Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12564
Title: | แนวทางการพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางพาราสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) ในอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | Guidelines for Developing Rubber Farmers to Become Smart Farmer in Natawee District, Songkhla Province |
Authors: | บัญชา สมบูรณ์สุข ปาริฉัตร รุ่งเรืองณัฐกุล |
Keywords: | ผู้นำเกษตรกร;เกษตรกร การรวมกลุ่ม;ชาวสวนยางพารา;การพัฒนาการเกษตร |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This study aimed to 1) examine conditions of economy, society, and production management of rubber farmer households; 2) find out motivation of being smart farmers of rubber farmers; 3) analyze factors that influence on motivation of entering to be smart farmers; and 4) look for guidelines for developing farmers to be smart farmers in Natawee district, Songkhla province. Data collection was carried out by a structured interview with a sample group of 370 farmers. Mean, percentage, standard deviation, and multiple regression were used for data analysis. The results of this study indicated that rubber farmers had an average age at 48.19 years, had the major career of working with rubber plantations, earned an average income from rubber plantations at 9,040.82 baht/month, and had experiences of working with rubber plantations at an average of 19.49 years. For the whole picture of the opinion level related to the motivation of entering to be smart farmers, the study found that farmers rated at a high level (x=3.62). For the results of predicting equation with 15 independent variables which might influence on the motivation of entering to be smart farmers of rubber farmers, the study found that only 7 independent variables that influenced on opinions related to motivation. The positively related variables were level of education, the experience of rubber plantation, saving of household, debts of household, being members of groups, and the quantity of production. The negatively related variables were the having an heir to carry on rubber plantation career, saving of household and debts of household, at 0.05 statistically significant level. In addition for the study of opinion of the possibility of rubber farmers of entering to be smart farmers, the study found that farmers in the studied area were in the group of developing smart farmer for 48.38% who had yet to reach for the income qualification and other 6 basic qualification indicators. These studied results reflect guidelines for developing farmers of entering to be smart farmers that are 1) building acknowledgment for farmers, 2) evaluating and analyzing potential and including capability of farmers for classifying farmers in to proper group and developing farmers successively, 3) training to provide knowledge of how to increase more incomes, to reduce the production cost, to manage production with standard measure, to encourage of being leadership for farmers, etc., 4) supporting of grouping in the community, and 5) creating the prototype of success or learning resource in the community. These will be seen that farmers are the core center of developing the agricultural sector to create "Stability, Wealthy, and Sustainability". |
Abstract(Thai): | จังหวัดสงขลา งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการ ผลิตของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพารา 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเป็นเกษตรกรอัจฉริยะของ เกษตรกรชาวสวนยางพารา 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเข้าสู่การเป็นเกษตรกร อัจฉริยะ และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะในอําเภอนาทวี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร จํานวน 370 ตัวอย่าง ทําการวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) และทําการวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางพารามีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 48.19 ปี ทําสวนยางพาราเป็นอาชีพ หลัก โดยมีรายได้จากการทําสวนยางพาราเฉลี่ย 9,040.82 บาทต่อเดือน มีประสบการณ์การทํา สวนยางพาราเฉลี่ย 19.49 ปี ในส่วนของระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการเข้าสู่การเป็น เกษตรกรอัจฉริยะ ในภาพรวมพบว่า เกษตรกรมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x = 3.62) และ ผลการศีกษาสมการพยากรณ์ตัวแปรที่ส่งผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการเข้าสู่การเป็น เกษตรกรอัจฉริยะของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจากตัวแปรอิสระทั้ง 15 ตัวแปร มีตัวแปรอิสระ จํานวน 7 ตัวแปร ที่ส่งผลต่อคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ เชิงบวก ได้แก่ ระยะเวลาในการศึกษา ประสบการณ์การทําสวนยางพารา รายได้จากการทําสวน ยางพารา การเป็นสมาชิกกลุ่มใดๆ และปริมาณผลผลิต ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ อายุ ของเกษตรกร การมีทายาทสืบทอดอาชีพทําสวนยางพารา และการสนับสนุนจากภาครัฐ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ จากการศึกษาความคิดเห็นของความเป็นไปได้ของเกษตรกรชาวสวน ยางพาราในการก้าวเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ พบว่า เกษตรกรในพื้นที่ศึกษาอยู่ในกลุ่ม Developing Smart Farmer (ร้อยละ 48.38) ซึ่งยังเข้าไม่ถึงคุณสมบัติทางด้านรายได้ และตัวบ่งชี้ ของคุณสมบัติพื้นฐานทั้ง 6 ประการ ผลการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนา เกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ ได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกร 2) การประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพ รวมถึงขีดความสามารถ ของเกษตรกร เพื่อทําการจัดกลุ่มเกษตรกรและทําการพัฒนาเกษตรกรเป็นลําดับไป 3) การจัดอบรม ให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องของการเพิ่มรายได้และการลดต้นทุนการผลิต การจัดการการผลิตที่ได้ มาตรฐาน การเสริมสร้างความเป็นผู้นําให้แก่เกษตรกร เป็นต้น 4) การสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม ภายในชุมชน และ 5) การสร้างต้นแบบความสําเร็จ หรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จะเห็นได้ว่า เกษตรกร คือ ศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตรให้เกิด “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12564 |
Appears in Collections: | 520 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
435429.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.