กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12696
ชื่อเรื่อง: ผลของปริมาณและสัดส่วนระหว่างธาตุโพแทสเซี่ยมและแมกนีเซียมต่อการเจริญเติบโตของต้นยางเล็ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Quantity and Ratio of Potassium to Magnesium on Growth of Rubber Tree Sapling
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเป็น อ่อนทอง
ภัทรานิษฐ์ คงมาก
Faculty of Natural Resources (Earth Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์
คำสำคัญ: ดิน การวิเคราะห์;ดิน ปริมาณโพแทสเซียม;ดิน ปริมาณแมกนีเซียม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Negative interaction between potassium (K) and magnesium (Mg) is severe. Optimum nutrient management must be considered both quantity and nutrient balance. Effects of quantity and ratio of potassium to magnesium on growth of rubber tree sapling were studied. This study consisted of 2 experiments. The first experiment was to study status and K/Mg ratio in soils and rubber leaves. The soils and leaves were collected from rubber plantations in lowland and upland areas in Songkhla province for analysis of K and Mg. The values were compared with the standard level. The second experiment was to study effects of quantity and ratio of potassium to magnesium on growth of rubber tree sapling. Rubber tree saplings were planted in soil containing quantity of K and Mg 72:16, 72:36, 108:36, 180:36 and 180:60 mg kg* (K/Mg ratio as 4.5:1, 2:1, 3:1, 5:1 and 3:1 respectively) The results showed that available K and Mg in lowland and upland soil were low as same as total K in leaf and the available K in lowland soil was lower than upland soil, in contrast to the available Mg. However, leaf Mg was high. Average of available K/Mg ratio in lowland soil was lower than upland soil, 2.87 and 6.99 respectively. But the total K/Mg ratio in leaves of rubber grown in lowland areas was higher than upland areas, 3.87 and 3.25 respectively. Appling K at rate of 72, 108 and 180 mg ks increased leaf K concentration but decreased concentration of Ms and Ca. While applying 72 mg kg and Ms 36 mg ks (K:Mg ratio; 2:1) gave highest plant growth and nutrient uptake (N, P, K, Mg, Ca and S) of rubber tree sapling. This quantity and ratio of K and Mg are important for K and Mg management in rubber growing soils. Thus, rubber plantation areas should be applied K fertilizer at 40-72 mg kg while Mg is more than 36.45 mg KS* or ratio of K and Mg at 2:1
Abstract(Thai): โพแทสเซียมและแมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอันตรกิริยาเชิงลบที่รุนแรงต่อกัน ในการ จัดการด้านธาตุอาหารให้เหมาะสมจำเป็นต้องคำนึงถึงปริมาณและความสมดุลของธาตุทั้งสอง จึง ศึกษาปริมาณและสัดส่วนระหว่างธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมต่อการเจริญเติบโตของต้นยางเล็กการศึกษาประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาสถานะและสัดส่วนของธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในดินและในใบยางพารา โดยการเก็บตัวอย่างดินและใบของยางพาราที่ปลูกในที่ลุ่มและ ที่ดอนในจังหวัดสงขลา นำมาวิเคราะห์ธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียม นำค่าที่วิเคราะห์ได้ไปเทียบกับ ค่าที่เหมาะสมและหาสัดส่วนของธาตุทั้งสองทั้งในดินและในใบยางพารา และการทดลองที่ 2 ศึกษาปริมาณและสัดส่วนระหว่างธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมต่อการเจริญเติบโตของต้นยางเล็ก โดยการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์และคีเซอร์ไรต์ให้มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมปริมาณ 72:16, 72:36, 108:36, 180:36 และ 180:60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (สัดส่วน 4.5:1, 2:1, 3:1, 5:1 และ 3:1 ตามลำดับ) ผลการทดลองพบว่า ในแปลงปลูกยางพาราที่ลุ่มและที่ดอนส่วนใหญ่มีโพแทสเซียม และแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินและโพแทสเซียมทั้งหมดในใบอยู่ในระดับต่ำ โดยโพแทสเซียมในแปลงที่ลุ่มต่ำกว่าในที่ดอน แต่แมกนีเซียมในที่ลุ่มสูงกว่าที่ดอน ในขณะที่แมกนีเซียมทั้งหมดในใบอยู่ในระดับสูง แปลงในที่ลุ่มมีสัดส่วนของโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในดินต่ำกว่าที่ดอน โดยมีค่าเฉลี่ย 2.87 และ 6.99 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในใบสูงกว่าที่ดอนโดยมีค่าเฉลี่ย 3.87 และ 3.25 ตามลำดับ การใส่โพแทสเซียมในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจาก 72 เป็น 108 และ 180 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม ทำให้มีความเข้มข้นของธาตุโพแทสเซียมในใบเพิ่มขึ้น แต่แมกนีเซียมและแคลเซียมกลับลดลงในขณะที่การใส่โพแทสเซียมปริมาณ 72 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับแมกนีเซียมปริมาณ 36 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม (สัดส่วน 2:1) ทำให้ต้นยางเล็กมีการเจริญเติบโตในส่วนเหนือดินและส่วนราก และมีการดูดใช้ธาตุอาหาร (N, P, K, Mg, Ca and S) สูงสุด ดังนั้น การจัดการด้านธาตุอาหารในดินปลูกยางพาราควรคำนึงถึงปริมาณและสัดส่วนระหว่างธาตุโพแทสเซียมและแมกนี้เซียมให้เหมาะสมกัน ซึ่งควรใส่ปุ่ยโพแทชให้มีปริมาณโพแทสเซียม 40-72 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่แมกนีเซียมควรใส่ให้มีปริมาณ >36.45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือใส่ในสัดส่วน 2:1
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรดิน)
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12696
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:542 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
423566.pdf1.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น