กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13426
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโปรแกรมการจัดการสุขภาพของแรงงานต่างชาติ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยความร่วมมือของภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Development of Health Management Program for Migrant Workers:An Action Research under Collaboration of Workers, Private and Public Sectors |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิชญา พรรคทองสุข สุคนธ์ ชัยชนะ Faculty of Environmental Management (Environmental Management) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม |
คำสำคัญ: | แรงงานต่างด้าว สุขภาพและอนามัย;การคัดแยกขยะ;นโยบายสาธารณสุข ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2019 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | Despite ensuring compliance with international labor standards is crucial to Thai export-oriented manufacturers who employ migrant labor, relatively little is known about how to manage the effective program for well-being of migrant workers. The objective of this study was to encourage all key stakeholders to work together for remediation plan to solve the existing problem through action research, the method of which applied to developing continuing learning process, action for change, including group decision and commitment to improvement in one's own real situations. The study was carried out in a migrant labor camp of a large-scale seafood industry in Hatyai district, Songkhla province, Thailand during 2016-2017. Primarily, the tripartite taskforce (migrant worker representatives, factory staffs, governmental health center as academic supporters including a researcher) was engaged in order to develop a one-year action plan which consisted of two phase. Phase I emphasized on taskforce capacity building on community health diagnosis and program management while phase II gave priority to program implementation and evaluation. Solid waste management (SWM) problem was identified and planned for intervention based on two strategies of (i) knowledge and awareness raising and (ii) 3Rs (reduce, reuse, recycle) management. Lesson learnt and limitation of SWM program implementation and evaluation were thoroughly elaborated in the article. For program effectiveness, the before-after intervention analysis was performed to illustrate incremental changes of knowledge, attitude and practice of 3Rs (reduce, reuse, recycle) practice, though not all significant. Likewise, waste weight, waste per capita, cost of municipal waste elimination, revenues from sales of recycling material, and number of animal vector from waste supported SWM program effectiveness. This study affirmed the feasibility of capacity building through action research and its benefit to enable effectiveness of service among registered migrant workers in export manufacturing sector |
Abstract(Thai): | ถึงแม้ว่าการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศมีความสําคัญต่อผู้ผลิตที่ มุ่งเน้นการส่งออกของไทยที่จ้างแรงงานต่างชาติ แต่มีผู้ที่รู้น้อยมากเกี่ยวกับวิธีการจัดการโปรแกรมที่มี ประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญทั้งหมดทํางาน ร่วมกันสําหรับการวางแผนในการแก้ปัญหาที่มีอยู่ ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่นํามาใช้ในการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การดําเนินการส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรวมถึงการตัดสินใจของ กลุ่ม และมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงในสถานการณ์จริง การศึกษาได้ดําเนินการในค่ายแรงงานต่างชาติของ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลขนาดใหญ่ในอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในช่วง 2559-2560 จากคณะทํางาน 3 ภาคส่วนคือ (ตัวแทนแรงงานต่างชาติ แรงงานสัมพันธ์ และตัวแทนหน่วยบริการ สาธารณสุขภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนทางวิชาการรวมผู้วิจัย) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนา แผนปฏิบัติการ 1 ปีซึ่งประกอบ การพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ ระยะที่เน้น การเสริมสร้างศักยภาพคณะทํางานในการตรวจวินิจฉัยชุมชน และการบริหารจัดการโปรแกรม ในขณะที่ระยะที่สองให้ความสําคัญในการดําเนินการตามโปรแกรม และการประเมินผลการ ดําเนินงานการจัดการขยะซึ่งเป็นปัญหาที่ถูกเลือก และการวางแผนสําหรับการดําเนินงาน โดยใช้ 2 กลยุทธ์หลักคือ (1) การสร้างความรู้และความตระหนักการจัดการขยะ (2) และกลยุทธ์การจัดการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) บทเรียนที่ได้เรียนรู้และข้อจํากัด ของการดําเนินโครงการและการ ประเมินผล การจัดการขยะ ถูกอธิบายอย่างละเอียดในงานวิจัย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของโปรแกรม ประเมินผลการดําเนินงานโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อน-หลังโปรแกรม แสดงให้เห็นถึงการ เปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติของ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) การ ปฏิบัติแม้ว่าจะไม่ได้มีนัยสําคัญทั้งหมด ในทํานองเดียวกันปริมาณน้ําหนักขยะต่อคนต่อวัน และต่อ เดือน ลดลง ค่าใช้จ่ายของการกําจัดขยะลดลง มีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้น และความชุก ของสัตว์นําโรคจากขยะลดลงตัวชี้วัดเหล่านี้สนับสนุนประสิทธิผลโปรแกรมการจัดการขยะ การศึกษา ครั้งนี้ยืนยันความเป็นไปได้ของการสร้างขีดความสามารถผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการและผลประโยชน์ ที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของการจัดบริการในแรงงานต่างชาติที่จดทะเบียนจ้างงานในภาคการผลิต การส่งออก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13426 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 820 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
436935.pdf | 8.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License