Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12517
Title: | ความต้องการสารสนเทศทางการเกษตรของเกษตรกรตำบลบางเหรียงอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | Needs of Agricultural Information of Farmers in Bang Riang sub-dristrict, khuan Niang district, Songkhla Province District, Songkhla Province |
Authors: | อภิญญา รัตนไชย เสาวณีย์ เล็กบางพง Faculty of Natural Resources (Agricultural Development) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร |
Keywords: | สารสนเทศทางการเกษตร ควนเนียง (สงขลา);ชาวสวน ควนเนียง (สงขลา) |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This research aims to study the demographical data, socio-economic factors, the vegetable production, the perception of agricultural information, the needs of agricultural information and the factors affecting the farmers' needs of agricultural information in Bang Riang sub-district, Khuan Niang district, Songkhla province. The population was 280 farmers who grew vegetables in Bang Riang sub-district, Khuan Niang district, Songkhla province. Calculation of sample size using Taro Yamane method at 95% confidence level. There were 165 samples. The data collection was implemented in March 2017 by using a structured interview and a Stepwise Multiple Regression Analysis to find out the factors affecting the farmers needs of agricultural information. The findings revealed that the sample was male more than female. The average age was 52.26 years old. They graduated primary education. The average years of experiences in growing vegetables were 20.33. The average numbers of family members were 4.19 people per family. The average use of labor people in growing vegetables was 2.08 people per family. The average area for growing vegetables was 1.43 rais per family. In average, there were 2.65 kinds of vegetables grown. The popular grown vegetables were chillies, green shallots, Chinese cabbages respectively. Most of the farmers were the members of a savings group. Last year, the farmers' average total income was 95,429.70 baht the 84,485.45 baht of which was their income from growing vegetables. The famers perceived agricultural information from neighbors, televisions, community leaders respectively. The average frequency of their perception on the agricultural information was 2 to 3 times per week. They used the agricultural information at the very high level (the mean value was 1.52) to mainly make their decision in proceeding agricultural activities more than any others. The farmers mostly needed the agricultural information about alternative agriculture personal media and mass media. The result of the hypothesis testing showed that the factors influencing the famers' needs of agricultural information were to perceive the information personal media and mass media and to gain benefit from the information. The value of positive influence toward the famers' needs of agricultural information was 0.01 statistically significant. Thus, appropriate information channels should be selected to distribute any agricultural information to the farmers in response to the famers' needs. Also, people who give out information should get developed while the mass media should be effectively improved to benefit the farmers' living and career development. |
Abstract(Thai): | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยเศรษฐกิจ ปัจจัยสังคมบางประการ สภาพการผลิตผัก การเปิดรับและการใช้ประโยชน์ข่าวสารทางการเกษตรความต้องการสารสนเทศทางการเกษตร ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลกับความต้องการสารสนเทศทางการเกษตรของเกษตรกร ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ประชากร คือ เกษตรกรปลูกผักในตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวน 280 คน คำนวณขนาดกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้วิธีของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 165 คนเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และใช้การ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับความต้องการสารสนเทศทางการเกษตรของเกษตรกร ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรกลุ่ม ตัวอย่างเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.26 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกผักเฉลี่ย 20.33 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.19 คน ใช้แรงงานครัวเรือนในการปลูกผักเฉลี่ย 2.08 คนต่อครัวเรือน มีพื้นที่ในการปลูกผักเฉลี่ย 1.43 ไร่ต่อครัวเรือนจำนวนชนิดของผักที่ปลูกเฉลี่ย 2.65 ชนิด ผักที่นิยมปลูก ได้แก่ พริก ต้นหอม และผักกวางตุ้งตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ในรอบปีที่ผ่านมาเกษตรกรมีรายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 95,429.70 บาท ซึ่งเป็นรายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 84,485.45 บาท เกษตรกรเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรผ่าน เพื่อนบ้าน โทรทัศน์ และผู้นำชุมชน ตามลำดับ มีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตร 2 -3 ครั้ง / สัปดาห์ ด้านการใช้ประโยชน์ข่าวสารทางการเกษตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 1.52) เป็นการใช้ประโยชน์ข่าวสารในการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรมากกว่าด้านอื่น เกษตรกรมีความต้องการสารสนเทศทางการเกษตรเกี่ยวกับการทำเกษตรทางเลือกผ่านสื่อบุคคลและสื่อมวลชนมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการสารสนเทศทางการเกษตรของเกษตรกร ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรผ่าน สื่อบุคคล การเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรผ่านสื่อมวลชน และการใช้ประโยชน์ข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกร ซึ่งมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความต้องการสารสนเทศทางการเกษตรของเกษตรกร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ดังนั้นการเผยแพร่ข่าวสารทางการเกษตรไปสู่เกษตรกรควรเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและตรงกับความต้องการของเกษตรกร นอกจากนี้ยังควร มีการพัฒนาศักยภาพของสื่อบุคคลและเพิ่มประสิทธิภาพของข่าวสารผ่านสื่อมวลชนให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาอาชีพของเกษตรกรได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12517 |
Appears in Collections: | 520 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
422682.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.