Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14972
Title: การศึกษาความหลากหลายของยุงในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครสรีธรรมราช
Other Titles: Study of biodiversity of mosquitoes at Khuan Kreang peat lands, Kreang Sub-District, Cha-Uat District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: ศุภวรรณ, พรหมเพรา
Keywords: การลดลงของทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract: การศึกษานี้สารวจชนิดและจานวนของยุง ศึกษาระดับความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของยุง และกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับยุง ในพื้นที่บริเวณครัวเรือนและบริเวณป่าพรุควนเคร็ง ตำบลเคร็ง อาเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ใน 300 ครัวเรือน จาก 1,393 ครัวเรือน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิโดยกาหนดให้ 11หมู่บ้านเป็นชั้นภูมิและครัวเรือนเป็นหน่วยตัวอย่าง ส่วนในบริเวณป่าพรุทาการสุ่มจุดเก็บตัวอย่างแบบมีระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบแบบที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการกาหนดตัวแบบความสัมพันธ์ พบแหล่งกักขังน้ำในครัวเรือน 27 ชนิด 2,124 ชิ้น เป็นแหล่งกักขังน้ำนอกบ้านร้อยละ 55.51 ภายในบ้านร้อยละ 44.49 โดยร้อยละ 39.08 เป็นโอ่งขนาดความจุมากกว่า 100 ลิตร ร้อยละ 20.34 เป็นถังพลาสติกภายในบ้าน และพบแหล่งกักขังน้ำเป็นถังซีเมนต์ ภาชนะอื่น ๆ และถังพลาสติกนอกบ้าน ร้อยละ 8.10 7.06 และ 3.67 ตามลำดับ ส่วนลูกน้ำยุงที่พบเป็นยุงราคาญ ร้อยละ 66.87 ยุงลายสวน ร้อยละ 25.55 ยุงลายบ้าน ร้อยละ 7.39 และยุงเสือ ร้อยละ 0.19 โดยไม่พบยุงก้นปล่อง ลูกน้ำยุงลายบ้าน ลูกน้ำยุงลายสวน ลุกน้ำยุงราคาญและลูกน้ำยุงเสือที่พบในแหล่งกักขังน้ำภายในบ้านและภายนอกบ้านไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ลูกน้ำยุงราคาญในแหล่งกักขังน้ำที่แตกต่างกันมีความแตกต่างกันกับลูกน้ำยุงลายบ้าน (p = 0.004) ยุงลายสวน (p= 0.046) และยุงเสือ (p=0.001) การสารวจบริเวณป่าพรุพบยุงตัวเต็มวัยแต่ไม่พบลูกน้ำยุง อาจเนื่องจากน้ำเป็นกรดมีค่าความเป็นกรด-เบส 2.00-5.78 ภาชนะใส่น้ำสัตว์เลี้ยง โอ่ง ยุงลายบ้านในกล่องน้ำทิ้งตู้เย็น ความเป็นกรด-เบสของน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ อุณหภูมิน้ำในภาชนะโลหะและอุณหภูมิน้ำในอ่างน้า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับจานวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก การเพิ่มขึ้นของตัวแปรเหล่านี้จะทาให้จานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ส่วนความเป็นกรดเบสของน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ที่มีสภาพเป็นเบสในช่วงที่มีความเหมาะสมกับการพบลูกน้ำยุงลายสวนทั้งภายในและนอกบ้าน ในขณะที่อุณหภูมิของน้ำในภาชนะโลหะและอ่างน้ำ เป็นช่วงอุณหภูมิที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของยุงที่มักใช้เวลา 7-14 วัน ที่อุณหภูมิ 31 ºC และวงจรชีวิตอาจนานถึง 20 วัน เมื่ออุณหภูมิลดต่าลง 20 ºC ผลการศึกษานี้สามารถเป็นแนวทางในการป้องกันการวางไข่ การแพร่กระจายของตัวเต็มวัยของยุงทั้ง 4 ชนิดที่พบ โดยเฝ้าระวังการก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ ส่วนตัวเต็มวัยที่พบในบริเวณป่าพรุ ควรเร่งศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ ตลอดจนวิธีการจับตัวยุงและระบุสายพันธุ์จากตัวเต็มวัยเพื่อการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายต่อไป
Description: การประชุมวิชาการ มหาสารคามวิจัย ครัง้ ที่ 10 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/14972
Appears in Collections:994 งานวิจัยเชิงชีวภาพ-กายภาพ



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.