กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13557
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร-
dc.contributor.authorภัชกุล ตรีพันธ์-
dc.date.accessioned2021-05-12T08:31:28Z-
dc.date.available2021-05-12T08:31:28Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13557-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562en_US
dc.description.abstractThis study aimed to 1) investigate the process of community participation in ecotourism management and mangrove forest conservation of Ban Huatang, Mueng District, Satun Province and 2) synthesize a model of ecotourism management and mangrove forest conservation with community participation. The qualitative and quantitative approaches were integrally carried out across the participatory action research. The research tools were the structured interview, filed survey, participant observation, and questionnaires. The obtained data were analyzed by analysis of content and relation of data for model synthesis by the participatory action research, while the analysis of the satisfaction questionnaires from 252 participants was employed by descriptive statistics. The study revealed that the community of Ban Huatang is a system of relatives, using the Muslim scripture in a daily life with awareness of natural resources conservation and culture. The profusion of mangrove forest grew from the community participation in conservation and recovery that led into ecotourism management. The process of community participation in managing mangrove forest and ecotourism comprised mutual goal setting, brainstorming on participatory management, joining actions, gaining benefits, and making assessment to achieve the goals. The model of ecotourism management and mangrove forest conservation with community participation consists of, 1) the mutual goal to conserve natural resources and cultural heritage by building community pride, learning process improvement and boosting community income 2) community-based tourism management by stakeholder administration e.g. structure, regulations, finance, evaluation, security, destination designation, host-tourist interaction and tourist services, and 3) evaluation by data collection, data analysis, making conclusion feedback to stakeholders, and 4) the key success factors rely on both internal and external supports such as the community cohesiveness, congruency of management strategy and community capitals, especially the abundant of mangrove forest, cultural heritage, local fishery lifestyle, including Muslim culture and local community values on the natural conservation and culture. External factors include local government policy on promoting of community-based tourism, the expansion of ecotourism, and tourist trend on social and environmental responsibility.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การมีส่วนร่วมของประชาชน เมือง (สตูล)en_US
dc.subjectการอนุรักษ์ป่าชายเลน การมีส่วนร่วมของประชาชน เมือง (สตูล)en_US
dc.titleรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหัวทาง อำเภอเมือง จังหวัดสตูลen_US
dc.title.alternativeA Model of Participatory Community Based Ecotourism and Mangrove Forest Conservation in Ban Huatang, Muang District, Satun Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Environmental Management (Environmental Management)-
dc.contributor.departmentคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม-
dc.description.abstract-thการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนบ้านหัวทาง อําเภอเมือง จังหวัดสตูล และ นําเสนอรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลน โดยชุมชนมีส่วนร่วมที่ เหมาะสม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพรวมทั้งกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสํารวจพื้นที่ การ สังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับ ความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลน นอกจากนี้ยังใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 252 คน ผลการศึกษา พบว่า สภาพสังคมของบ้านหัวทางมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ใช้หลักศาสนาอิสลาม ในการดําเนินชีวิต มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ความอุดมสมบูรณ์ ของป่าชายเลนซึ่งได้มาจากการมีส่วนร่วมในการช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟู ที่นําไปสู่การจัดการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งนี้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชายเลนและการท่องเที่ยว เชิงนิเวศเป็นการสร้างเป้าหมายร่วมกัน และร่วมคิดหาวิธีการบริหารจัดการทั้งร่วมปฏิบัติการ ร่วม ประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์จากการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลน โดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนบ้านหัวทางประกอบด้วย 1) การมีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ชุมชน สร้างความภาคภูมิใจ สร้างการเรียนรู้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ร่วมกับสร้างรายได้ สู่ชุมชน 2) การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน 4 ด้าน คือ การบริหารจัดการ การพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยว การให้ความรู้ และการบริการการท่องเที่ยว 3) การประเมินผล 5 ขั้นตอนประกอบด้วย วาง แผนการประเมิน กําหนดประเด็นการประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการประเมิน และนํากลับไปพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนต่อไป และ 4) ปัจจัยและเงื่อนไขความสําเร็จซึ่งต้อง อาศัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอกชุมชน โดยปัจจัยภายในประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชน การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การจัดการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และศักยภาพ ของชุมชน และการมีจิตสํานึกของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมวิถีชีวิต ส่วนปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย นโยบายด้านการท่องเที่ยวของภาครัฐ การขยายตัวของตลาด ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความสนใจของนักท่องเที่ยว และกระแสการท่องเที่ยวเพื่อความรับผิดชอบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรมและวิถี ชีวิต ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:820 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
434708.pdf5.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons