กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12744
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influence of Electronic Word of Mouth Communication on Intention to Purchase Cosmetic Products Online of Consumer in Hat Yai, Songkhla
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะนุช ปรีชานนท์
นภัค นุ้ยศรีดา
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: เครื่องสำอาง;Electronic Word of Mouth, Online, Purchase Intention, Cosmetic;พฤติกรรมผู้บริโภค;การสื่อสาร การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ผลกระทบของการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อ ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มี วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 3) เพื่อศึกษา ผลกระทบของการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยเก็บแบบสอบถาม ออนไลน์จากผู้บริโภคที่คาดว่าจะซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 395 คน ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคเห็นด้วยกับการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริโภคมีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง และ การสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ออนไลน์เป็นอิสระต่อกัน มีความสัมพันธ์กันปานกลางในทิศทางเดียวกัน (R = 0.581) และสามารถ ทำนายความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ได้ถึง 33.8% โดยการสื่อสารแบบปากต่อปาก เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะส่งผลให้มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพิ่มขึ้น 0.900 หน่วย ดังนั้น ธุรกิจเครื่องสำอางที่ต้องการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ควรเลือกใช้การสื่อสารแบบปากต่อปากร่วมกับ การทำการตลาดผ่านช่องทางอื่น เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนควรมีการ พัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12744
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น