กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13131
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อคาดการณ์การขยายตัวของเมืองในจังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Application of Geo-informatics Technology for Prediction of Urban Expansion in Phuket Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริวรรณ รวมแก้ว นัสรี มิงซู Faculty of Technology and Environment |
คำสำคัญ: | ภูมิสารสนเทศศาสตร์ ภูเก็ต;การใช้ที่ดินในเมือง ภูเก็ต |
วันที่เผยแพร่: | 2019 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The main objectives are to investigate land use and land cover changes and predict land use change in the future and analyze economic and social factors Influencing the urban expansion, visual interpretation was used to classify land use data in 1995, 2002 and 2014. And also, CA-MARKOV model was used to predicting land use in 2026. The predictive accuracy assessment was compared with land use classification in 2014. And analyze the relationship of factors with correlation and stepwise logistic regression model. The result showed that overall accuracy and kappa coefficient of land use classification in 2014 were 99.08% and 0.98 respectively. Meanwhile, overall accuracy and kappa coefficient of predictive land use were 89.38 % and 0.67 respectively. Meanwhile, The correlation of driving force factors of urban expansion at the 0.01 level has coefficients of the variables are as follows: Miscellaneous land (R = 0.331) Elevation (R = -0.164) Slope (R = -0.164) Road density (R = 0.158) Land price (R = 0.133) Distance from main road (R = -0.132) Forest land (R = -0.116 Distance from village (R = -0.105) Agriculture land (R = -0.069) Population density (R = 0.058) Distance from travel location (R = -0.054) income (R = 0.053) and water body (R = -0.047) |
Abstract(Thai): | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์การ ขยายตัวของเมืองและศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม ที่มีผลต่อการขยายตัวของเมือง โดยจําแนก การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ปี พ.ศ. 2538, 2545 และ 2557 ด้วยวิธีการแปลตีความด้วย สายตาและนําผลที่ได้ไปคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2569 ด้วย แบบจําลอง CA-MARKOV ตรวจสอบความถูกต้องของแบบจําลอง โดยเปรียบเทียบกับการใช้ ประโยชน์ที่ดินที่ได้จากการจําแนก ปี พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยการวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ความถูกต้องโดยรวม ของการจําแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินและสัมประสิทธิ์แคปปาเท่ากับ ร้อยละ 99.08 และ 0.98 ตามลําดับ ความถูกต้องโดยรวมของแบบจําลองและสัมประสิทธิ์แคปปา เท่ากับ ร้อยละ 89.38 และ 0.67 ตามลําดับ การขยายตัวของเมืองมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปร ดังนี้ พื้นที่เบ็ดเตล็ด (R = 0.331) ความสูงภูมิประเทศ (R = -0.164) ความลาดชัน (R = -0.164) ความหนาแน่นของเส้นถนน (R = 0.158) ราคาที่ดิน (R = 0.133) ระยะห่างจากเส้นถนนสายหลัก (R = -0.132) พื้นที่ป่าไม้ (R = -0.116 ระยะห่างจากตําแหน่ง หมู่บ้าน (R = -0.105) พื้นที่เกษตรกรรม (R = -0.069) ความหนาแน่นของประชากร (R = 0.058) ระยะห่างจากตําแหน่งสถานที่ท่องเที่ยว (R = -0.054) รายได้ประชากร (R = 0.053) และ พื้นที่แหล่ง น้ํา (R = -0.047) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13131 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 978 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
437734.pdf | 5.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License