Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13137
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์โฟมยางพาราผสมสารฟิโรโมนเมทิลยูจินอลสำหรับดึงดูดแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae)
Other Titles: Product Development of Natural Rubber Foam Mixed with Pheromone, Methyl Eugenol, for Attractant Oriental Fruit Fly, Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae)
Authors: นริศ ท้าวจันทร์
รูเฟียะห์ มะลี
Faculty of Natural Resources (Pest Management)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช
Keywords: โฟมยาง;เฟอโรโมน;แมลงวันทอง
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The effects of natural rubber foam mixed with methyl eugenol (ME) product for attractant to adult male Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae) on different concentration of methyl eugenol, foam density, foam thickness, cross- sectional area, resistance in high temperature and the efficiency in the field were investigated. The effects of 50, 100, 200 and 300 μl ME concentration in natural rubber foam and dried at external environment for 0 - 120 days on attractant to adult male B. dorsalis were studied. The 50 μl ME concentration at day 0 showed percentage attraction to adult male B. dorsalis 61.66 ± 1.67% while the rest ME concentrations at day 15, 30, 45, 60, 75 and 90 were not significantly different of percentage attraction (P>0.05). At day 120 of the 200 μl ME concentration showed percentage attraction to the fly 27.50 ± 4.96% and significantly different from other concentrations (P<0.05). The natural rubber foam densities at 0.21, 0.23 and 0.25 g/cm3 with 50 μl ME concentration on attractant to adult male B. dorsalis were studied. At day 15, the percentage attraction of adult male B. dorsalis of all densities were not significantly different (P>0.05) with percentage value 41.67 ± 6.41, 69.17 ± 5.07 and 70.83 ± 3.52%, respectively. All natural rubber foam densities showed the efficiency of attraction to adult male B. dorsalis up to 120 days. The natural rubber foam thickness at 1.0, 2.0, 3.0 and 4.0 cm with 50 μl ME concentration on attractant to adult male B. dorsalis were studied. The natural rubber foam thickness at 1.0 cm showed the percentage attraction to adult male B. dorsalis higher than other natural rubber foam thickness and significantly different (P<0.05). At day 15 and 30, the natural rubber foam thickness 1.0 cm gave high percentage of attraction value with 59.17 ± 8.31 and 46.67 ± 5.58%, respectively. In addition, at day 45, 60, 75, 90 and 120, the natural rubber foam thickness 1.0 cm showed percentage attraction to adult male B. dorsalis 16.70 ± 5.10, 23.30 ± 6.50, 24.20 ± 6.10, 23.30 ± 6.50 and 8.30 ± 2.10%, respectively, and significantly different from the rest natural rubber foam thickness (P<0.05). The cross-sectional area of natural rubber foam at 5.0 X 5.0, 5.0 X 2.5 and 2.5 x 2.5 cm2 with 50 μl ME concentration on attractant to adult male B. dorsalis were investigated. All cross-sectional areas were not significantly different on the percentage attraction to adult male B. dorsalis (P>0.05) with ranged 5.00 - 80.83%. At day 15, the cross-sectional area at 5.0 X 5.0 cm2 showed the highest percentage attraction to adult male B. dorsalis 80.83 ± 6.20% and have efficiency of attraction up to 120 days. The temperature effects of natural rubber foam and the cotton plug with 50 μl ME concentration on attraction to adult male B. dorsalis were investigated. The different temperatures at 25, 35, 45, 55 and 65°C and different incubation times at 6, 12, 24, 48, 72, 96 and 120 hrs of natural rubber foam and the cotton plug were tested. The natural rubber foam at 65°C showed percentage attraction to adult male B. dorsalis ranged 25.83 - 71.67% and significantly different from the cotton plug with percentage attraction ranged 17.08 - 30.42% (P<0.05). The efficiency of natural rubber foam and cotton plug trap with 50 μl ME concentration on attraction to adult male B. dorsalis were investigated in the field condition of three sapodilla orchards at Kohyor, Mueng district, Songkhla province. At the week 1 - 3, the cotton plug trap showed the highest captured flies ranged 172.67 - 314.20 flies/trap while the natural rubber foam trap was ranged 24.83 56.20 flies/trap. At the week 4 - 10, the natural rubber foam can release the ME constantly up to 10 weeks with the number of captured flies ranged 28.36 - 74.60 flies/trap and significantly higher than the cotton trap was ranged 1.17 -3.60 flies/trap (P<0.05). From of all results, the natural rubber foam product mixed with ME are suitable than cotton trap for control fruit flies pest population in nature.
Abstract(Thai): การพัฒนาผลิตภัณฑ์โฟมยางพาราผสมสารฟีโรโมนเมทิลยูจีนอล (methyl eugenol, ME) สําหรับการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae) โดยศึกษาปริมาณของสาร ME ความหนาแน่น ความหนาชิ้นโฟม พื้นที่หน้าตัด ความ คงทนต่ออุณหภูมิสูง และเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างผลิตภัณฑ์โฟมยางพารากับสําลีในแปลงไม้ ผลของเกษตรกร ปริมาณของสาร ME ในโฟมยางพาราที่ระดับ 50, 100, 200 และ 300 ไมโครลิตร ที่ตากไว้ในสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นระยะเวลา 0 - 120 วัน พบว่าโฟมยางพาราที่ผสมปริมาณสาร ME 50 ไมโครลิตร ที่ระยะเวลา 9 วัน มีเปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้ดี ที่สุดอยู่ที่ 61.66 ± 1.67 เปอร์เซ็นต์ ส่วนโฟมยางพาราที่วางในสภาพแวดล้อมระยะเวลา 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน ทุกระดับของสาร ME แสดงเปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนี้โฟมยางพาราที่วางในสภาพแวดล้อมที่ระยะเวลา 120 วัน ปริมาณสาร ME 200 ไมโครลิตร ให้เปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ 8. dorsalis 27.50 + 4.96 เปอร์เซ็นต์ และแตกต่างกับชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ความหนาแน่นของเนื้อโฟมยางพาราที่ 0.21, 0.23 และ 0.25 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร ที่เติมสาร ME 50 ไมโครลิตร ต่อการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ 6. dorsalis พบว่าโฟม ยางพาราทุกความหนาแน่นมีเปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ 8. dorsalis ไม่แตกต่างกันทาง สถิติ (P>0.05) ที่ระยะเวลา 15 วัน ทุกความหนาแน่นของโฟมยางพารามีเปอร์เซ็นต์การดึงดูด แมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis สูงถึง 41.67 ± 6.41, 69.17 ± 5.07 และ 70.83 + 3.52 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ และสามารถดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้ยาวนานอย่างมีประสิทธิภาพถึง 120 วัน ความหนาของโฟมยางพาราที่ 1.0, 2.0, 3.0 และ 4.0 เซนติเมตร ที่เติมสาร ME 50 ไมโครลิตร ต่อการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis พบว่าโฟมยางพาราความหนา 1.0 เซนติเมตร มีเปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้ดีกว่าความหนาอื่น ๆ และ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยที่ระยะเวลา 15 และ 30 วัน โฟมยางพาราที่ความ หนา 1.0 เซนติเมตร มีเปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้สูงที่สุดคือ 59.17 + 8.31 และ 46.67 ± 5.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่าที่ระยะเวลา 45, 60, 75, 90 และ 120 วัน โฟมยางพาราที่ความหนา 1.0 เซนติเมตร แสดงเปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้แก่ 16.70 + 5.10, 23.30 + 6.50, 24.20 + 6.10, 23.30 + 6.50 และ 8.30 ± 2.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ แตกต่างจากความหนาอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) พื้นที่หน้าตัดโฟมยางพาราที่ 5.0 x 5.0, 5.0 x 2.5 และ 2.5 x 2.5 ตารางเซนติเมตร ที่เติมสาร ME 50 ไมโครลิตร ต่อการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis พบว่าพื้นที่หน้าตัดโฟม ยางพาราทั้ง 3 รูปแบบ มีเปอร์เซ็นต์การดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้ไม่แตกต่างกันทาง สถิติ (P>0.05) อยู่ในช่วง 5.00 - 80.83 เปอร์เซ็นต์ โดยพื้นที่หน้าตัดโฟมยางพาราที่ 5.0 x 5.0 ตารางเซนติเมตร ระยะเวลา 15 วัน สามารถดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้สูงถึง 80.83 ± 6.20 เปอร์เซ็นต์ และมีประสิทธิภาพในการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis ได้ ยาวนานถึง 120 วัน การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพของโฟมยางพาราเปรียบเทียบกับ สําลีผสมสาร ME 50 ไมโครลิตร สําหรับการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis โดยทําการศึกษา ที่อุณหภูมิ 25, 35, 45, 55 และ 65 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลา 6, 12, 24, 48, 72, 96 และ 120 ชั่วโมง พบว่าโฟมยางพาราที่ผ่านการบ่มในอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส มีเปอร์เซ็นต์การดึงดูด แมลงวันผลไม้เพศผู้ 8. dorsalis อยู่ในช่วง 25.83 - 71.67 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างกับสําลีซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ ในการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis อยู่ในช่วง 17.08 - 30.42 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) การศึกษาประสิทธิภาพของกับดักโฟมยางพาราเปรียบเทียบระหว่างกับดักสําลีที่ ผสมสาร ME 50 ไมโครลิตร โดยติดตั้งกับดักไว้ในแปลงละมุด 3 แปลง บนพื้นที่ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา พบว่าสัปดาห์ที่ 1 - 3 กับดักสําลีสามารถดักจับแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis อยู่ในช่วง 172.67 - 314.20 ตัว/กับดัก ในขณะที่กับดักโฟมยางพาราสามารถดักจับแมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis อยู่ในช่วง 24.83 - 56.20 ตัว/กับดัก แต่เมื่อวางกับดักอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ 4 - 10 พบว่าประสิทธิภาพของกับดักโฟมยางพาราสามารถปลดปล่อยสาร ME ได้อย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 10 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 10 หลังจากติดตั้งกับดักในแปลงละมุด กับดักโฟมยางพาราสามารถดักจับ แมลงวันผลไม้เพศผู้ B. dorsalis อยู่ในช่วง 28.36 - 74.60 ตัว/กับดัก มากกว่ากับดักสําลีอยู่ในช่วง 1.17 - 3.60 ตัว/กับดัก ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) จากผลการทดลองทั้งหมด พบว่าผลิตภัณฑ์โฟมยางพาราที่ผสมสาร ME สามารถนํามาใช้ทดแทนกับดักสําลีในการควบคุมจํานวน ประชากรของแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติได้
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (กีฏวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13137
Appears in Collections:535 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
437763.pdf11.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons