กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13534
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงความเข้ากันได้ของเทอร์โมพลาสติกวัลคาไนซ์จากการเบลนด์ระหว่างยางธรรมชาติ ยางรีเคลม และโพรพิลีนเอทิลีนโคพอลิเมอร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvement of compatbillzation of thermoplastic vulcanizates based on natural rubber/reclaimed rubber/propylene ethylene copolymer blends
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อโนมา ธิติธรรมวงศ์
วิชชุดา นาคะสรรค์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
คำสำคัญ: ยางพารา;ยางธรรมชาติ
วันที่เผยแพร่: 2017
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: Effect of modifying agents i.e. phenolic resin, maleic anhydride and glycidyl methacrylate on properties of natural rubber/reclaimed rubber (NR/RR) blend was studied. Results show that longer scorch time and cure time of the blend with modifying agent were achieved compared to those of the blend without modifying agent. The blend with phenolic resin gave the best overall properties. Therefore, it was then further used for promoting the phase compatibility in thermoplastic vulcanizates (TPVS) based on blending of NR/RR/ propylene ethylene copolymer (PEC). Different mixing methods, melt mixing and reactive blending, were designed to prepare TPVs with phenolic resin. It was found that the TPVs prepared via melt mixing method provided superior mechanical, rheological and dynamic mechanical properties as well as better phase morphology than the TPVS prepared via reactive blending. Furthermore, suitable quantity of phenolic resin was at 10 phr. Influence of blend proportion of NR/RR/PEC TPVs, 60/0/40, 45/15/40, 30/30/40, 15/45/40 and 0/60/40 parts by weight, was also investigated. Increasing of RR in the rubber component of TPVS clearly impacted on deterioration of mechanical property. This was due to the RR had low molecular weight, remained carbon black and could not be much re-vulcanized during blending. In addition, effect of PEC-g- Ph compatibilizer in combination with phenolic resin as modifying agent on properties of NR/RR/PEC TPVs was studied. The use of compatibilizer could promote a slight increasing of tensile strength, elongation at break, storage modulus and complex viscosity of the TPVs. Furthermore, synergistic effect of PEC-g-Ph compatibilizer and phenolic resin could be found from the highest tensile strength and hardness of the TPVs. Epoxidized natural rubber (ENR) was also applied to the TPVs in replacement of NR. It was found that the TPVs with NR still showed better mechanical, rheological and morphological properties than the TPVs with ENR. Overall properties of the TPVs were decreased with increasing epoxy contents in the ENR.
Abstract(Thai): การศึกษาอิทธิพลของสารดัดแปร 3 ชนิด ได้แก่ ฟินอลิกเรซิน, มาลิอิกแอนไฮไดรด์ และ ไกลซิดิลเมทาคริเลต ต่อสมบัติของยางเบลนด์ระหว่างยางธรรมชาติ และยางรีเคลม พบว่ายาง เบลนด์สูตรที่ใช้สารดัดแปรมีระยะเวลาการสกอร์ช และเวลาในการวัลคาไนซ์นานกว่าสูตรที่ไม่ใช้สาร ดัดแปร และสูตรที่ใช้สารดัดแปรชนิดฟีนอลิกเรซินให้สมบัติของยางเบลนด์โดยรวมดีที่สุด จึงเลือกใช้ สารดัดแปรฟินอลิกเรซินสําหรับการศึกษาผลของการปรับปรุงความเข้ากันได้ในเทอร์โมพลาสติกวัลคา ไนซ์จากการเบลนด์ระหว่างยางธรรมชาติ ยางรีเคลม และโพรพิลีนเอทิลีนโคพอลิเมอร์ การศึกษา อิทธิพลของวิธีการผสมสารดัดแปร พบว่าเทอร์โมพลาสติกวัลคาไนซ์ที่เตรียมโดยใช้วิธีการผสมสารดัด แปรแบบ Melt mixing จะให้สมบัติเชิงกล สมบัติการไหล และสมบัติเชิงกลพลวัตโดยรวมดีกว่าเทอร์ โมพลาสติกวัลคาไนซ์ที่เตรียมโดยใช้วิธีการผสมแบบ Reactive blending รวมถึงให้ลักษณะสัณฐาน วิทยาที่เรียบสม่ําเสมอมากกว่า และปริมาณสารดัดแปรฟินอลิกเรซินที่เหมาะสม คือ 10 phr นอกจากนี้การศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนการเบลนด์ที่อัตราส่วน NR/RR/PEC เท่ากับ 60/0/40, 45/15/40, 30/30/40, 15/45/40 และ 0/60/40 ส่วนโดยน้ําหนัก พบว่าเมื่อมีปริมาณยางรีเคลมใน สัดส่วนของเฟสยางที่เพิ่มขึ้น เทอร์โมพลาสติกวัลคาไนซ์มีสมบัติเชิงกลโดยรวมด้อยลง เป็นผลมาจาก ยางรีเคลมมีน้ําหนักโมเลกุลต่ํา เกิดการวัลคาไนซ์ใหม่ในโมเลกุลได้น้อย และมีสารตัวเติมเขม่าดํา เหลืออยู่ การศึกษาอิทธิพลของการใช้สารเพิ่มความเข้ากันได้ชนิด PEC-g-Ph ร่วมกับสารดัดแปร ฟินอลิกเรซิน พบว่าการใช้สารเพิ่มความเข้ากันได้ช่วยเสริมให้เทอร์โมพลาสติกวัลคาไนซ์มีค่าความ ต้านทานต่อแรงดึง ความสามารถในการยึดจนขาด มอดูลัสสะสม และความหนืดเชิงซ้อนเพิ่มขึ้น เล็กน้อย นอกจากนี้พบว่าสูตรที่ใช้สารดัดแปรฟินอลิกเรซินร่วมกับสารเพิ่มความเข้ากันชนิด PEC-g-Ph จะให้ค่าความต้านทานต่อแรงดึง และความแข็งสูงที่สุด และจากการศึกษาอิทธิพลของ ชนิดยางธรรมชาติ พบว่าเทอร์โมพลาสติกวัลคาไนซ์ที่ใช้ยางธรรมชาติให้สมบัติเชิงกล สมบัติการไหล และสัณฐานวิทยาดีกว่าการใช้ยางธรรมชาติอิพอกไซด์ ที่ซึ่งเมื่อใช้ยางธรรมชาติอิพอกไซด์สมบัติ โดยรวมลดลงตามปริมาณหมู่อิพอกไซด์ที่เพิ่มขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีพอลิเมอร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13534
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:741 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1611.pdf3.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น