กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13107
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการขนส่งน้ำยางข้นของผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำยางข้นในจังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Study and Analysis of Concentrated Latex Transportation Problem of Concentrate Latex Manufacturer and Exporter in Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิรินุช ลอยกุลนันท์ เนตนภา รามเรือง Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | ปัญหาการขนส่ง;การขนส่งน้ำยางข้น;ผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำยางข้น;ตัวแทนรับขนส่ง;การขนส่งสินค้า การบริหาร;การบริหารงานโลจิสติกส์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดจากกระบวนการขนส่งน้ำยางข้นของผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำยางข้น ในจังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลจากการเก็บแบบสอบถามจากพนักงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำยางข้น ในจังหวัดสงขลา จำนวน 66 คน จากผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำยางข้น ในจังหวัดสงขลาจำนวน 9 บริษัท วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ เชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัย ทำการวิเคราะห์และจัดกลุ่มปัจจัยด้วยทฤษฎีผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) โดยใช้เครื่องมือ 4M 1E คือ คน (Man) เครื่องจักร (Machine) วัตถุดิบ (Material) วิธีการ (Method) และ สภาพแวดล้อมภายนอก (Environment) ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของปัญหาที่เกิดจากกระบวนการขนส่งน้ำยางข้นของบริษัทผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำยางข้น ในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย ปัญหาการขับขี่และการจราจร ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก (Environment) ปัญหาการวางแผนทำงานและกระบวนการจัดการรถบรรทุกน้ำยางข้น ที่เกิดจากวิธีการทำงาน (Method) ปัญหาสภาพรถบรรทุกที่ใช้ในการบรรทุกน้ำยางข้นและปัญหาตะกอนเศษยางในน้ำยางข้น ที่เกิดจากปัจจัยด้านเครื่องจักร (Machine) ปัญหาความรู้ ประสบการณ์ของผู้ทดสอบคุณภาพและปัญหาน้ำหนักสินค้า ที่เกิดจากคนหรือพนักงาน (Man) และปัญหาการเลือกวัตถุดิบและการจัดการปริมาณการส่งออก ปัญหาที่เกิดจากวัตถุดิบ (Material) ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัญหาการขับขี่และการจราจรมากเป็นที่สุดงานวิจัยนี้เสนอแนะว่าปัญหาที่เกิดจากการขับขี่และการจราจร ผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำยางควรปรึกษาหารือต่อบริษัทตัวแทนรับขนส่งและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยปรับปรุงกระบวนการดำเนินการพิธีการปล่อยสินค้าและการจัดระเบียบช่องทางการจราจรบริเวณด่านศุลกากรสะเดา เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความรวดเร็วของรถขนส่ง |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13107 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Netnapha Research Paper.docx | 89.53 kB | Microsoft Word XML | ดู/เปิด | |
Netnapha-Full.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License