Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12435
Title: | Cinnamomum porrectum herbal tea production and its functional properties influenced by odor types of leaves and blanching process |
Other Titles: | การผลิตชาสมุนไพรจากใบเทพทาโร และสมบัติเชิงหน้าที่จากผลของชนิดกลิ่นใบและการลวก |
Authors: | Worapong Usawakesmanee Phornthip Saetan Faculty of Agro-Industry (Food Technology) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร |
Keywords: | Essences and essential oils;Aromatic plants;Medicinal plants |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | Cinnamumum porrectum (Roxb.) Kosterm. with Thai name "Thep tharo", is an aromatic plant grown in Southern of Thailand. Nowadays, this plant is rapidly decrease because the wood and root were used to produce essential oils and handicraft products, so deforestation was occurred. From this problem, the Technology Research Centre of Forestry sector, Songkhla gave the preservative idea for increase the plantation. According to the lowest utilization of leaves since they provided a small amount of essential oils. However, the leaves are still interesting due to their aroma from the chemical constituencies in volatile oils. They were classified as root beer odor, cajuput odor, lemongrass with orange odor and flower with spice odor. The Technology Research Centre of Forestry Sector in Songkhla encouraged the local entrepreneurs to produce Theptharo leaves tea however, there are some problem such as lack of data about herbal tea production and scientific data especially the functional properties and the safety guarantee. So, the main point of this research was to study the process of Thep tharo herbal tea production starting with root beer odor and used the selected process for all 4 odors of Theptharo leaves. The nutritional composition, physiochemical properties, phenolic composition, total extractable phenolic content (TPC), total extractable flavonoid content (TFC), antioxidant activities, nitric oxide inhibition, the cytotoxicity on HEK293 and anti-colon cancer (HT-29 and Caco-2) of Theptharo tea extracts were analyzed. The effect of drying temperature and steeping time on C. porrectum herbal tea were studied (temperature; air-drying at 28-30 °C, hot air-drying at 50, 60, 70 and 100 °C compared with freeze-drying and steeping time; 5, 10, 20 and 30 min). The result indicated that drying at 60 °C provided the highest TPC and TFC when compared with 70 °C, 50 °C and 100 °C, respectively. The steeping time more than 10 min not effect on TPC and TFC (p>0.05). So, this drying temperature was selected to next study. The pre-treatment process was applied to the leaves due to (1) long drying time decreased antioxidant activities (2) the stalk of leaves gave the viscosity like gum in herbal tea infusion (3) cutting process induced enzyme activity. The result indicated that blanching can decrease the peroxidase (POD) and polyphenoloxidase (PPO) more than steaming when compared with the same time for 60 s. The TPC, TFC, DPPH and ABTS were significantly increased. Blanching not only increase the extractability but also decrease chlorophylls loss during drying process, keep the green color (-a*) and can eliminate safrole more than 89%. Blanching for 60 s was selected and applied into 4 odors of leaves compared with un-blanched herbal tea. The results indicated that the phenolic composition of all samples provided the 8 main compounds including pyrogallol, gallic acid, protocatechuic acid, catechin, caffeic acid, syringic acid, p-coumaric acid and rutin. Various odor types of leaves provided the same types of phenolics but different in contents. The highest of TPC was found in flower with spice odor. The cajuput odor provided the highest of DPPH, ABTS and FRAP. The root beer and lemongrass with orange odor gave a higher content of TPC, TFC, DPPH and FRAP in blanched sample when compared with un-blanched sample. In the cell culture studies, all herbal teas extract at concentration lower than 50 ug/ml had no toxicity on RAW264.7 cells (percentage of cell viability more than 80). The flower with spice odor (both blanched and un-blanched) and lemongrass with orange (blanched) provided a higher ability on NO inhibition more than positive control L-No-nitroarginine (L-NA) (IC50-30.21±1.48 μg/ml). In un-blanched group, the lemongrass with orange odor showed the lowest toxicity (CC50-922.76±50.11 μg/ml) on HEK293 cells. The cytotoxicity on HEK293 was decrease in blanched group. In un-blanched group, the cajuput odor provided the highest anti-colon cancer on HT- 29 (CC50-438.19±30.36 μg/ml) while the flower with spice odor and lemongrass with orange odor showed a higher cytotoxicity on Caco-2 cells. The conclusion from this study suggested that the root beer odor should be blanched before making herbal tea. The cajuput odor provided the highest of antioxidant activities and gave the highest anti-colon cancer on HT-29 cells. The lemongrass with orange odor and flower with spice odor provided a high ability on NO inhibition, higher toxicity on both colon cancer cells. |
Abstract(Thai): | เทพทาโร เป็นสมุนไพรและเป็นไม้หอมที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในภาคใต้ของ ประเทศไทย ในปัจจุบันพบว่ามีปริมาณการลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากปัญหาการตัดไม้ เพื่อ ต้องการนําเนื้อไม้และรากไปสกัดเอาน้ํามันหอมระเหยและนําไปทํางานแกะสลัก ทําให้วนอุทยาน ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยป่าไม้ ภาคใต้ จังหวัดสงขลา มีแนวคิดที่จะหาแนวทางการใช้ ประโยชน์จากใบเทพทาโรเพื่อการส่งเสริมการปลูก ใบเทพทาโรเป็นส่วนที่นํามาใช้น้อยที่สุด เนื่องจากให้น้ํามันหอมระเหยน้อย อย่างไรก็ตาม ใบมีความน่าสนใจเนื่องจากกลิ่นในใบมีความ แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลิ่น คือ กลิ่นจวง กลิ่นเสม็ด กลิ่นตะไคร้ส้ม และกลิ่น ดอกไม้ผสมเครื่องเทศ จากการสํารวจและสอบถามจากวิสาหกิจชุมชนพบว่า มีการนําใบเทพทาโร มาผลิตเป็นชาสมุนไพรเพื่อจําหน่ายในชุมชน แต่ยังขาดข้อมูลด้านวิธีการผลิต สมบัติทางชีวภาพ รวมทั้งข้อมูลความปลอดภัยของชาเทพทาโร ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ จึงศึกษากระบวนการผลิตชา เทพทาโรเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโดยเริ่มศึกษาใบเทพทาโรกลิ่นจวงซึ่งมีปริมาณมาก ที่สุด จากนั้นจึงนําสภาวะที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับใบทั้ง 4 กลิ่น โดยศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพ และเคมี สารประกอบฟีนอลิก ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การต้านการอักเสบ ความเป็นพิษต่อเซลล์ ไต (HEK293) และคุณสมบัติการด้านเซลล์มะเร็งลําไส้ใหญ่ (HT-29 และ Caco-2) ของน้ําชาจากใบ เทพทาโร จากการศึกษาผลของการทําแห้งใบเทพทาโรกลิ่นจวง เพื่อผลิตเป็นชาในสภาวะ การตากลมที่อุณหภูมิ 28-30°C การอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 60 70 และ 100 °C เปรียบเทียบกับการทํา แห้งแช่เยือกแข็งแบบระเหิด และระยะเวลาที่ใช้ในการสกัดน้ําชาที่ 5 10 20 และ 30 นาที พบว่าการ อบแห้งที่ 60 °C ให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก (TPC) และฟลาโวนอยด์ (TFC) สูงสุดเมื่อเทียบกับ อุณหภูมิ 70 °C 50 °C และ 100 °C ตามลําดับ จึงเลือกใช้อุณหภูมินี้ในการศึกษาผลของเวลาในการ สกัดน้ําชา พบว่าการสกัดน้ําชาโดยการแช่ใบชาเทพทาโรที่เวลามากกว่า 10 นาทีไม่มีผลต่อการ เพิ่มขึ้นของ TPC และ TFC (p>0.05) จึงได้มีการศึกษาการเตรียมใบก่อนอบแห้งโดยการลวกและนึ่ง เนื่องจาก (1) การอบแห้งทั้งใบใช้เวลานานทําให้สมบัติการต้านอนุมูลอิสระลดลง (2) แกนของใบทําให้น้ําชาหนืดคล้ายยาง (3) การตัดแกนและลดขนาดใบกลับส่งเสริมการทํางานของเอนไซม์ พบว่าการลวกใบชามีผลทําให้เอนไซม์เปอร์ออกซิเดสและพอลีฟีนอลออกซิเดสลดลงมากกว่าการ นึ่งใบชาเมื่อเปรียบเทียบที่เวลา 60 วินาทีเท่ากันและการอบแห้งเพียงอย่างเดียว พบว่าการลวกมีผล ทําให้น้ําชามีปริมาณ TPC TFC และ สมบัติการด้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) เมื่อวัดด้วยเทคนิค DPPH และ ABTS นอกจากนี้การลวกยังเพิ่มความสามารถในการสกัด ลดการ สูญเสียของคลอโรฟิลด์ ช่วยคงความเป็นสีเขียว (a) ในน้ําชาและลดปริมาณของซาฟรอลได้ถึง ร้อยละ 89 ในใบกลิ่นจวง การลวกเป็นเวลา 60 วินาที ถูกนําไปใช้ในใบทั้ง 4 กลิ่นเพื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่าง ที่ไม่ผ่านการลวก พบว่ากลิ่นที่แตกต่างกันมีองค์ประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน หากแต่มีปริมาณ แตกต่างกัน สารหลักในกลุ่มฟีนอลิกที่พบมี 8 ชนิด คือ ไพโรกาลลอล แกลลิคแอซิด โปรโตคาท ชูอิคแอซิด แคเทชิน คาเฟอิคแอซิด ไซรินจิคแอซิด พีคูมาริคแอซิดและรูทิน ใบเทพทาโรกลื่น ดอกไม้ผสมเครื่องเทศมีปริมาณ TPC สูงสุด จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าใบชากลิ่น เสม็ดมีสมบัติการด้านอนุมูลอิสระ DPPH, ABTS และ FRAP สูงที่สุด แต่ใบชากลิ่นจวงและตะไคร้ ส้มมีปริมาณ TPC TFC DPPH และ FRAP เพิ่มขึ้นในตัวอย่างที่ผ่านการลวกเมื่อเทียบกับตัวอย่างที่ ไม่ผ่านการลวก การศึกษาในเซลล์ไลน์พบว่าน้ําชาจากใบชาทั้ง 4 กลิ่นที่ผ่านและไม่ผ่านการลวกที่ ความเข้มข้นน้อยกว่า 50 ug/ml ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ RAW264.7 (การรอดชีวิตของเซลล์ มากกว่าร้อยละ 80) เมื่อศึกษาคุณสมบัติการยับยั้งการหลั่งในตริกออกไซด์ (NO) พบว่า การลวกใบ ชาสามารถเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ได้ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ใบชากลิ่นดอกไม้ผสมเครื่องเทศและกลิ่นตะไคร้ส้มมีความสามารถในการยับยั้ง NO ที่ดีกว่า แอล ไนโตรอาจินีน (สารควบคุม) ซึ่งมีค่า IC, 30.21+1.48 ug/ml เมื่อศึกษาผลของตัวอย่างน้ําชาต่อ เซลล์ไต (HEK293) ในตัวอย่างที่ไม่ลวกพบว่ากลิ่นตะไคร้ส้มมีความเป็นพิษต่อ HEK293 ต่ําที่สุด (CC, = 922.76±50.11 ug/ml) เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ลวก พบว่า การลวกลดความเป็นพิษต่อ เซลล์ไตอย่างมีนัยสําคัญ ตัวอย่างที่ไม่ลวกกลิ่นเสม็ดมีความสามารถในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลําไส้ ใหญ่ HT-29 cells สูงสุด (CC,,= 438.19#30.36 ug/ml) และ พบว่ากลิ่นดอกไม้ผสมเครื่องเทศและ กลิ่นตะไคร้ส้มมีความเป็นพิษต่อเซลล์ Caco-2 มากกว่ากลิ่นจวงและกลิ่นเสม็ด ดังนั้นบทสรุปที่ได้จากการทดลองคือ ใบชาเทพทาโรกลิ่นจวงควรนํามาลวกก่อน ทําชาเพื่อลดความเป็นพิษ ใบชากลิ่นเสม็ดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง HT-29 สูงสุด ใบชากลิ่นตะไคร้ส้มและกลิ่นดอกไม้ผสมเครื่องเทศมีความสามารถในการยับยั้งการ หลั่ง NO และสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลําไส้ใหญ่ทั้งสองชนิดได้ |
Description: | Thesis (Ph.D., (Food Science and Technology))--Prince of Songkla University, 2018 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12435 |
Appears in Collections: | 850 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
426776.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.