Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12796
Title: คุณภาพของข้าวหอมใบเตยและผลิตภัณฑ์ข้าวพร้อมบริโภคระหว่างการเก็บรักษา
Other Titles: Quality of Hom Bai Toie Rice and Its Ready-to-Eat Rice Product during Storage
Authors: มุทิตา มีนุ่น
หทัยรัตน์ ทองปันจา
Faculty of Agro-Industry (Food Technology)
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
Keywords: ข้าว พันธุ์ซี 85 ไทย;ข้าว การเก็บและรักษา;ข้าว คุณภาพ;ข้าวหอมใบเตย;ข้าวพร้อมบริโภค คุณภาพ
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Hom Bai Toei rice (Cultivar 85) is specific-pandan flavour rice from Thailand that has soft texture when it was cooked. Hom Bai Toei rice can be consumed either in a form of brown or milled rice. After harvested, paddy rice is dehydrated by sun light to reduce the moisture content until its reached 14% or below. Then, paddy rice is dehulled to obtain brown rice. Furthermore, brown rice is removed bran and germ to obtain milled rice. The quality of cooked rice was affected by rice and water ratio and also the duration of aged rice. At present, ready-to-eat foods are of important and the market share has been increased rapidly. Since people do not have time for cooking. Therefore, this research was to study the effect of storage time on the rice quality, rice to water ratio on cooking quality as well as to investigate the sterilization process to produce ready-to-eat rice in a retort pouch and to monitor the quality of cooked rice during storage. Fresh Hom Bai Toei brown and milled rice was packed in Nylon/LLDPE plastic bag under vacuum and non-vacuum packaging and storaged at room temperature for 6 months. Each month, Hom Bai Toei brown rice and milled rice grain was determined for physical, chemical and physicochemical properties. It was found that the properties of Hom Bai Toei brown and milled rice that was kept under vacuum and non-vacuum packaging changed during storage (p<0.05). Hom Bai Toei brown rice that was kept under vacuum packaging had lower rancidity than the one that was kept under non-vacuum packaging during storage (p<0.05). The thiobarbituric acid value (TBA) of fresh Hom Bai Toei brown rice was 0.55 mg of malonaldehyde/kg sample, while the TBA values of non-vacuum and vacuum Hom Bai Toei brown rice that was stored for 6 months were 1.15 and 0.97 mg of malonaldehyde/kg sample, respectively. In addition, the TBA values of fresh Hom Bai Toei milled rice was 0.46 mg of malonaldehyde/kg sample, while the TBA values of non-vacuum and vacuum Hom Bai Toei milled rice that was stored for 6 months were 1.07 and 0.84 mg of malonaldehyde/kg sample, respectively. Hexanal that acts as a main volatile oxidative product increased during storage (p<0.05). While, the specific pandan flavor compound, 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) decreased during storage (p<0.05). The peak viscosity, final viscosity and setback viscosity of Hom Bai Toei brown and milled rice that was kept under non-vacuum and vacuum packaging decreased during storage (p<0.05) with an increasing of crystallinity and enthalpy of gelatinization during storage (p<0.05). The effect of rice to water ratio on the quality of cooked rice either fresh or stored Hom Bai Toei brown and milled rice were investigated. Fresh Hom Bai Toei brown and milled were packed in a Nylon/LLDPE plastic bag under vacuum packaging and stored at room temperature for 6 months (Stored rice). Fresh and stored brown rice (the 6th month) were cooked with rice cooker by using various ratios between rice and water (1:1.5, 1:2 and 1:2.5 w/w). Meanwhile, fresh and stored milled rice were cooked by using various ratios between rice and water as 1:1, 1:1.5 and 1:2 w/w. The suitable ratio between rice and water was selected according to the sensory evaluation score (9-point Hedonic scale). The result showed that appearance, colour, flavour, texture, taste and overall liking scores of stored Hom Bai Toei brown and milled rice were higher than the fresh rice (p<0.05). In addition, the stored Hom Bai Toei brown rice with the ratio of 1:2.0 (rice: water) and stored Hom Bai Toei milled rice with the ratio of 1:1.5 (rice: water) was selected. This was due to the highest score in appearance, texture and overall liking scores (p<0.05). The hardness and adhesiveness of stored Hom Bai Toei brown rice were 54.81 and 2.61 N, respectively. While, the hardness and adhesiveness of stored Hom Bai Toei milled rice were 27.05 and 2.90 N, respectively. In addition, it was found that stored Hom Bai Toei brown and milled rice had lower 2AP than the fresh ones (p<0.05). However, high hexanal content was noticed. Fresh and stored Hom Bai Toei brown and milled rice which was cooked with high water content had higher in moisture content, water uptake and elongation ratio than those with low water content (p<0.05). In order to produce ready-to-eat rice, this reseach was aimed (1) to optimize the soaking time, (2) to investigate the heating process time (F) and (3) to monitor the quality of the ready-to-eat rice product during storage. Firstly, Hom Bai Toei brown and milled rice were soaked in boiling water and monitored moisture content and degree of gelatinization every 2 min in order to find the optimum soaking time. The result showed that the optimum conditions for brown rice were 8, 10 and 12 min and milled rice were 6 and 8 min. The moisture content and degree of gelatinization of Hom Bai Toei brown and milled rice were in the ranges of 60.01-64.64% and 70.78-89.93%, respectively. Next step, the sterilization process of cooked Hom Bai Toei brown and milled rice was investigated. Rice was packed in a retort pouch 125 grams/bag, then sealed and sterilized in a retort at 118°C with pressure 23 pound/square inches. The heating process time of Hom Bai Toei brown rice was 26.30 min (F, Formula = 4.29 min), while heating process time of Hom Bai Toei milled rice was 23.30 min (F, Formula 4.08 min). The sensory evaluation 9-point Hedonic scale was monitored for Hom Bai Toei brown and milled rice that was packed in a retort pouch. The result showed that Hom Bai Toei brown rice in a retort pouch that was soaked for 10 min under boiling water and Hom Bai Toei milled rice in a retort pouch that was soaked for 6 min under boiling water had the highest score in texture and overall liking scores. The hardness and adhesiveness of cooked Hom Bai Toei brown rice were 54.83 and 2.62 N, respectively. While, the hardness and adhesiveness of cooked Hom Bai Toei milled rice were 26.88 and 2.89 N, respectively. Finally, Hom Bai Toei brown and milled rice in a retort pouch was stored under room temperature for 6 months. The changes in physical, chemical, physicochemical properties as well as sensory evaluation in each month were determined. It was found the retrogradation increased in all treatments during storage (p<0.05). It was considered as the increasing of enthalpy and hardness (p<0.05) and the decreasing of moisture content and adhesiveness (p<0.05). Texture and overall liking scores of Hom Bai Toei brown and milled rice in a retort pouch decreased during storage (p<0.05). Therefore Hom Bai Toei brown rice that was soaked for 10 min and Hom Bai Toei milled rice that was soaked for 6 min before packing in a retort pouch and sterilization had the highest in texture and overall liking scores (p<0.05).
Abstract(Thai): ข้าวหอมใบเตย (พันธุ์ C 85) เป็นพันธุ์ข้าวไทยที่มีกลิ่นหอมของใบเตยเป็นกลิ่นเฉพาะตัว เมื่อ หุงสุกข้าวจะมีลักษณะอ่อนนุ่ม การบริโภคข้าวหอมใบเตยจะอยู่ในรูปข้าวกล้องและข้าวขัดขาวทั้งในรูป ข้าวใหม่และเก่า ซึ่งทําได้โดยนําข้าวเปลือกภายหลังจากการเก็บเกี่ยวนํามาตากแดดเพื่อลดความชื้นให้ เหลือน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 14 จากนั้นนําข้าวเปลือกมาผ่านเครื่องกะเทาะเปลือกออก จะได้ข้าว กล้อง ข้าวกล้องเมื่อถูกนํามาขัดสีโดยผ่านเครื่องขัดสีเพื่อแยกรําและคัพภะออก จะได้เป็นข้าวขัดขาว ความใหม่-เก่าของข้าวตามระยะเวลาการเก็บรักษาจะมีผลต่อการใช้อัตราส่วนข้าวต่อน้ําในการหุงสุก ของข้าวเพื่อให้ได้คุณภาพข้าวหุงสุกที่ดี ในปัจจุบันการดําเนินชีวิตในสังคมมีความเร่งรีบจึงทําให้อาหาร พร้อมบริโภคได้รับความนิยมและมีบทบาทสําคัญเป็นอย่างมาก ข้าวหุงสุกสําเร็จรูปจึงมีความต้องการ เพิ่มขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพข้าว อัตราส่วนข้าวต่อน้ําที่ เหมาะสมต่อการหุงสุกข้าว และศึกษากระบวนการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวพร้อมบริโภคใน ภาชนะปิดสนิทและติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษา ข้าวกล้องและข้าวขัดขาว (ข้าวใหม่) ถูกนํามาบรรจุในถุงพลาสติก Nylon/LLDPE เก็บรักษาที่ 2 สภาวะ คือ สภาวะปกติ (Non-vacuum) และสภาวะสุญญากาศ (Vacuum) ที่อุณหภูมิห้อง นาน 6 เดือน จากนั้นตรวจสอบสมบัติทางกายภาพ เคมี และเคมีเชิงฟิสิกส์ทุกเดือน พบว่า ข้าวกล้องและข้าวขัดขาวที่ บรรจุในสภาวะแบบปกติและสุญญากาศมีการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ เคมี และเคมีเชิงฟิสิกส์ ระหว่างการเก็บรักษา (p<0.05) ข้าวกล้องที่บรรจุในสภาวะสุญญากาศมีค่าความหืนน้อยกว่าข้าวที่บรรจุ ในสภาวะปกติตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (p<0.05) ค่าความชื้นในข้าวกล้องเริ่มต้นเท่ากับ 0.55 มิลลิกรัมมาลอนแอลดีไฮด์ต่อกิโลกรัมตัวอย่าง ขณะที่ข้าวกล้องที่บรรจุในสภาวะปกติและสภาวะ สุญญากาศในเดือนที่ 6 มีค่าความหืนสูงขึ้นโดยเท่ากับ 1.15 และ 0.97 มิลลิกรัมมาลอนแอลดีไฮด์ต่อ กิโลกรัมตัวอย่าง ตามลําดับ ส่วนข้าวขัดขาวเริ่มต้นมีค่าความหืนเท่ากับ 0.46 มิลลิกรัมมาลอนแอลดีไฮด์ ต่อกิโลกรัมตัวอย่าง ขณะที่ข้าวขัดขาวบรรจุในสภาวะปกติและสภาวะสุญญากาศในเดือนที่ 6 มีค่าความ หืนสูงขึ้น โดยเท่ากับ 1.07 และ 0.84 มิลลิกรัมมาลอนแอลดีไฮด์ต่อกิโลกรัมตัวอย่าง ตามลําดับ ส่วน ปริมาณ Hexanal ซึ่งเป็นสารระเหยที่ให้กลิ่นหืนของข้าวเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (p<0.05) ขณะที่ปริมาณ 2-Acetry-1-pyrroline (2AP) ซึ่งแสดงเอกลักษณ์ความหอมกลิ่นใบเตยลดลง (p<0.05) นอกจากนี้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขัดขาวบรรจุในสภาวะปกติและสุญญากาศมีค่าความหนืดสูงสุด ค่า ความหนืดสุดท้าย และค่าการคืนตัวลดลง (p<0.05) ขณะที่ปริมาณผลึกและพลังงานเอนทัลปีเพิ่มสูงขึ้น ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (p<0.05) การศึกษาอัตราส่วนข้าวต่อน้ําต่อคุณภาพข้าวสุก ซึ่งข้าวกล้องและข้าวขัดขาว (ข้าวใหม่) จะถูก นํามาบรรจุในถุงพลาสติกชนิด Nylon/LLDPE ในสภาวะสุญญากาศ (Vacuum) เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เมื่อครบ 6 เดือน จะถือเป็นข้าวเก่า นําข้าวกล้องและข้าวขัดขาวใหม่และเก่ามาหุงสุกด้วยหม้อหุงข้าว ไฟฟ้า โดยข้าวกล้องใหม่และเก่าจะใช้อัตราส่วนข้าวต่อน้ํา 3 ระดับ ได้แก่ 1:1.5, 1:2 และ 1:2.5 ส่วนข้าว ขัดขาวใหม่และเก่าจะใช้อัตราส่วนข้าวต่อน้ํา 3 ระดับ ได้แก่ 1:1, 1:1.5 และ 1:2 ซึ่งอัตราส่วนข้าวต่อน้ํา ที่เหมาะสมของข้าวกล้องและข้าวขัดขาวจะพิจารณาจากผลการทดสอบทางด้านประสาทสัมผัส ด้วยวิธี 9-point Hedonic scale เป็นหลัก พบว่า ข้าวกล้องและข้าวขัดขาวเก่าจะได้รับคะแนนความชอบด้าน ลักษณะปรากฏ ด้านสี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และความชอบโดยรวมมากกว่าข้าวใหม่ (p<0.05) ซึ่ง อัตราส่วนข้าวต่อน้ําที่เหมาะสมของข้าวกล้องเก่าคือ 1:2 ส่วนข้าวขัดขาวเก่า คือ 1:1.5 เนื่องจากได้รับ คะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงสุด (p<0.05) ข้าวกล้องเก่ามี ค่าความแข็งและค่าการเกาะติดเท่ากับ 54.81 และ 2.61 นิวตัน ตามลําดับ ส่วนข้าวขัดขาวมีค่าความแข็ง และค่าการเกาะติดเท่ากับ 27.05 และ 2.90 นิวตัน ตามลําดับ นอกจากนี้ พบว่า ข้าวกล้องและข้าวขัดขาว เก่ามีปริมาณ 2AP น้อยกว่าข้าวใหม่ ขณะที่มีปริมาณ Hexanal มากกว่า และเมื่อทดลองเพิ่มอัตราส่วน ข้าวต่อน้ํามากขึ้นพบว่าทั้งข้าวกล้องและข้าวขัดขาวใหม่และเก่ามีปริมาณความชื้น ความสามารถในการ ดูดซับน้ํา และอัตราการยืดตัวเพิ่มขึ้น (p<0.05) ขั้นตอนกระบวนการผลิตข้าวพร้อมบริโภคในภาชนะปิดสนิทจะประกอบด้วย การศึกษา ระยะเวลาแช่ข้าวที่เหมาะสม การหาระยะเวลาฆ่าเชื้อ และติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพข้าวพร้อม บริโภคระหว่างการเก็บรักษา ข้าวกล้องและข้าวขัดขาวจะถูกนํามาแช่ในน้ําที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส สุ่มตัวอย่างทุก 2 นาที จากนั้นคัดเลือกระยะเวลาที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากปริมาณ ความชื้นและร้อยละการเกิดเจลาติไนเซชัน พบว่า ระยะเวลาการแช่ที่เหมาะสมของข้าวกล้องคือ 8, 10 และ 12 นาที ส่วนข้าวขัดขาวคือ 6 และ 8 นาที ซึ่งข้าวกล้องและข้าวขัดขาวมีปริมาณความชื้นอยู่ในช่วง ร้อยละ 60.01-64.64 และการเกิดเจลาติไนเซชันอยู่ในช่วงร้อยละ 70.78-89.93 จากนั้นบรรจุข้าวกล้อง และข้าวขัดขาวน้ําหนักถุงละ 125 กรัม ในถุงรีทอร์ทเพาวซ์ ปิดผนึกและกําหนดอุณหภูมิฆ่าเชื้อเท่ากับ 118 องศาเซลเซียส ความดัน 23 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และหาระยะเวลาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม พบว่า ระยะเวลาการให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อของข้าวกล้องคือ 26.30 นาที (F, Formula เท่ากับ 4.29 นาที) ส่วนระยะเวลาการให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อของข้าวขัดขาวคือ 23.30 นาที (F, Formula เท่ากับ 4.08 นาที) จากการทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point Hedonic scale ของข้าวกล้องและข้าว ขัดขาวพร้อมบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท พบว่า ข้าวกล้องและข้าวขัดขาวพร้อมบริโภคในภาชนะ บรรจุปิดสนิทที่เตรียมจากการแช่ข้าวนาน 10 และ 6 นาที และทําให้สุกโดยใช้หม้อฆ่าเชื้อความดันสูง ได้รับคะแนนความชอบด้านเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงสุด (p<0.05) โดยข้าวกล้องพร้อม บริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทที่เตรียมจากการแช่ข้าวนาน 10 นาที และทําให้สุกโดยใช้ หม้อฆ่าเชื้อความดันสูง มีค่าความแข็งและค่าการเกาะติดเท่ากับ 54.80 และ 2.62 นิวตัน ตามลําดับ ส่วน ข้าวขัดขาวพร้อมบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทที่เตรียมจากการแช่ข้าวนาน 6 นาที และทําให้สุกโดย ใช้หม้อฆ่าเชื้อความดันสูง มีค่าความแข็งและค่าการเกาะติดเท่ากับ 26.88 และ 2.89 นิวตัน ตามลําดับ เมื่อนําข้าวกล้องและข้าวขัดขาวพร้อมบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทถูกนํามาเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง 6 เดือน และตรวจสอบสมบัติทางกายภาพ เคมี เคมีเชิงฟิสิกส์และการทดสอบทางด้านประสาทสัมผัส ด้วยวิธี 9-point Hedonic scale พบว่า ข้าวกล้องและข้าวขัดขาวพร้อมบริโภคในภาชนะปิดสนิทเกิด รีโทรเกรเดชันเพิ่มขึ้นระหว่างการเก็บรักษา พิจารณาจากค่าพลังงานเอนทัลปีและค่าความแข็งที่เพิ่มขึ้น (p<0.05) ขณะที่ปริมาณความชื้นและค่าการเกาะติดลดลง (p<0.05) ข้าวกล้องและข้าวขัดขาวพร้อม บริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทมีคะแนนความชอบด้านเนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมลดลงตลอด ระยะเวลาการเก็บรักษานาน 6 เดือน (p<0.05) ดังนั้นข้าวกล้องที่ผ่านการแช่ในน้ําเดือดนาน 10 นาที และข้าวขัดขาวที่ผ่านการแช่ในน้ําเดือดนาน 6 นาที และนํามาบรรจุในถุงรีทอร์ทเพาวซ์และผ่านการให้ ความร้อนจะมีคะแนนความชอบด้านเนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมสูงสุดดีกว่าสภาวะอื่น (p<0.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12796
Appears in Collections:850 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
422671.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.