Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12698
Title: การประเมินฟุตพรินต์สิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ปูกระป๋องพาสเจอร์ไรซ์
Other Titles: Product Environmental Footprint of Canned Pasteurized Crab Meat.
Authors: ชัยศรี สุขสาโรจน์
เอกชัย ประทุมศรี
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง การควบคุมการผลิต;อุตสาหกรรมปูกระป๋อง ผลกระทบสิ่งแวดล้อม;การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Product environmental footprint (PEF) is the environmental impact evaluation that considers all environmental impacts in the product life cycle. The canned pasteurized crab meat (CPCM) is one of product mainly produced to be export and could cam the beneficial income to Thailand. According to some international trade rule, the enhancing of production process in order to meet optimized resource and energy uses are required. The manufacturer have to use the tools or scaling for evaluation of environmental impact from their process. This study aimed to evaluate the PEF of CPCM by using the international reference life cycle data system (ILCD) midpoint method including 14 impact categories with PEF guideline. The scope of study is the production chain included acquisition of raw material step to manufacturing plant (cradle to gate). The results showed that only 5 significant from 14 categories were observed namely the impact of climate change, terrestrial acidification, ionizing radiation-human health effects, resource depletion-water and resource depletion- mineral, equals 2.5TE+00 kgCOzo 5.79E-01 mol Ho 1.94E-01 kg U235,, 3.36E-04 m water, and 1.62E-01 kgSb, respectively. It can be noted that more than 50% of total impact evaluation was caused by the manufacturing process. Moreover the resource depletion accounted for more than 95% of total significant impacts. Therefore the cleaner technology was conducted to evaluate the consumption of resource and energy in the production process. The priority of environmental aspects and solution procedure have been investigated. The consumption of water, electricity and fuel oil are prioritized aspects should be improved in their efficiencies respectively. The guideline for water consumption may select of high pressure water injection accessory instead of the cleaning by manual hand operation which could reduce the water uses as 19%. The reduction in use of electricity may involve the heat exchange between normal temperature raw water and cooler wastewater from the cooling system to reduce the load on the cooling system as 65%. While and the proportion of 60:40 ratio of fuel oil and glycerin that could reduce fuel oil by 40%. After improve the manufacturing process by using the guideline mentioned above, it could lead to 33% of PEF reduction.
Abstract(Thai): การประเมินฟุตพรินต์สิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ใด เป็นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยพิจารณาผลกระทบทุกด้านในวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ผลิตภัณฑ์ปูกระป๋องพาสเจอร์ไรซ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเพื่อการส่งออกในสัดส่วนที่สูงและเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ซึ่งการ ส่งออกไปขายยังต่างประเทศมีความจำเป็นต้องใช้มาตรวัดผลกระทบวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการประเมินผลิตภัณฑ์ การศึกษานี้ใช้วิธี The International Reference Life Cycle Data System (ILCD)โดยจัดการประเมินผลกระทบไว้ 14 ด้าน แนวทางการประเมินฟุตพรินต์สิ่งแวดล้อมผลิตภัณฑ์ปูกระป๋องพาสเจอร์ไรซ์ พิจารณาตั้งแต่การจับปูจนถึงกระบวนการผลิตในโรงงาน (cradle to gate) ผลการศึกษาผลกระทบจากกระบวนการผลิต พบว่ามีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญพียง 5 ด้านจากทั้งหมด 14 ด้านได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศมีค่าผลกระทบเท่ากับ 2.57E+00 kgCO, ภาวะฝนกรดที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพดินมีค่าผลกระทบเท่ากับ 5.79E-01 mol Hf การปล่อยกับมันตรังสีที่ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์มีค่าผลกระทบเท่ากับ 1.945-01kg U235 *การลดลงของทรัพยากรน้ำ 3.36E-04 m' H,0., และการลดลงของทรัพยากร 1.62E-01 kgsb โดยพบว่าผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่าร้อยละ 50 มาจากกระบวนการผลิตในโรงงาน และประเด็นการลดลงของทรัพยากร มีสัดส่วนมากกว่า 95% ของผลกระทบที่มีนัยสำคัญทั้งหมด ดังนั้นการศึกษานี้จึงนำหลักการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาดมาทำการประเมินการใช้ทรัพยากรและพลังงานในกระบวนการผลิตของโรงงาน เพื่อจัดลำดับความสำคัญของประเด็นปัญหาและหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่าลำดับของปัญหาที่ต้องทำการปรับปรุงคือ ปริมาณการใช้น้ำเป็นลำดับ 1 พลังงานไฟฟ้าเป็นลำดับ 2และน้ำมันเตาป้อนหม้อไอน้ำเป็นลำดับ 3 การใช้น้ำอาจใช้เทคนิควิธีการใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับทำความสะอาดทดแทนการตักราดจากถังน้ำสำรอง ซึ่งสามารถลดการใช้น้ำของโรงงานได้ 19% ส่วนการลดการใช้พลังงานไฟฟ้านั้นอาจใช้การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำดิบอุณหภูมิปกติกับน้ำทิ้งจากระบบทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่ามาก เพื่อลดภาระระบบทำความเข็น สามารถลดการใช้ไฟฟ้าของโรงงานได้ 65% และการปรับสัดส่วนการใช้น้ำมันเตากับกลีเซอรีน ในสัดส่วน 60:40 สามารถลดการใช้น้ำมันเตาได้ 40% ตามแนวทางที่เสนอแนะทั้งหมดจะสามารถนำไปสู่การลดก่าฟุดพรินด์สิ่งแวดล้อมผลิตภัณฑ์ได้ร้อยละ 33%
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12698
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
423580.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.