กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13168
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องมือทางเทคนิคสำหรับการคาดคะเนราคาหลักทรัพย์กลุ่มทรัพยากรหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Efficiency Analysis of Technical Tool for Securities’ Price Speculation in Energy and Utilities Sector in the Stock Exchange of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดลินา อมรเหมานนท์ ลีลา รัตนบัณฑิตสกุล Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค;ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย;ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือทางเทคนิค เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยศึกษาเครื่องมือทางเทคนิค 6 ชนิด คือ MACD (Moving Average Convergence Divergence), Moving Average (MA), Bollinger Bands, Relative Strength Index (RSI), Fast Stochastic และ Slow Stochastic มาจาลองการซื้อขายหลักทรัพย์ในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy & Utilities) ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ที่สูงสุด 5 อันดับแรก ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลราคาเปิด สูงสุดและต่าสุดในแต่ละวัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นระยะเวลา 5 ปี มีข้อสมมติฐานกาหนดให้ใช้บัญชี Cash Account มีค่านายหน้า (Commission) เท่ากับ 0.25% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% พร้อมทั้งใช้เงินลงทุนเริ่มต้น คือ 1,000,000 บาท โดยซื้อและขายหลักทรัพย์เป็นจานวน 1 หน่วยการซื้อขาย (Board Lot) ณ ราคาเปิดของวันทาการถัดไป ผลการศึกษาพบว่า เครื่องมือทางเทคนิคที่ให้ผลความถูกต้องมากที่สุด คือ เครื่องมือทางเทคนิค RSI (Relative Strength Index) ถูกต้องร้อยละ 76.5 ส่วนเครื่องมือทางเทคนิค MACD (Moving Average Convergence Divergence) ให้ผลความถูกต้องน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 33 และเครื่องมือทางเทคนิคที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากที่สุด คือ เครื่องมือทางเทคนิค RSI (Relative Strength Index) ร้อยละ 22.78 ส่วนเครื่องมือทางเทคนิค Moving Average (MA 25 วัน) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ติดลบร้อยละ 29.63 จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือทางเทคนิคแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับหลักทรัพย์แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงนาเครื่องมือทางเทคนิคที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในแต่ละหลักทรัพย์มาจาลองการซื้อขายต่อเนื่องกับตลาดปัจจุบันพบว่า ผลตอบแทนที่ได้มีความสอดคล้องกับการจาลองการซื้อขายในอดีต คือ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) ใช้เครื่องมือ Bollinger Bands ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด บริษัท ปตท. สารวจและผลิตปิโตรเลียม จากัด (มหาชน) ใช้เครื่องมือ RSI (Relative Strength Index) ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13168 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5710521033.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
5710521033manuscript.pdf | 742.8 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License