Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12591
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วินีกาญจน์ คงสุวรรณ | - |
dc.contributor.author | ศิรันยา รอดเจริญ | - |
dc.date.accessioned | 2020-02-11T08:39:40Z | - |
dc.date.available | 2020-02-11T08:39:40Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12591 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 | en_US |
dc.description.abstract | This quasi-experimental research, two-group pretest-posttest design, aimed to examine the effect of a self-guided cognitive behavioral modification program on self-esteem and depression of elders with major depressive disorder. Participants comprised 60 elders with major depressive disorder who were outpatients at the geriatric psychiatry clinic, Suansaranrom Hospital. They were selected using purposive sampling. Thirty participants were assigned to the experimental group receiving the self-guided cognitive behavioral modification program and thirty participants were assigned to the control group receiving usual care. The research instruments consisted of (1) Demographic questionnaire, (2) Self-esteem Scale, (3) Thai Geriatric Depression Scale, and (4) The Self-guided Cognitive Behavioral Modification Program based on the conceptual framework of cognitive behavioral therapy by Beck (2011) and literature reviews. Each participant attended three sessions conducted over a total duration of four weeks. All research instruments were checked for content validity by three experts and tested in subjects with similar characteristics to those of participants. The reliability of the Self-esteem Scale was tested using Cronbach's alpha Coefficient, yielding a value of 85 and the Thai Geriatric Depression Scale was tested using Kuder-Richardson 20, yielding a value of .87. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and chi-square. The mean difference of self-esteem score and depression score were analyzed using paired t-test and independent t-test. The results revealed that: 1. After completing the program, the experimental group had a mean score of self-esteem significantly higher than that before participating in the self-guided cognitive behavioral modification program (p <.001) and significantly higher than that of the control group (p <.001) 2. After completing the program, the experimental group had a mean score of depression significantly lower than that before participating in the self-guided cognitive behavioral modification program (p <.001) and significantly lower than that of the control group (p = .005) The finding shows that the self-guided cognitive behavioral modification program could increase self-esteem and decrease depression of elders with major depressive disorder. Therefore, nurses could utilize the program to enhance self-esteem and decrease depression symptoms of elders with major depressive disorder. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.subject | ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การดูแล | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า | en_US |
dc.title.alternative | The Effect of Self-guided Cognitive Behavioral Modification Program on Self-esteem and Depression of Elders with Major Depressive Disorder | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Nursing (Psychiatric Nursing) | - |
dc.contributor.department | คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช | - |
dc.description.abstract-th | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อความรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็น โรคซึมเศร้าและมารับบริการแบบผู้ป่วยนอกที่คลินิกจิตเวชผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จํานวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กําหนด โดยกลุ่มทดลอง จํานวน 30 คน ได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเอง และกลุ่มควบคุมจํานวน 30 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (3) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย และ โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการบําบัด ทางความคิดและพฤติกรรมของเบค (Beck, 2011) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม มีการดําเนิน 3 กิจกรรม รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ท่าน และทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง ตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธ์อัลฟา ของครอนบาคได้เท่ากับ .85 ส่วนแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย หาค่าความเที่ยง ด้วยสูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน 20 (KR - 20) ได้เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติไคสแควร์ รวมทั้ง เปรียบเทียบผลการศึกษาโดยใช้สถิติทีคู่ (paired t-test) และสถิติที่อิสระ (independent t-test) ซึ่งสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. กลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองมีค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้การพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) 2. กลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ย คะแนนภาวะซึมเศร้าต่ํากว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) และต่ํากว่า กลุ่มควบคุมที่ได้การพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .005) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม ด้วยตนเองสามารถเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็น โรคซึมเศร้าได้ ดังนั้นพยาบาลควรนําโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าสําหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าต่อไป | - |
Appears in Collections: | 647 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
436804.pdf | 5.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.