Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12772
Title: The Role of Insects in the Pollination of Durian (Durio zibethinus Murray) Cultivar 'Monthong'
Other Titles: บทบาทของแมลงในการช่วยผสมเกสรของทุเรียนพันธุ์หมอนทอง (Durio zibethinus Murray)
Authors: Sara Bumrungsri
Kanuengnit Wayo
Faculty of Science (Biology)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา
Keywords: Insect pollinators;Pollination
Issue Date: 2018
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: The durian (Durio zibethinus, Malvaceae) cultivar 'Monthong' is among the most tasteful cultivars and is grown widely throughout Thailand. Nocturnally-foraging insects may be supplementary pollinators to bat-pollinated plants when bats are scarce. Previous studies have stated that insects visit durian flowers, yet no studies have assessed the role of insects in 'Monthong' durian pollination success. Four pollination treatments were conducted on 19 trees from three durian orchards in southern Thailand. Stigmas were receptive by 17h00, and over 50% of 'Monthong' anthers had dehisced by 17h30. Several bee species began foraging on flowers during the late afternoon, and the giant honey bee (Apis dorsata) continued to visit throughout the night. At two weeks after pollination, average percent fruit set was highest for hand-crossed pollination (39.3%), followed by open pollination (31.1%), automatic autogamy (19.6%) and insect pollination (16.4%). The yields from insect pollination, open pollination, and automatic autogamy were not significantly different, but hand-crossed pollination was significantly greater than automatic autogamy. At four weeks after pollination, fruit set from hand-crossed pollination (13.5%) still differed significantly from automatic autogamy (2.0%), indicating that this cultivar is highly self-incompatible. Moreover, the yields of open pollination (5.5%), insect pollination (3.3%) and automatic autogamy were not significantly different, similar to the 2-week results. Insects appear to be important pollinators of 'Monthong' durian in areas where nectar bats visit infrequently. One bee species in particular, Apis dorsata, commonly foraged on flowers at dusk and appears to be the most effective insect pollinator of durian. Consequently, insect pollination could be an alternative method for durian farming. Preservation of forests and caves is suggested to maintain the nesting and foraging habitat of wild pollinators.
Abstract(Thai): ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง (Durio zibethinus, Malvaceae) เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดีและ นิยมปลูกกันอย่างกว้างขวางในประเทศไทย แมลงที่หาอาหารในเวลากลางคืนอาจเป็นตัวช่วยผสม เกสรในพืชที่ถูกผสมเกสรด้วยค้างคาวเมื่อค้างคาวมีจํานวนน้อย การศึกษาที่ผ่านมาระบุว่าแมลงมีการ เยือนดอกทุเรียน แต่ยังไม่มีการศึกษาใดประเมินบทบาทของแมลงต่อความสําเร็จในการผสมเกสร ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง การทดลองผสมเกสรจํานวน 4 ชุดการทดลอง ได้ถูกดําเนินการบนต้นทุเรียน จํานวน 19 ต้น จากสวนทุเรียนจํานวน 3 สวน ในภาคใต้ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ยอด เกสรเพศเมียพร้อมรับเรณูตั้งแต่ 17.00 น. และที่เวลา 17.30 น. อับเรณูมีการปล่อยเรณูมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ผึ้งหลายชนิดเริ่มออกหาอาหารและเยือนดอกทุเรียนตั้งแต่ช่วงเย็น และผึ้งหลวง (Apis dorsata) หาอาหารอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ผลการทดลองผสมเกสรพบว่า หลังการผสมเกสร 2 สัปดาห์ พบว่าเปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ยสูงสุดมาจากการผสมเกสรข้ามด้วยมือ (39.3%) ตามด้วยการ ผสมเกสรแบบธรรมชาติ (31.196) การผสมเกสรด้วยตัวเอง (19.69%) และการผสมเกสรโดยแมลง (16.4%) เมื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่าการติดผลจากการผสมเกสรโดยแมลง การผสมเกสรแบบ ธรรมชาติ และการผสมเกสรด้วยตัวเองไม่แตกต่างกัน แต่การผสมเกสรข้ามด้วยมือแตกต่างจากการ ผสมเกสรด้วยตัวเองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ หลังการผสมเกสร 4 สัปดาห์ผ่านไป พบว่าการติดผล จากการผสมเกสรข้ามด้วยมือ (13.59%) ยังคงแตกต่างจากการผสมเกสรด้วยตัวเอง (2.0%) อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ เป็นการบ่งบอกว่าทุเรียนพันธุ์นี้ผสมตัวเองค่อนข้างต่ํา ในขณะที่การติดผลจากการ ผสมเกสรแบบธรรมชาติ (5.59%) การผสมเกสรโดยแมลง (3.39%) และการผสมเกสรด้วยตัวเองไม่มี ความแตกต่างกันเช่นเดียวกับผลการทดลองที่ 2 สัปดาห์ แมลงดูเหมือนเป็นตัวผสมเกสรที่สําคัญของ ทุเรียนพันธุ์หมอนทองในพื้นที่ที่ค้างคาวกินน้ําต้อยมาเยือนดอกค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะผึ้งหลวงที่มี การเยือนดอกทุเรียนส่วนใหญ่ในช่วงพลบค่ําและค่อนข้างเป็นแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงของทุเรียน จะ เห็นได้ว่าการผสมเกสรโดยแมลงในทุเรียนสามารถเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ทุเรียนมีการติดผล ดังนั้น ควรมีการรักษาป่าไม้และถ้ําเพื่อรักษาถิ่นที่อยู่อาศัย และแหล่งหาอาหารของผู้ผสมเกสรในธรรมชาติ เอาไว้
Description: Thesis (M.Sc., Ecology (International Program))--Prince of Songkla University, 2018
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12772
Appears in Collections:330 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
422705.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.