กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12283
ชื่อเรื่อง: | การจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนเกาะหลีเป๊ะตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Coastal Resource Management for Ecotourism of Koh Lipe Community, Tambon Koh Sarai, Amphoe Mueang, Changwat Satun |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บัญชา สมบูรณ์สุข ชฎารัตน์ บุญจันทร์ Faculty of Natural Resources (Tropical Agricultural Resource Management) คณะทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สตูล;เกาะหลีเป๊ะ (สตูล);เกาะสาหร่าย (สตูล) |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This research is intended to (1) Study the dynamics and current situation of coastal resources management in Koh Lipe community. (2) Synthesize the factors affecting the management of coastal resources for Ecotourism in Koh Lipe. (3) Synthetic forms of coastal resource management for ecotourism in Koh Lipe. (4) Propose ways to manage coastal resources to proper community ecotourism using the mixed research method. (1) The RRA (Rapid Rural Appraisal) alongside with a history of community, seasonal calendar, and spatial surveys to conduct a focus group discussion with 15 stakeholders in coastal resource management. (2) In- Depth interviews with 20 household random samples that can approach a specific vision linking coastal resources with ecotourism. These 2 sections uses qualitative analysis by interpreting and creating a conclusion by analytic induction model. (3) The questionnaire was collected from 205 households from village no.7 of Koh Lipe community to be used for analyzing quantitative data using descriptive statistics software. Results shows that (1) the dynamics of the community and the management of coastal resources in Koh Lipe can be divided into 4 periods according to the changes in the coastal resource utilization. (1.1) Settlements of Urak Lawoi in 1897 - 1907. (1.2) Announcement of Tarutao National Park in 1974. (1.3) Modification alternatives to career period in 1985 (1.4) The year of expansion of Koh Lipe tourism industry. The use of coastal resources currently being used to utilize the occupation and tourism. As a result, there is less animals along the coastal area, more intrusion into the fisheries near the coast. The inequality in catching fish near the park are, including the usurpation of fresh water in the dry season, no arable land, lack of forest and oil ships resulted subjective views of coastal water degradation. (2) The opinions of the community on the factors of coastal resource management at the high level are: (2.1) Consciousness for rehabilitation (2.2) Participants involved in coastal resource management must have a sufficient amount of time to make decisions about the activities and has the power to bargain. (2.3) Non- governmental organizations in the area must contribute to the drive for coastal management. (3) Synthetic forms of coastal resource management for proper ecotourism. The feedback from the awareness of the management of coastal resources for ecotourism for ecotourism of Koh Lipe community can be categorized in 3 as follows: (1) Ecotourism tourism culture (1.1) Chao Lay tourism (1.2) Culture and traditions tourism (1.3) Historical tourisms (2) Ecological tourism (2.1) Astronomy tourism (2.2) Ecotourism (3) Travel in special interests (3.1) Health tourism (3.2) Tourism in religious (3.3) Study travel on ethnic or minority groups (3.4) Business travel (3.5) Homestay - Travel The management of coastal resources for Ecotourism in Koh Lipe community is not quite appropriate due to lack of supporting factors in many aspects that contribute to the exploitation of coastal resources appropriately to make government is fully aware of the importance of knowledge system of the community. The acceptance of the community in monitoring the use of resources through beliefs, traditions, and to ensure that the communities can use their wisdom in the management of coastal resources that are available. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพลวัต และสถานการณ์การจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งในปัจจุบันของชุมชนเกาะหลีเป๊ะ (2) สังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนเกาะหลีเป๊ะ (3) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนเกาะหลีเป๊ะ (4) เสนอแนะแนวทางในการ จัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมของชุมชนเกาะหลีเป๊ะ ใช้ระเบียบวิธี วิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) (1) เทคนิค RRA (Rapid Rural Appraisal) ควบคู่ไปกับ การทําประวัติชุมชน ปฏิทินฤดูกาล การสํารวจเชิงพื้นที่ เพื่อนําไปการจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง จํานวน 15 คน (2) ทําการ สัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยวิธีสุ่มแบบเจาะจงผู้ที่สามารถมองภาพรวมการเชื่อมโยงทรัพยากรชายฝั่งกับ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ จํานวน 20 ครัวเรือน 2 ส่วนนี้ใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยการตีความ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic Induction) (3) เก็บแบบสอบถามกับประชากรทั้งหมดในหมู่ ที่ 7 บ้านเกาะหลีเป๊ะ จํานวน 205 ครัวเรือน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม สําเร็จรูปกับสถิติพรรณนา จากผลการศึกษาพบว่า (1) พลวัตของชุมชน และสถานการณ์การจัดการทรัพยากร ชายฝั่งเกาะหลีเป๊ะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรชายฝั่ง ดังนี้ (1.1) ยุคตั้งถิ่นฐานชาวเลอูรักลาโว้ย ประมาณปี พ.ศ. 2440 – 2450 (1.2) ยุค ประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ปี พ.ศ. 2517 (1.3) ยุคปรับเปลี่ยนอาชีพ และทางเลือกเพื่อการ ประกอบอาชีพ ปี พ.ศ. 2528 (1.4) ยุคขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์เพื่อการประกอบอาชีพ และการ ท่องเที่ยว ส่งผลให้สัตว์น้ําบริเวณชายฝั่งน้อยลง เกิดการบุกรุกเข้าทําประมงใกล้ชายฝั่งมากขึ้น เกิด ความไม่เท่าเทียมกันในการจับสัตว์น้ําบริเวณใกล้เขตอุทยาน รวมถึงเกิดการแย่งชิงน้ําจืดในฤดูแล้ง ไม่มีที่ดินทํากิน ขาดแคลนของป่า และน้ํามันเรือส่งผลทําให้วิสัยทัศของน้ําบริเวณชายฝั่งเสื่อมโทรม (2) ความคิดเห็นของคนในชุมชนต่อปัจจัยการจัดการทรัพยากรชายฝั่งในระดับมาก ได้แก่ (2.1) จิตสํานึกต่อการฟื้นฟู และดูแลทรัพยากรชายฝั่งเนื่องจากมีความผูกพันกันมายาวนาน (2.2) สมาชิกที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งต้องมีจํานวนมากพอกับการตัดสินใจใน การดําาเนินกิจกรรม และมีอํานาจในต่อรอง (2.3) องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ต้องมีส่วนในการ ขับเคลื่อนความคิดเห็นเพื่อนําไปการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (3) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสม ทั้งนี้จากความคิดเห็นในด้านความตระหนัก ถึงการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ คุณค่าของทรัพยากร ธรรมชาติ คุณค่าของทัศนียภาพ และคุณค่าของชุมชน สามารถสังเคราะห์การจัดการทรัพยากร ชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมของชุมชนเกาะหลีเป๊ะได้ 3 ประเภท (1) การท่องเที่ยว เชิงนิเวศวัฒนธรรม (1.1) การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวเล (1.2) การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและ ประเพณี (1.3) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (2) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางธรรมชาติ (2.1) การ ท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (2.2) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (3) การท่องเที่ยวในความสนใจ พิเศษ (3.1) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (3.2) การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (3.3) การ ท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (3.4) การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (3.5) การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ จากรูปแบบการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมของ ชุมชนเกาะหลีแป๊ะยังไม่สามารถเห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน เนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุนในหลาย ด้านที่ทําให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งอย่างเหมาะสม จําเป็นต้องให้หน่วยงานรัฐ เล็งเห็นความสําคัญของระบบความรู้ของชุมชน โดยให้การยอมรับอํานาจชุมชนในการควบคุมดูแล การใช้ทรัพยากรผ่านระบบความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และสร้างหลักประกันว่าชุมชน สามารถใช้ภูมิปัญญาของตนในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งที่มีอยู่ได้จริง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ ( ปร.ด. (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12283 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 550 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
426650.pdf | 8.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น