กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13093
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติในหน่วยงานสนับสนุน เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในธนาคารพาณิชย์ไทย กรณีศึกษา ธนาคารเอบีซี สายงานปฏิบัติการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Application of Robotic Process Automation (RPA) in Operations Support for the Competitive Advantage in Thai Commercial Banking Industry: Case Study of ABC Bank Operation Group |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิรินุช ลอยกุลนันท์ ชนันธร ศรนุรักษ์ Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก รวมทั้งสถานการณ์ทางการแข่งขันของธนาคารเอบีซี ก่อนนาระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติมาใช้ ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติ ความสามารถ ประโยชน์และผลกระทบของระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่มีต่อธนาคารเอบีซี และอธิบายความได้เปรียบทางการแข่งขันที่คาดว่าจะได้รับหลังจากใช้งานระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุน คุณภาพ นวัตกรรม และความรวดเร็วในการตอบสนองลูกค้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับโครงการระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ประกอบด้วยผู้บริหารจานวน 5 ท่าน และพนักงานกลุ่มศักยภาพจานวน 7 ท่าน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา เพื่อตีความสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากคู่แข่งรายเดิมและคู่แข่งรายใหม่ข้ามอุตสาหกรรม มีผลิตภัณฑ์และบริการทดแทนที่หลากหลาย และลูกค้ามีอานาจต่อรองสูง การนาระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติมาใช้ จึงถือเป็นการนาโอกาสทางด้านเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มจุดแข็งและกาจัดจุดอ่อน หลังจากที่ใช้งานระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติคาดว่าจะทาให้ธนาคารมีความได้เปรียบทางการแข่งขันเพิ่มขึ้นทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านต้นทุน ด้านการสร้างคุณภาพ ด้านนวัตกรรมการปฏิบัติงาน และด้านความรวดเร็วในการตอบสนองลูกค้า กล่าวคือ ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติสามารถช่วยลดต้นทุน ลดข้อผิดพลาด สร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ป้องกันความเสี่ยง ช่วยสร้างนวัตกรรมกระบวนการ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และหากธนาคารสามารถวางตาแหน่งของระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคาร ควบคู่ไปกับการพัฒนาทุนมนุษย์ จะทาให้ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติเป็นทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ที่มีค่า หายาก ลอกเลียนแบบได้ยาก และไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ ตามพื้นฐานของทฤษฎีฐานทรัพยากร นามาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, 2563 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13093 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
ชนันธร ศรนุรักษ์ 6110521007.pdf | 3.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น