฒนาด้านการทำงาน คือ ต้องเป็นผู้มีความคิดริเริ่มใฝ่ศึกษาหาความรู้ มีความยุติธรรม โปร่งใส ทำงานเป็นทีม ทำงานแบบเชิงรุก สมาชิกกลุ่มต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม ต้องมีเครื่องมือทำงานที่ทันสมัย ขยายตลาดให้กว้างขวาง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องให้การสนับสนุนกลุ่มอย่างจริงจัง สนับสนุนโครงการกิจกรรมลงในกลุ่ม ถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และหน่วยงานเอกชนต้องให้การสนับสนุนซื้อผลผลิตเกษตรของกลุ่มในราคายุติธรรม เข้ามาเป็นเครือข่ายกับกลุ่มเพื่อการสนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15220 |
Appears in Collections: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง.docx | 13.23 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.