Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12689
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางสิ่งแวดล้อมของการผลิตถุงมือแพทย์โดยการประเมินวัฐจักรชีวิต |
Other Titles: | Enhancing Environmental Performance of Mrdical glove Process by Life Cycle Assessment |
Authors: | ปุญญานิช อินทรพัฒน์ ปาจรีย์ เอียดแก้ว Faculty of Environmental Management (Environmental Management) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม |
Keywords: | ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ การจัดการ;การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This research used the Life Cycle Assessment (LCA) tool to evaluate the environmental performance of Medical Glove Process by investigating the relationship between the subsystems of production and the effects of resources, energy and waste release. Results from the study can be used for seeking options for reducing the environmental impact. The functional unit was focused on one box of medical grove containing 100 pieces with 85#5 width 230 mm long. Cradle-to-Grave approach was used as the scope of this study, including from raw materials to the waste disposal. The data was collected by using the questionnaires and interviews to collect the primary and secondary data of the two rubber plantations, two latex factories and two medical gloves factories. The life cycle of medical glove was separated into 4 systems including the rubber planting system, latex production system, medical glove manufacturing system and medical glove removal system from a total of 28 activities. Five environmental impacts considered in this study included global warming, acidification, eutrophication, smog and human toxicity. The results indicated that medical glove production system have the highest contribution on environmental impact in the life cycle of one box medical gloves manufacturing comparing with other systems. The release of pollutants from electricity generation activity used electrical energy in line set of medical glove production caused the impact to global warming ratio of 96.24%, acidification ratio of 91.49%, smog ratio of 84.22% and human toxicity ratio of 89.51% by comparing with other activities in the life cycle of medical gloves production. Moreover, the manure fertilizer phosphorus (P) activities used as conditioner for the rubber trees in rubber trees growing systems caused the impact to eutrophication ratio of 43.51% by comparing with other activities in the life cycle of medical gloves production. Therefore, this evaluation the life cycle can offer the guidelines production improvement for reducing impact, which the manufactory should play an important role for reducing the use of electricity in the production process and fertilizer in the maintenance of rubber plantation. In addition, the results of this study can also be used in a planning decision of environmental operation for enhancing the production efficiencies -and environmental management of medical glove industry. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยใช้การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life cycle assessment. LCA) มาเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการดำเนินงานทางสิ่งแวดล้อมของการผลิตถุงมือแพทย์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างระบบย่อยของการผลิตกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน และการปล่อยของเสีย โดยผลจากการศึกษานำไปสู่การหาทางเลือกในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้น้อยลง โดยกำหนดหน่วยหน้าที่ (Functional uni) คือ ถุงมือแพทย์ 1 กล่อง 100 ชิ้น กร้าง 8545 มิลลิเมตร ขาว 230 มิลลิเมตร มีขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์จนถึงการกำจัดหลังหมดอายุการใช้งาน (Cradle to grave approach) โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ในการเก็บรวมรวมข้อมูลปฐมภูมิ และทุดิยภูมิของแปลงปลูกยางพารา 2 แปลง โรงงานผลิตน้ำยางข้น 2 โรงงาน และโรงงานผลิตถุงมือแพทย์ 2 โรงงาน แบ่งการ พิจารณาทั้งวัฏจักรออกเป็น 4 ระบบ คือ ระบบการปลูกยางพารา ระบบการผลิตน้ำยางข้น ระบบการผลิตถุงมือแพทย์ และระบบการกำจัดถุงมือแพทย์ โดยมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งวัฏจักรชีวิตรวม 28 กิจกรรม โดยผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ศึกษามี 5 ประเภท คือ การเกิดสภาวะโลกร้อน สภาวะหมอกพิษ สภาวะฝนกรด สภาวะการแพร่กระจายของพืชน้ำ และสภาวะความเป็นพิษต่อมนุษย์ผลการศึกษา พบว่า ระบบการผลิตถุงมือแพทย์ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมมาก ที่สุดในวัฏจักรชีวิตการผลิตถุงมือแพทย์ 1 กล่อง เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ โดยมีการปล่อยมลสารจากกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าที่ต้นทาง เพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการเดินระบบของชุดการผลิตถุง มือแพทย์ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสภาวะโลกร้อน คิดเป็นสัดส่วน 96.24% สภาวะฝนกรด คิดเป็น สัดส่วน 91.49% สภาวะหมอกพิษ คิดเป็นสัดส่วน 84.22% และสภาวะความเป็นพิษด่อมนุษย์ คิดเป็นสัดส่วน 89.51% เมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่นๆ ในวัฏจักรชีวิดการผลิตถุงมือแพทย์ นอกจากนี้กิจกรรมการใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสในการบำรุงรักษาต้นยางพาราของระบบการปลูกยางพารา ยังส่งผลกระทบด้านสภาวะการแพร่กระจายของพืชน้ำ คิดเป็นสัดส่วน 43.51% เมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่นๆในวัฏจักรชีวิตการผลิตถุงมือแพทย์ ดังนั้น จากการประเมินวัฏจักรชีวิตดังกล่าวสามารถนำเสนอ แนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยในส่วนของโรงงานผลิต ถุงมือแพทย์ควรให้ความสำคัญกับการหามาตรการลดใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนผลิต ขณะที่การปลูกยางพารา ควรพิจารณาปริมาณการใช้ปุ๋ยในการบำรุงรักษาให้เหมะสม นอกจากนี้ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลวางแผนประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานทางสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมถุงมือแพทย์ต่อไป |
Description: | วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12689 |
Appears in Collections: | 820 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
423533.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.