Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13141
Title: การศึกษาคุณภาพน้ำและแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากดหัวโม่ง (Arius maculatus)เพื่อการท่องเที่ยวเชิงประมง ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่างกรณีศึกษา ตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
Other Titles: Study of Water Quality and Habitat Range of Spotted catfish(Arius maculatus) for Fishing Tourism Lower Part of SongkhlaLake Basin: A Case Study in Pak Ro Sub District,Singhanakorn District, Songkhla Province
Authors: ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
ศุภลักษณ์ กาสาวพัฒร์
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สงขลา;ปลากัดหัวโมง สงขลา
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research was to 1) study water quality and habitat of the Spotted catfish (Arius maculatus) in Pak Ro Sub-district located in lower Songkhla lake basin, 2) study tourists' behavior and satisfaction in fishing activities, and 3) to determine the appropriate management approaches of fishing tourism. Water quality analysis by collecting water samples in May and November 2018 were conducted twice to cover dry and rainy season, then physical and chemical environmental factors were also analyzed. In addition, the interview was performed on the sampling of 12 fishermen from 4 main villages, i.e., Moo 3, 5, 5 and 6, in Pak Ro sub-district. Questionnaire on behavior and satisfaction in fishing activities were used to sampling the data from 384 tourists visited Pak Ro sub-district. Water quality analysis were performed in the field and laboratory. Statistic value, i.e., percentage, frequency, mean and standard deviations were calculated. The results of water quality analysis revealed that water temperature was in the range of 27-34 degrees Celsius. The depth of the water during dry season and rainy season was in the range of 0.9-10.5 meters, which was significantly different. The transparency of water during rainy season was higher than in dry season. The value of pH of the water was in the range of 6.67-7.05 which was suitable for aquatic animals. The salinity of the water was in the range of 4.4-6.5 ppt. which was suitable for brackish water animals. The DO value was in the range of 5.16-7.23 mg/L and BOD value was in the range of 0.90-2.20 mg/L which was an appropriate value for aquatic animals. Data collected from interviews on fishermen in Pak Ro sub-district showed that each of the fishermen in Pak Ro sub-district worked as the fisherman for at least 30 years. The local techniques and tools were mainly used in fishing. The Spotted catfish (Arius maculatus), Soldier catfish (Osteogeneiosus militaris) and Lagoon catfish (Plotosus canius) were mostly caught in Pak Ro sub-district area. From the field study, it could be concluded that other types of fish could not be an potential indicator of the area, therefore, the spotted catfish which was the main type of fish in the area was chosen. From the study on the habitats and amount of the Spotted catfish, it was found that during the dry season, no Spotted catfish was found in the sea farm and the area near the community. This might be because the aquaculture in the sea farm and human activities near the community might directly impacts water resources. In contrast, the Spotted catfish were found during the rainy season since the water level was higher leading to the dilution of the solution in water. The results from the water quality test showed that the DO value was higher and BOD value was lower in the area near the community compared to in the dry season. This could be concluded that the water quality in the dry season was better, therefore the Spotted catfish were caught. From the study of tourists' behavior in fishing activities, 55.7% of the tourists were male with the aged between 45-54 years old for 48.2% were 46.4% graduated from primary school and 37.9% worked as the farmers. The results showed that the tourists were satisfied with the overall water quality at the highest level and the satisfaction level in on fishing activities was at a high level. Therefore, the appropriate management approach for fishing tourism in Pak Ro sub-district located in lower Songkhla lake basin should lead to the development and the adaptation of tourism knowledge to be the guidelines for the tourism resource management in the Pak Ro sub-district and tourist destination. For the route design and tour programs of Pak Ro sub-district, 2 tourism routes were invented, i.e.., 1) route of religious worship and fishing activities and 2) route of local fishing and fishing activities. In addition, the community homestays, the value adding of community products, the community products were recommended for the appropriate tourism management for Pak Ro sub-district, making public relations media in fishing activities in Pak Ro sub-district and seasonal tourism.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ําและแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากดหัวโม่ง ใน พื้นที่ตําบลปากรอ ลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวในกิจกรรมการตกปลา และเพื่อหาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิง ประมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) การวิเคราะห์คุณภาพน้ํา โดยทําการเก็บตัวอย่างน้ําใน เดือนพฤษภาคมและเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 รวมการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง เพื่อให้ครอบคลุม ฤดูกาลทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน นํามาวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางเคมี และใช้วิธีการ สัมภาษณ์ชาวประมงด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างชาวประมงจํานวน 12 คน จากชาวประมงในตําบลปากรอ ที่ทําประมงเป็นหลัก จํานวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 4 5 และ 6 เพื่อเป็นตัวแทนของชาวประมงใน พื้นที่ตําบลปากรอ โดยใช้ข้อคําถามที่ผู้วิจัยวางไว้ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมและความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวในกิจกรรมตกปลาจํานวน 384 ชุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทําแบบสอบถามครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวในกิจกรรมตกปลาที่เดินทางมาในพื้นที่ตําบลปากรอจํานวน 384 คน เลือกใช้วิธีสุ่ม ตัวอย่างแบบบังเอิญหรือตามความสะดวก วิธีการและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การวิเคราะห์คุณภาพน้ําในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ําลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ในพื้นที่ตําบลปากรอ อําเภอสิง หนคร จังหวัดสงขลา พบว่า อุณหภูมิของน้ํามีค่าอยู่ในช่วง 27-34 องศาเซลเซียส ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่ เหมาะสมของน้ําปกติตามธรรมชาติ ความลึกของน้ําในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนมีค่าอยู่ในช่วง 0.9-10.5 เมตร ซึ่งมีค่าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ค่าความโปร่งใสของน้ําในช่วงฤดูฝนสูงกว่าในช่วงฤดูแล้ง ความเป็นกรด-ด่างของน้ํามีค่าอยู่ในช่วง 6.67-7.05 มีค่าเหมาะสมต่อการดํารงชีวิตของสัตว์น้ํา ความ เค็มของน้ําอยู่ในช่วง 4.4-6.5 ppt เป็นค่าที่เหมาะสมต่อการดํารงชีวิตของสัตว์น้ํากร่อย ค่า DO มีค่า อยู่ในช่วง 5.16-7.23 mg/L และค่า BOD มีค่าอยู่ในช่วง 0.90-2.20 mg/L ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมต่อ การดารงชีวิตของสัตว์น้ํา จากการสัมภาษณ์ชาวประมงในพื้นที่ตําบลปากรอ เพื่อนําข้อมูลมาประกอบการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ พบว่า ชาวประมงในพื้นที่ตําบลปากรอทําประมงมาอย่างน้อยไม่ต่ํากว่า 30 ปี วิธีการหาปลา และเครื่องมือที่ใช้ในการจับสัตว์น้ําส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านเป็นหลัก ปลาที่เป็นจุดเด่นของ พื้นที่ตําบลปากรอที่มีการจับได้หรือมีการพบเจอสูง ได้แก่ ปลากดหัวโม่ง ปลากดหัวอ่อน ปลาดุกทะเล และจากการสํารวจภาคสนาม ผู้วิจัยสรุปได้ว่าปลาชนิดอื่นไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดศักยภาพของพื้นที่ได้ ผู้วิจัยจึงเลือกที่จะศีกษาปลากดหัวโม่ง ซึ่งเป็นปลาชนิดเด่นของพื้นที่และสามารถเป็นตัวชี้วัดศักยภาพ ของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยและการพบเจอของปลากดหัวโม่ง พบว่า ในช่วงฤดูแล้งไม่มี การพบเจอปลากดหัวโม่งบริเวณฟาร์มทะเล และบริเวณใกล้แหล่งชุมชน เนื่องจากบริเวณฟาร์มทะเล มีการทํากิจกรรมทางการประมงจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา และบริเวณใกล้แหล่งชุมชนเป็นพื้นที่ที่มี การทํากิจกรรมของมนุษย์และส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ําโดยตรง แต่จากการสํารวจการพบเจอปลากด หัวโม่งในช่วงฤดูฝน พบว่าบริเวณใกล้แหล่งชุมชนมีการพบเจอปลากดหัวโม่ง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนมี การไหลเวียนของน้ําสูงขึ้น ทําให้สารละลายในแหล่งน้ําเจือจาง และจากการทดสอบคุณภาพน้ํา พบว่า บริเวณใกล้แหล่งชุมชน มีค่า DO ที่สูงขึ้น มากกว่าในช่วงฤดูแล้ง และมีค่า BOD ลดต่ําลง มากกว่า ในช่วงฤดูแล้ง แสดงให้เห็นว่าบริเวณใกล้แหล่งชุมชนในช่วงฤดูฝน มีคุณภาพน้ําดีกว่าในช่วงฤดูแล้ง จึง ทําให้เกิดการพบเจอของปลากดหัวโม่ง ณ ช่วงเวลานั้น จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในกิจกรรมการตกปลา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วน ใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 55.7 อายุอยู่ระหว่าง 45-54 ปี ร้อยละ 48.2 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 46.4 และมีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 37.9 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยว มีความพึงพอใจต่อคุณภาพน้ําโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจในด้านต่างๆ ต่อ กิจกรรมตกปลาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นแนวทางการจัดการที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงประมง ลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลา ตอนล่าง ตําบลปากรอ จะต้องมีการนําศาสตร์ทางด้านการท่องเที่ยวมาพัฒนาและปรับใช้ให้เหมาะสม กับพื้นที่ เพื่อให้แนวทางการจัดการทรัพยากรทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ปากรออยู่สภาพที่ดี และเป็น จุดหมายปลายทางสําหรับนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง โดยการออกแบบเส้นทางและโปรแกรมนําเที่ยว ในพื้นที่ตําบลปากรอ พบว่าพื้นที่ตําบลปากรอ สามารถสร้างเส้นทางและโปรแกรมท่องเที่ยวได้ 2 เส้นทางคือ 1) เส้นทางสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและกิจกรรมตกปลา 2) เส้นทางเรียนรู้วิถี ประมงพื้นบ้านและกิจกรรมตกปลา นอกจากนี้แนวทางในการจัดการที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวใน พื้นที่ตําาบลปากรอควรมีการจัดตั้งโฮมสเตย์ของชุมชน การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากผลผลิตชุมชน การทําสื่อประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมตกปลา และการท่องเที่ยวตาม ฤดูกาล
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13141
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
437699.pdf7.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons