Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12731
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจษฎา รัตนวุฒิ-
dc.contributor.authorดนุสรณ์ ไตรระเบียบ-
dc.date.accessioned2020-03-20T08:42:50Z-
dc.date.available2020-03-20T08:42:50Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12731-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560en_US
dc.description.abstractThis study is aimed to investigate the effect of bamboo charcoal powder, bamboo vinegar, and bamboo charcoal powder containing bamboo vinegar (BCV) at different levels on the growth of bacteria in vitro and to study the effect of BCV supplementation in weanling pig diet, including 2 experiments. The first experiment was of examining the effect of bamboo charcoal powder, bamboo vinegar, and bamboo charcoal powder containing bamboo vinegar (2:1) at 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0% and antibiotic on the growth of Escherichia coli, Salmonella typhi, Bacillus subtilis and Lactobacillus plantarum in vitro. Compared to the control group, the use of bamboo charcoal powder at the level of 2.0% had inhibitory effects on the growth of all types of bacteria. Using bamboo vinegar at the level of 1.5% resulted in the inhibition of E. coli, Salmonella typhi and Bacillus subtilis, but did not affect the growth of Lactobacillus plantarum. The use of BCV at all levels reduced the growth of E. coli. The use of 2.0% BCV inhibited the growth of Salmonella typhi and using 1.5% BCV reduced the growth of Bacillus subtilis and Lactobacillus plantarum. Antibiotic could inhibit the growth of all types of bacteria. The second experiment was of studying the effect of bamboo charcoal powder containing bamboo vinegar (2:1) supplementation in weanling pig diet on productive performance, diarrhea incidence, blood parameter and fecal bacteria. Thirty-six, three crossbred pigs (Large white x Landrace × Duroc Jersey) weaned at 4 weeks were randomly assigned into 6 treatments in a completely randomized design (CRD) with 3 replicates and 2 weaned pig per pen (barrow and gilt). They were fed with basal diet supplemented with BCV at 0 (control), 0.5, 1.0, 1.5, 2.0% and antibiotic for 4 weeks. The results showed that supplementing the diet with BCV did not affect body weight, average daily gain and feed conversion ratio. Supplementing the diet with 2.0% BCV resulted in decreased feed intake (P<0.01) and higher feed cost (P<0.05). Diarrhea incidence and hematocrit percentage did not differ after feeding with BCV (P>0.05). Supplementing BCV at various levels did not affect fecal Lactobacillus spp., but the use of 2.0% BCV resulted in less fecal E. coli than the control (P<0.05). The use of antibiotics reduced the growth of both fecal E. coli and Lactobacillus spp. The results indicate that adding bamboo charcoal powder, bamboo vinegar and combination could reduce the growth of bacteria in the laboratory scale. Supplementing the diet with BCV at higher levels had affected feed intake and feed cost significantly. BCV supplementation had the effect of reducing fecal pathogenic bacteria, but did not affect the existence of beneficial bacteria.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectลูกสุกร การเลี้ยงen_US
dc.subjectลูกสุกร อาหารen_US
dc.subjectน้ำส้มควันไม้ไผ่en_US
dc.subjectผงถ่านไม้ไผ่en_US
dc.titleผลการส่งเสริมผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ไผ่ต่อการยับยั้งแบคทีเรียและสมรรถภาพการผลิตของลูกสุกรหย่านมen_US
dc.title.alternativeEffects of Bamboo Charcoal Powder Containing Bamboo Vinegar Supplementation on Bacterial Inhibition and Productive Performance of Wealing Pigsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Science and Industrial Technology-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม-
dc.description.abstract-thงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ และ ผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่ที่ระดับต่างๆ ต่อการเจริญของแบคทีเรียในสภาพของ ห้องปฏิบัติการ และเพื่อศึกษาผลของการเสริมผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่ในอาหารของ ลูกสุกรหย่านม ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลของผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ และผงถ่านไม้ ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่ ต่อการเจริญของ Escherichia coli, Salmonella typhi, Bacillus subtilis และ Lactobacillus plantarum ในสภาพของห้องปฏิบัติการ โดยใช้ผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ และผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่ (อัตราส่วน 2:1) ที่ระดับ 0 (กลุ่มควบคุม), 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่เสริมยาปฏิชีวนะ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า การใช้ผงถ่านไม้ ไผ่ที่ระดับ 2.0 เปอร์เซ็นต์ มีผลในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทุกชนิด การใช้น้ําส้มควันไม้ไผ่ ที่ระดับ 1.5 เปอร์เซ็นต์ มีผลในการยับยั้ง E. coli, Salmonella typhi และ Bacillus subtilis แต่ไม่ ยับยั้งการเจริญของ Lactobacillus plantarum สําหรับการใช้ผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่ พบว่า การใช้ทุกระดับสามารถลดการเจริญของ E. coli ได้ การใช้ที่ระดับ 2.0 เปอร์เซ็นต์ มีผลใน การยับยั้งการเจริญของ Salmonella typhi และการใช้ที่ระดับ 1.5 เปอร์เซ็นต์ มีผลในการยับยั้งการ เจริญของ Bacillus subtilis และ Lactobacillus plantarum สําหรับการใช้ยาปฏิชีวนะพบว่า สามารถ ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ทุกชนิด การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของการเสริมผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ ไผ่ (อัตราส่วน 2:1) ในอาหารลูกสุกรหย่านมเพื่อดูผลต่อสมรรถภาพการผลิต การเกิดอาการท้องเสีย ลักษณะของเลือด และปริมาณแบคทีเรียในมูล โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้ลูกสุกร หย่านมลูกผสม 3 สายเลือด (ลาร์ทไวท์ × แลนเรซ × ดูร็อค) อายุ 4 สัปดาห์ จํานวน 36 ตัว โดยแบ่ง ออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 3 ซ้ําๆ ละ 2 ตัว (เพศผู้ตอน 1 ตัว เพศเมีย 1 ตัว) และเสริมผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับ น้ําส้มควันไม้ไผ่ในอาหารที่ระดับ 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่เสริมยาปฏิชีวนะ ทํา การทดลองเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองปรากฏว่า การใช้ผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควัน ไม้ไผ่ในอาหารไม่มีผลต่อน้ําหนักตัว อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิต แต่การเสริมที่ระดับ 2.0 เปอร์เซ็นต์ มีผลทําให้ปริมาณอาหารที่กินลดลง (P<0.01) และมีต้นทุน ค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ําหนักตัวสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) การใช้ผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ ไผ่ที่ระดับต่างๆ ไม่มีผลต่อลักษณะของมูล และเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (P>0.05) สําหรับ จํานวนแบคทีเรียในมูลของลูกสุกรพบว่า การใช้ผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่ในอาหารที่ ระดับต่างๆ ไม่มีผลต่อจํานวน Lactobacillus spp. แต่การใช้ที่ระดับ 2.0 เปอร์เซ็นต์ มีผลทําให้ E. coli ในมูลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) สําหรับการใช้ยาปฏิชีวนะจะทําให้การเจริญของทั้ง E. coli และ Lactobacillus spp. ลดลง ผลจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า การใช้ผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ และการใช้ ร่วมกันสามารถลดการเจริญของแบคทีเรียในสภาพของห้องปฏิบัติการได้ การเสริมผงถ่านไม้ไผ่ ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่ในอาหารลูกสุกรที่ระดับสูงมีผลกระทบต่อปริมาณอาหารที่กิน และต้นทุน ค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ําหนักตัว การเสริมผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ําส้มควันไม้ไผ่มีผลทําให้แบคทีเรีย ก่อโรคในมูลลดลง แต่ไม่มีผลต่อการดํารงอยู่ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์-
Appears in Collections:932 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
423679.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.