กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12529
ชื่อเรื่อง: ผลลัพธ์ของการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบนัดล่วงหน้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Outcomes of Postoperative Pain Management Among patient Receiving Elective Surgery
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: หทัยรัตน์ แสงจันทร์
ภัคธิดา มหาแก้ว
Faculty of Nursing (Medical Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
คำสำคัญ: ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม;การระงับปวด
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The purpose of this descriptive study was to investigate the outcomes of postoperative pain management among patients receiving elective surgery in a tertiary hospital of southern, Thailand. The purposive sample consisted of 88 patients who undergone elective surgery. The data were collected using a set of questionnaire including: (1) the Demographic Data and Illness History Sheet, (2) the Post-operative Pain Management Perception Questionnaire, (3) the Postoperative Pain Intensity Assessment, (4) the Impact of Post-operative Pain Questionnaire, and (5) the Post-operative Pain Management Satisfaction Questionnaire. The content validity was verified by 3 experts. The reliability of the Post-operative Pain Management Perception Questionnaire was examined and yielded the Kuder-Richardson-20 of .83. The reliability of the Impact of Post- operative Pain Questionnaire and the Post-operative Pain Management Satisfaction Questionnaire were examined and yielded the Cronbach's alpha coefficient of .92 and 1.00 respectively. The data were analyzed using descriptive statistics, and Spearman Rank Correlation. The results of the study were as follows: 1. The mean score of post-operative pain management perception of the subjects was at a high level (M - 26.14, SD = 2.50). 2. The mean score of pain intensity of the subjects was at a high level (M - 7.59, SD = 2.04) and decreasing to at a moderate level (M = 5.89, SD = 1.91) and at a mild level (M - 3.58, SD = 1.38). 3. On day-l post-operation, the impact of pain was at a high level, particularly the dimensions of daily activity (Mdn - 8.00, IQR - 3.00), sleeping (M - 6.39, SD = 2.71), walking (Mdn - 8.00, IQR - 4.00), mobility (Mdn - 7.00, IQR - 2.00). and anxiety (M- 6.13, SD - 344). On day-2 post-operation, the impact of pain was at a moderate level, particularly the dimensions of daily activity (M - 5.58, SD - 2.45), sleeping (M - 4,66, SD - 2.44), and walking (M = 4.42, IQR = 2.68). On day-3 post-operation, the impact of pain was at a mild level, particularly the dimensions of daily activity (M - 2.71, SD = 2.37) and walking (Mdn = 2.00, IOR = 3.00). 4. The mean score of post-operative pain management satisfaction of the subjects was at a high level (Mdn - 3.00, IQR = 1.00) 5. Correlation analysis showed that there were significantly positive correlation between the post-operative pain management perception and the post-operative pain management satisfaction (r = 25, p < 05), and between the post-operative pain intensity and the impact of post-operative pain (r = 48, p < .01). The research findings showed that the outcomes of post-operative pain management were at a high level based on the perception of the patients. However, the pharmacological pain management should be improved. In case of severe pain, nurse should reassess and notify the physician for increasing the effectiveness of post-operative pain management.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการความปวด หลัง ผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับผ่าตัดแบบนัดล่วงหน้าในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ กลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 85 ราย ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการเจ็บป่วย (2)แบบสอบถามการรับรู้การจัดการความปวดของผู้ป่วย (3) แบบประเมินความรุนแรงของความปวดหลัง ผ่าตัด (4)แบบสอบถามผลกระทบของความปวดหลังผ่าตัด และ (s) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการ จัดการความปวดหลังผ่าตัด ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงด้วยสูตร Kuder-Richardson 20 (KR-20) ของแบบสอบถามการรับรู้การจัด การความปวด ได้ค่าเท่ากับ .83 ทดสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แอลฟ่าของ ครอนบาร์ค (Cronbach Alpha's coefficient) ของ แบบสอบถามผลกระทบของความปวดหลังผ่าตัด และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ได้เท่ากับ .92 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การจัดการความปวดหลังผ่าตัด กับความรุนแรงของความปวด ผลกระทบของความปวด และความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดหลังผ่าตัด โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Speaman Rank Corrlation) ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์การจัดการความปวดหลังผ่าตัด มีดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้การจัดการความปวดหลังผ่าตัดอยู่ใน ระดับมาก (M = 26.14, SD = 2.50) 2. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรุนแรงของความปวดหลังผ่าตัดวันที่ 1 วันที่ 2 และวันที่ 3 อยู่ในระดับมาก (M = 7.59, SD = 2.04) ปานกลาง (M = 5,89, SD = 1.91) และเล็กน้อย (M = 3.58, SD = 1.38) ตามลำดับ 3. หลังผ่าตัดวันที่ 1 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลกระทบของความปวดในระดับมากในด้านการทำกิจกรรมทั่วไป (Man = 8.00, IQR - 3.00) การนอนหลับ (M - 6.39, SD-2.71) การเดิน (Man = 8.00, IQR - 4.00) เคลื่อนไหว (Man = 7.00, IQR - 2.00) และความวิตก กังวล (M = 6.13, SD = 3.44) หลังผ่าตัดวันที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลกระทบของความปวดในระดับปานกลาง ในด้านการทำกิจกรรมทั่วไป (M = 5.58, SD = 2.45) การนอนหลับ (M = 4.66, SD = 244) และการเดิน (M = 4.42, IQR = 2.68) และหลังผ่าตัดวันที่ 3 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลกระทบของความปวดในระดับเล็กน้อยในด้านการทำกิจกรรมทั่วไป (M - 2.71, SD = 2.37) และการเดิน (Man = 2.00, IQR = 3.00) 4. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดการความปวดหลัง ผ่าตัดอยู่ในระดับมาก (Man = 3.00, IQR = 1.00) 5. การรับรู้การจัดการความปวดหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจต่อการ จัดการความปวดหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 25, P <.05) และความรุนแรงของความปวดหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลกระทบของความปวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .48, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์การจัดการความปวดอยู่ในระดับดีโดยผู้ป่วยรับรู้การจัดการความปวดและมีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ควรมีการจัดการความปวดโดยใช้ยาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และในกรณีผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีความปวดรุนแรงพยาบาลควรประเมินซ้ำและรายงานแพทย์เพื่อจัดความปวดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12529
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:646 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
419455.pdf1.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น