กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12512
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในแบรนด์สถาบันการศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Influencing Brand Loyalty Institutions A Study of Prince of Songkla University Hat Yai Campus
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมนา ลาภาโรจน์กิจ
ธีรนัย เจริญพานิช
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์;ความพอใจของผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research aimed to study factors influencing on brand loyalty institution. A case study of Prince of Songkhla University Hat Yai Campus. The 6 factors (brand trust, service quality, brand commitment, student satisfaction, brand image and perceived brand value) were investigate. A questionnaire was used as an instrument for collecting data. The participants consist of 351 senior students studying in the final academic year. The data were analyzed for the descriptive information by using frequencies, percentages, means, standard deviations, F-test, Person correlation coefficient and multiple regression analysis. The research found that without significant difference in brand loyalty of the students, regarding with different majors of their study. The factors both service quality and student satisfaction have not been affecting brand loyalty institution. These results have not related to the previous study indicating those factors are a significant influence on brand loyalty institution. The factors influencing on brand loyalty institution were ranked from most to least and sorted in descending as follows: brand commitment (B - 423), perceived brand value (B - 396), brand image (B - 242) and brand trust (B - 104), respectively. These factors could explain brand loyalty institution at 62.1%. The results of this study could be used as basic information for the management model and academic services efficiently also strengthen student loyalty on institutions to be sustainable. This is useful for developing educational systems, both academic and budgetary in order to adapt in accordance with the changing situation in the world.
Abstract(Thai): งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในแบรนด์ สถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีปัจจัยที่ศึกษา ทั้งหมด 6 ปัจจัย ประกอบด้วย คือ (1) ความไว้วางใจที่มีต่อแบรนด์สถาบันการศึกษา (2) คุณภาพการบริการของสถาบันการศึกษา (3) ความผูกพันที่มีต่อแบรนด์สถาบันการศึกษา (4) ความพึงพอใจของนักศึกษา (5) ภาพลักษณ์ของแบรนด์สถาบันการศึกษา (6) การรับรู้คุณค่าแบรนด์สถาบันการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่อยู่ในชั้นปีสุดท้ายจำนวน 351 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจงแจกความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายโดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่จำแนกตามสาขาวิชาแตกต่างกัน มีความภักดีในแบรนด์ สถาบันการศึกษาไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ค้นพบว่า คุณภาพการบริการของสถาบันการศึกษา และความพึงพอใจของนักศึกษา ไม่ส่งผลต่อความภักดีในแบรนด์สถาบันการศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างจากงานวิจัยอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่พบว่า ตัวแปร 2 ตัวนี้ จะส่งผลต่อความภักดีในแบรนด์สถาบันการศึกษา และพบมีตัวแปรที่ส่งผลต่อความภักดีในแบรนด์สถาบันการศึกษา ทั้งหมด 4 ตัวแปร เรียงลำดับจากตัวแปรที่มีผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ ความผูกพันที่มีต่อแบรนด์สถาบันการศึกษา (B = 423) การรับรู้คุณค่าแบรนด์สถาบันการศึกษา (B -396) ภาพลักษณ์ของแบรนด์สถาบันการศึกษา (B = 242) และความไว้วางใจที่มีต่อแบรนด์สถาบันการศึกษา (B=.104) ตามลำดับ ตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันอธิบายความภักดีในแบรนด์สถาบันการศึกษา ได้ร้อยละ 62.1 (Ri = 0.621) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลของข้อมูลมาเป็นพื้นฐานสำหรับรูปแบบการบริหารงาน และการให้บริการด้านงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความภักดีของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษาให้มีความชั่งยืน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีความแข็งแรงทั้งด้านวิชาการและงบประมาณ ให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (การตลาด))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
422701.pdf1.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น