Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13446
Title: ผลของรูปแบบการเลี้ยงต่อคุณภาพซาก ลักษณะทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อไก่เบตง
Other Titles: Effect of Rearing System on Carcass Quality, Physical Properties and Chemical Composition of Betong Chicken Meat
Authors: ไชยวรรณ วัฒนจันทร์
กัณฑาภรณ์ ฤทธิ์ชู
Faculty of Natural Resources (Animal science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาสัตวศาสตร์
Keywords: ไก่เบตง การเลี้ยง;ไก่เบตง ซาก
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this study were to investigate the effect of rearing system on carcass quality, physical properties and chemical composition of Betong chicken meat. Three hundred and sixty 1-day-old chick were randomly allocated to 3 treatment: (1) indoor treatment, housing in an indoor pen (4 birds/m3), (2) chickens were reared in the house with access to the courtyard outside the house (1 bird/m2) and (3) chickens were reared in the house with access to the courtyard outside the house (2 bird/m3), during 5 week of age to slaughter. Each treatment was represented by 4 replications containing 30 birds each. All birds were provided with the same diet and were reared for 24 weeks. This experiment was conducted with completely randomized design (CRD). At 16 and 24 weeks old, sixteen birds of each rearing system were randomly selected and slaughtered for carcass characteristics, physical properties and chemical composition. From the study, rearing system had no significant effect on live weight, warm carcass and chill carcass weight, retail cut and abdominal fat percentage (P>0.05). In terms of carcass characteristics, at 16 weeks the males chicken in semi-free range had higher dressing percentage and yellowness value in thigh muscle than the chicken in the indoor treatment, while the redness value had significantly higher (P<0.05) in the female chickens. In addition, the different rearing system caused higher yellowness value of thigh skin of the female aged 24 weeks old (P<0.05). Nevertheless, rearing system did not show any effect on pH, drip loss, cooking loss and shear force values of breast and thigh muscles (P>0.05). For chemical composition, it was observed that rearing system did not affect moisture, protein, ash, collagen and cholesterol contents (P>0.05). However, at the aged at 24 weeks old, it was indicated that the females had lower fat content of thigh meat and eicosapentaenoic acid (C20:5n3) than the males. In addition, chickens reared under semi- free range had C20:5n3 higher than those reared under the indoor system (P<0.05). Furthermore, the arachidonic acid (C20:4n6) in breast meat from semi-free system was lower than the indoor system (P<0.05). Rearing system did not show any significant difference in the saturated fatty acid, monounsaturated and polyunsaturated fatty acids of both breast and thigh meats (P>0.05). When determing the effect of age or sex on the physiochemical quality of meat, it was found that live weight, dressing percentage, shear value, collagen, fat and n-3 fatty acids contents were increased (P<0.05), while the yellowness value of the skin and meat decreased when the age of chicken increased. Live weight, dressing percentage, shear value, and redness score of the males were higher than the female chickens (P<0.05). Males at 16 weeks of age had similar live weight, chemical fat and n-3 fatty acid contents with the 24 weeks old females. Nevertheless, the ratio of n-6 to n-3 fatty acids in meat was significantly decreased when the age of chicken increased.
Abstract(Thai): การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเลี้ยงต่อคุณภาพซาก ลักษณะทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อไก่เบตง โดยใช้ไก่เบตงอายุ 1 วัน จํานวน 360 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ํา ๆ ละ 30 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยกลุ่ม ที่ 1 ทําการเลี้ยงไก่ปล่อยพื้น งดอก (4 ตัวต่อตารางเมตร) ตลอดระยะเวลาการทดลอง กลุ่มที่ 2 ทําการเลี้ยงไก่ปล่อยพื้นยังคอก และมีลานปล่อยนอกโรงเรือน (1 ตัวต่อตารางเมตร) ส่วนกลุ่มที่ 3 ท่าการเลี้ยงไก่ปล่อยฟีนบงคอก และมีลานปล่อยนอกโรงเรือน (2 ตัวต่อตารางเมตร) โดยปล่อยเลี้ยง เมื่ออายุ 5 สัปดาห์ จนสิ้นสุดการทดลอง ซึ่งไก่ทั้งสามกลุ่มจะได้รับอาหารสูตรเดียวกันและเลี้ยง จนถึงอายุ 24 สัปดาห์ จากนั้นทําการสุ่มฆ่าไก่ที่อายุ 16 และ 24 สัปดาห์ รูปแบบการเลี้ยงละ 16 ตัว เพศผู้ 8 ตัว เพศเมีย 8 ตัว เพื่อศึกษาลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อทั้งลักษณะทางกายภาพ และ องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อไก่เบตง ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเลี้ยง ไม่มีผลทําให้ไก่เบตง เพศผู้และเพศเมียมีน้ําหนักมีชีวิต น้ําหนักซากอุ่น น้ําหนักซากเย็น เปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนตัดแต่ง และไขมันช่องท้อง มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) เมื่อพิจารณาลักษณะทางกายภาพของเนื้อ พบว่า การเลี้ยงไก่แบบกึ่งยังกึ่งปล่อย (แบบที่ 2 และ 3) มีผลทําให้ไก่เบตงเพศผู้ที่อายุ 16 สัปดาห์ มีเปอร์เซ็นต์ซาก และกล้ามเนื้อสะโพก มีสีเหลืองสูงขึ้น และไก่เบตงเพศเมียมีสีแดงที่เข้มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนั้นการเลี้ยงไก่แบบกึ่งยังกึ่งปล่อยยังทําให้ไก่เบตงเพศผู้ที่อายุ 24 สัปดาห์ มีค่าสีเหลืองของ หนังส่วนสะโพกเพิ่มขึ้น (P<0.05) แต่ไม่มีผลทําให้ค่าความเป็นกรดและด่าง ค่าการสูญเสียน้ําของ เนื้อระหว่างการเก็บ ค่าการสูญเสียน้ําจากการทําสุก และค่าแรงตัดผ่านเนื้อแตกต่างกัน (P>0.05) สําหรับองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อ การเลี้ยงไก่แบบกึ่งยังกึ่งปล่อยไม่มีผลทําให้ ปริมาณความชื้นโปรตีน เถ้า ปริมาณคอลลาเจน และคอเลสเตอรอลแตกต่างกัน (P>0.05) แต่ทําให้ ไก่เบตงอายุ 24 สัปดาห์เพศเมียมีปริมาณไขมันในเนื้อสะโพก และมีกรดไขมันชนิดอีโคซะเพนตะ อีโนอิก (20:51.3) น้อยกว่าเพศผู้ (P<0.05) ขณะที่รูปแบบการเลี้ยงแบบกึ่งยังกึ่งปล่อยมีผลทําให้เนื้อ ส่วนอกมีปริมาณกรดอะราชิโดนิค (C20-416) ต่ํากว่าแบบขังคอก (P<0.05) แต่รูปแบบการเลี้ยงไม่ มีผลทําให้เนื้อส่วนอกและส่วนสะโพกมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ 1 ตําแหน่งและกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 ตําแหน่ง (P>0.05) เมื่อเปรียบเทียบอิทธิพลอายุและเพศต่อพารามิเตอร์ต่างๆ พบว่า เมื่ออายุของไก่ เพิ่มขึ้น น้ําหนักมีชีวิต เปอร์เซ็นต์ซาก ค่าแรงตัดผ่านเนื้อ คอลลาเจนทั้งหมด ไขมัน และกรดไขมัน ชนิดโอเมก้า 3 มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น แต่พบว่าผิวหนังและเนื้อไก่เบตงมีค่าความเหลืองลดลง นอกจากนั้นยังพบว่าไก่เบตงเพศผู้มีน้ําหนักมีชีวิต เปอร์เซ็นต์ซาก ค่าแรงตัดผ่านเนื้อ และผิวหนังมี ค่าความแดงมากกว่าเพศเมีย (P<0.05) และไม่พบว่าไก่เบตงเพศผู้อายุ 16 สัปดาห์มีน้ําหนักมีชีวิต ปริมาณไขมัน และกรดไขมันโอเมก้า 3 แตกต่างกับไก่เบตงเพศเมียที่อายุ 24 สัปดาห์ (P>0.05) ขณะที่ สัดส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 และ โอเมก้า 3 ลดลงในเนื้อไก่เบตงอายุ 24 สัปดาห์
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สัตวศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13446
Appears in Collections:515 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
438037.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons