Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12532
Title: การจัดการท่องเที่ยวสีเขียวในอำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
Other Titles: Green Tourism Management in Manang District, Satun Province
Authors: ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
อภินาท พรหมทรัพย์
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มะนัง (สตูล)
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research is to study the past and present situation of tourist attractions and Tourism Management in the area of Manang District,Satun Province. The study focuses on factors affecting green tourism management the area. Quantitative and qualitative method are used to understand the characteristic of the tourists which 400 people, obtain from sampling without using Non-probability, and quota sampling method. Finally, using random sampling was Accidental Sampling by collecting data from the tourists with statistical analysis for frequency, percentage, mean, S.D., t-test, F-test (one-way ANOVA) and Pearson's Correlation Coefficient and 2) Qualitative Research. The sample is the villagers in the area, Related government authorities, guide entrepreneurs and conservative club, who know the local information well (Key Informants). Through, the sampling methods 92 people were selected and in-depth interview. The statistical analysis of the data, includes content analysis and analytical description. This project was to focus on the development of tourism network, linking the friendly tourism environment and seeking guidelines to promote the quality of life and incomes. Tourists are mostly female with the percent of 57.2%,age 21-30 years 34.7%, single 51.0%, graduated with a bachelor's degree 33.3 %, business 23.5%, income 5,000 - 15 000 bath 35.5% perceive the cave 45.7%. Satisfaction in travel route, Manang District, Satun Province. personal factors, there are age, marital status, education level and occupation and income is satisfaction significantly. Expectations trails in Manang District, Satun is the highest perfection and beauty of nature. 19.8% of what needs to be improved to the development of cultural tourism district of Manang is the cleanup. 30.8 % of what was expected to have to deal with tourism, eco-tourism, green is the highest. Most tourists accounted for 29.1% of demand or expect a return in Manang district. In the study of GreenTourism Management in Manang District,Satun Province. The concept of 7 Green to guide the management of green tourism in Manang District, Satun emphasis on the attraction. The second is the green heart, green activity, green community, green logistics, green service and green plus. Green tourism in manang district, to create awareness, and PR to main tourist cruise 7 sources in the area as a tourism concept 7 Green and reflections from tourists in foreign issues, improve. Manang district construction is under the green tourism activities, define the path and branded attraction that is unique in the area.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์จากอดีตถึงปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยวกับ การจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล ศึกษาปัจจัยและแนวทางที่มีผลต่อการจัดการ ท่องเที่ยวในพื้นที่อําเภอมะนัง จังหวัดสตูลและศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวสีเขียวในอําเภอ มะนัง จังหวัดสตูล การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกําหนด กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล จํานวน 400 คน ได้มา จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเจาะจงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) โดยกําหนดโควตานักท่องเที่ยวที่เข้ามา ท่องเที่ยว และสุดท้ายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยเก็บรวบรวม ข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบจําแนกทางเดียว (One - way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient) และ 2) การศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดย กําหนดตัวอย่างเป็นชาวบ้านในพื้นที่ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการ และชมรม อนุรักษ์ คือผู้ที่รู้ข้อมูลในท้องถิ่นเป็นอย่างดี (Key Informants) รวมทั้งสิ้น 92 คน ผู้วิจัยเลือกการ สัมภาษณ์แบบเชิงลึก นําข้อมูลที่ได้มาทําการเรียบเรียงข้อมูลเป็นเชิงพรรณนาโดยใช้การวิเคราะห์เชิง เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์จากอดีตถึงปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยวกับการจัดการ ท่องเที่ยวในพื้นที่อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล ให้ความสําคัญในการสร้างรูปแบบการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวโดยใช้เครือข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อ ท้องถิ่นทั้งการกระจายรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ อําเภอมะนัง จังหวัดสตูล พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.2 มีอายุ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.7 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 51.0 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อย ละ 33.3 ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 23.5 มีรายได้ต่อเดือน 5,000 - 15,000 บาท คิด เป็นร้อยละ 35.5 ส่วนใหญ่รับรู้เส้นทางถ้ําภูผาเพชร คิดเป็นร้อยละ 45.7 ความพึงพอใจต่อเส้นทาง ท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับน้อย ความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยว จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า อายุ สภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพและระดับรายได้ต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความคาดหวังต่อเส้นทางท่องเที่ยวคือด้าน ความสมบูรณ์และความสวยงามของธรรมชาติสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 19.8 สิ่งที่ต้องการให้มีการ ปรับปรุงเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของคือด้านความสะอาด คิดเป็นร้อยละ 30.8 สิ่งที่ คาดหวังให้มีการจัดการท่องเที่ยวเชิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคือด้านแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว คิดเป็น ร้อยละ 29.1 นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความต้องการหรือคาดหวังเดินทางกลับมาท่องเที่ยวในอําเภอ มะนัง คิดเป็นร้อยละ 44.5 ในการศึกษาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวในอําเภอมะนัง จังหวัดสตูล มีการนําแนวคิด ของ 7 Green มาเป็นรูปแบบในการศึกษาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวในอําเภอมะนัง จังหวัดสตูล โดยให้ความสําคัญในด้านแหล่งท่องเที่ยวมาเป็นลําดับที่หนึ่ง รองลงมาคือด้านหัวใจสีเขียว ด้านกิจกรรม ด้านชุมชน ด้านการเดินทาง ด้านการบริการและน้อยที่สุดคือด้านความรับผิดชอบ การท่องเที่ยวสีเขียว ในพื้นที่อําเภอมะนัง เพื่อสร้างการตระหนักรู้และการประชาสัมพันธ์แหล่องท่องเที่ยว 7 แหล่ง ในพื้นที่ ให้เป็นการท่องเที่ยว ตามแนวคิด 7 Green และภาพสะท้อนจากนักท่องเที่ยวในปัญหาด้านต่างๆ มา ปรับปรุง สร้างให้ อําเภอมะนัง เป็นการท่องเที่ยวสีเขียวภายใต้การทํากิจกรรมกําหนดเส้นทางและตรา แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่
Description: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12532
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
423534.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.