Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13130
Title: | อิทธิพลของผู้นำเชิงจริยธรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการต่อต้านการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร และบทบาทของความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลาง : กรณีศึกษาพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา |
Other Titles: | The Influence of Ethical Leadership on Employee Counterproductive Work Behavior and The Mediating Role of Trust: A Case Study of Employees in Songkhla Provincial Administrative Organization (PAO) |
Authors: | วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ สินิทร์นาฏ สร้อยทอง Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Keywords: | ผู้นำกับศีลธรรมจรรยา สงขลา;องค์การบริหารส่วนจังหวัด สงขลา |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The four objectives of this study were to investigate: 1) the level of ethical leadership; 2) the level of employee counterproductive work behaviors toward the organization and colleagues; 3) the influence of ethical leadership on the two types of counterproductive work behaviors; and 4) the mediating role of trust according to social exchange theory. This quantitative study employed a questionnaire to collect data from 236 employees of Songkhla Provincial Administrative Organization (PAO). The data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation; and multiple regression analysis to test the hypotheses. The study found that the average level of ethical leadership was high (3.55) and the average level of trust in the leaders was also high (3.48). However, counterproductive work behaviors toward the organization and colleagues were at very low levels 1.38 and 1.24, respectively. Regarding analysis of the relationships between ethical leadership and the two types of counterproductive work behaviors, it was found that the length of work under the present supervisors had a positive relationship with trust in the leaders. For ethical leadership, it has a positive relationship with trust in the leaders. Nevertheless, ethical leadership and trust in the leaders were not associated with counterproductive work behaviors toward the organization. Additionally, it was found that being a star or talent in the organization had a negative relationship with counterproductive work behaviors. At the end of this study, the benefits it contributes to literature on ethical leadership, employee counterproductive work behavior and trust are acknowledged. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับของผู้นําเชิงจริยธรรม 2. เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการต่อต้านการปฏิบัติงานทั้งต่อองค์การและต่อเพื่อนร่วมงาน 3. เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของผู้นําเชิงจริยธรรมที่มีต่อพฤติกรรมการต่อต้านการปฏิบัติงานทั้ง 2 รูปแบบ 4. เพื่อ ศึกษาบทบาทของความไว้วางใจ (Trust) ในฐานะตัวแปรคั่นกลางตามแนวคิดทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทาง สังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่ม ตัวอย่าง คือ พนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จํานวน 236 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบ สมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้นําเชิงจริยธรรม อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 ส่วนความ ไว้วางใจในตัวผู้นํา อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกันโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการ ต่อต้านการปฏิบัติงานที่ส่งผลเสียต่อองค์การ และพฤติกรรมการต่อต้านการปฏิบัติงานที่ส่งผลเสียต่อ เพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับต่ํามาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.38 และ 1.24 ตามลําดับ สําหรับการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมและพฤติกรรมการต่อต้านการปฏิบัติงานที่ส่งผลเสียทั้ง 2 รูปแบบ พบว่า ระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับหัวหน้าคนปัจจุบันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความ ไว้วางใจในตัวผู้นํา ส่วนภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความไว้วางใจในตัวผู้นํา อย่างไรก็ตาม ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมและความไว้วางใจในตัวผู้นํา ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ต่อต้านการปฏิบัติงานที่ส่งผลเสียต่อองค์การ นอกจากนั้นพบว่า การเป็นดาวเด่นในองค์กรมีความ ความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการต่อต้านการปฏิบัติงานที่ส่งผลเสียต่อองค์การ ในท้ายงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้อภิปรายถึงคุณูปการของงานวิจัยที่มีต่อวรรณกรรมภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม พฤติกรรมการ ต่อต้านการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร และรวมไปถึงความไว้วางใจ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13130 |
Appears in Collections: | 465 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
437720.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License