Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15207
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พงษ์ศักดิ์, วิเศษสินธุ์ | - |
dc.contributor.author | ศิริกุล, ศรีแสงจันทร์ | - |
dc.contributor.author | สมชัย, วิสารทพงศ์ | - |
dc.date.accessioned | 2016-01-15T09:12:58Z | - |
dc.date.accessioned | 2021-05-17T11:22:09Z | - |
dc.date.available | 2016-01-15T09:12:58Z | - |
dc.date.available | 2021-05-17T11:22:09Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15207 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมข้าวขาวดอกมะลิ 105 ความคิดเห็นที่มีต่อการปลูกตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในภาคใต้ประชากรที่ศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคใต้ ทำการคัดเลือกจังหวัดตัวอย่างจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลาคัดเลือกอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกมากตามลำดับจังหวัดละ 1-3 อำเภอ ๆ ละ 1 ตำบล ๆ ละ 1 หมู่บ้าน คัดเลือกเกษตรกร จำนวนหมู่บ้านละ 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ได้จำนวนแบบสัมภาษณ์ที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสิ้น 188 ชุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (MEAN) ค่าร้อยละ (PERCENTAGE) และค่าไคสแควร์ (CHI-SQUARE) ซึ่งผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49.9 ปี ครัวเรือนเกษตรกรมีจำนวนสมาชิกและจำนวนแรงงานเฉลี่ย 4.3 และ 2.3 คน/ครัวเรือน ตามลำดับ เกษตรกรทำนาเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่-พืชผักเป็นอาชีพรองในปีที่ผ่านมาเกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 16.5 ไร่ โดยปลูกในพื้นที่ของตนเอง มีเกษตรกรเกินกว่าครึ่งปลูกข้าว โดยใช้พันธุ์ข้าวจำนวน 2 พันธุ์ สภาพพื้นที่นาของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นที่ดอน อาศัยแหล่งน้ำจากน้ำฝน มีบางส่วนที่ใช้แหล่งน้ำจากชลประทานและแหล่งน้ำอื่น เกษตรกรปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาแล้วเฉลี่ยเป็นเวลา 4.6 ปี โดยมีพื้นที่ปลูก เฉลี่ย 7.4 ไร่ เกษตรกรปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไว้เพื่อบริโภคส่วนหนึ่งและจำหน่ายส่วนหนึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับเมล็ดพันธุ์จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้รับคุณภาพดี เกษตรกรเกินกว่าครึ่งมีการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกปี มีการไถเตรียมดิน 2 ครั้งก่อนปลูก โดยเริ่มเตรียมดินและปลูกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ เฉลี่ย 16.6 กิโลกรัม/ไร่ มีการใช้ปุ๋ยเคมีโดยมีการใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 293.6 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรเกินกว่าครึ่งระบุว่าผลผลิตไม่ได้รับความเสียหาย ส่วนที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่จะเสียหายเนื่องจากเกิดน้ำท่วม โรคแมลงศัตรูพืช และฝนตกหนักในช่วงเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้โดยจำหน่ายให้แก่ศูนย์ขยายพันธุ์พืช และพ่อค้าท้องถิ่น เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้โดยจำหน่ายให้แก่ศูนย์ขยายพันธุ์พืช และพ่อค้าท้องถิ่น เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้โดยจำหน่ายให้แก่ศูนย์ขยายพันธุ์พืช และพ่อค้าท้องถิ่น เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ทำพันธุ์ในปีต่อไป เนื่องจากเกษตรกรเห็นว่าการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในปีต่อไปนั้นความงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่ค่อยดี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีความรู้ในระดับปานกลาง เกษตรกรเห็นว่าสภาพพื้นที่ปลูกของตนเองมีความเหมาะสมกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 การปลูกไม่ยุ่งยาก ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมคือช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม และเกษตรกรส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อีกในปีต่อไป เกษตรกรมีความพอใจมากต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 สำหรับปัญหาอุปสรรคในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรที่สำคัญ ได้แก่ การทำลายของศัตรูพืช และน้ำท่วม เกษตรกรต้องการให้ทางราชการสนับสนุนในเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว สนับสนุนความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี และให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยเคมีในราคาที่ถูก หรือส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยผสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ได้แก่ การได้รับความเสียหายของผลผลิต กล่าวคือเกษตรกรที่ผลผลิตไม่ได้รับความเสียหายจะตัดสินใจปลูกมากกว่าเกษตรกรที่ผลผลิตได้รับความเสียหาย ความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก กล่าวคือเกษตรกรที่มีสภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมจะตัดสินใจปลูกมากกว่าเกษตรกรที่มีสภาพพื้นที่ปลูกที่ไม่เหมาะสม และความพอใจต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรกล่าวคือเกษตรกรที่มีความพอใจมากจะตัดสินใจปลูกมากกว่าเกษตรกรที่มีความพอใจน้อย ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่ศึกษา ได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน วัตถุประสงค์ในการปลูก ราคาผลผลิตและแหล่งจำหน่ายผลผลิต ไม่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคใต้ คือควรให้การสนับสนุนเรื่องเมล็ดพันธุ์โดยการจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีคุณภาพดีสนับสนุนแก่เกษตรกร ควรเน้นการให้ความรู้และฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี โรค-แมลงศัตรูข้าวและวิธีการป้องกันกำจัดแก่เกษตรกรและการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง นอกจากนี้ควรจะศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะสม และข้อมูลสภาพพื้นที่และช่วงเวลาที่เกิดปัญหาน้ำท่วมของแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนส่งเสริมให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ หลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น | th_TH |
dc.language.iso | th_TH | th_TH |
dc.publisher | กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร | th_TH |
dc.subject | การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม | th_TH |
dc.subject | ความไม่มั่นคงทางอาหาร | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคใต้ | th_TH |
dc.type | Other | th_TH |
Appears in Collections: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคใต้.docx | 14.07 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.