Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12276
Title: | การวิจัยเชิงประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนไม่ตรงวุฒิ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบไคโร (CIRO) |
Other Titles: | An Evaluation Research of the Proficiency Development of Non-direct Qualified Teacher in Three Southern Border Provinces Applying CIRO Evaluation Model |
Authors: | มัฮดี, แวดราแม นิรุสณา, เจ๊ะบู Faculty of Education (Measurement and Educational Research) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา |
Keywords: | ศักยภาพครู;สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนไม่ตรงวุฒิในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามรูปแบบการประเมินผลโครงการฝึกอบรมแบบไคโร (CIRO) 2) วิเคราะห์สมนัยระหว่างคุณลักษณะของผู้เข้ารับการอบรมกับระดับพฤติกรรมหลังการฝึกอบรม 3) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพครูไม่ตรงวุฒิในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เข้ารับการอบรมโครงการครูไม่ตรงวุฒิประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 497 คน กลุ่มตัวอย่างในการติดตามและประเมินผลลัพธ์ คือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอน แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบรายการ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent samples t-test) และทดสอบการสมนัย (Correspondence Analysis: CA) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาและประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนไม่ตรงวุฒิตามรูปแบบการประเมินผลโครงการฝึกอบรมไคโร (CIRO) พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านปฏิกิริยา มีความเหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา พบว่า ในภาพรวมทุกลุ่มสาระมีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยอยู่ในระดับกลาง คะแนนหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกรายวิชา ผลลัพธ์ด้านระดับพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ พบว่า ในภาพรวมระดับการนำความรู้ไปใช้มีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .33 สามารถเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดดังนี้ ด้านการออกแบบและการจัดเรียนการสอน ด้านเนื้อหาที่จัดการเรียนการสอนและด้านการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ตามลำดับ และผลการประเมินด้านผลลัพธ์ที่เกิดกับครูและนักเรียน พบว่า ครูแต่ละกลุ่มสาระได้รับการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนแล้วสามารถนำมาต่อยอดได้ ส่วนด้านนักเรียนพบว่า นักเรียนมีทัศนคติที่ดีกับการเรียนมากขึ้น 2. ผลการวิเคราะห์การสมนัยระหว่างระดับการปฏิบัติหลังการฝึกอบรมกับเพศ ประสบการณ์การทำงาน ภูมิลำเนา และตำแหน่ง พบว่า ระดับการปฏิบัติหลังเข้ารับการฝึกอบรมสมนัยกับเพศของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่สมนัยกับประสบการณ์การสอน ภูมิลำเนา และตำแหน่งอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายกลุ่มสาระพบว่า ระดับการปฏิบัติทุกลุ่มสาระสมนัยกับทุกคุณลักษณะอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพครูไม่ตรงวุฒิในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีประสิทธิภาพ จากข้อเสนอแนะในด้านบริบท ควรมีการศึกษาและพิจารณาปัญหาและความต้องการของผู้เข้าอบรม วัตถุประสงค์ของโครงการ และความพร้อมของผู้จัดโครงการให้มีความสอดคล้องกัน ด้านปัจจัยนำเข้า ควรกำหนดจำนวนเจ้าหน้าที่โครงการและวิทยากรให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าอบรมเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง ด้านปฏิกิริยา ควรแยกผู้เข้าอบรมตามช่วงชั้นที่สอนและเน้นการพัฒนาผู้เข้าอบรมทั้งด้านเนื้อหาและทักษะการสอนควบคู่กัน และด้านผลลัพธ์ ควรมีการติดตามผลหลังฝึกอบรม เพื่อพัฒนาผู้เข้าอบรมอย่างต่อเนื่อง The objective of this research were 1) to study and evaluate of the non-direct qualified teacher development in three southern border provinces project, applying CIRO evaluation model. 2) to analyze the correspondence between the Behavior Level after Training on Sex, Domicile and Position of non-direct Qualified teacher 3) to study the guideline and suggestions for the development of non-direct qualified teachers in the three southern border provinces to be effective. The target audience were 497 of non-direct qualified teacher.The sample consisted of 165 trainees. The instruments used were survey, questionnaires, interview, checklist, and test. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, relative gain score and t-test. The result showed that 1. The results of the study and evaluate of the non-direct qualified teacher development in three southern border provinces project, applying CIRO evaluation model found that the context, input and reaction are consistent with the evaluation criteria. The outcome of the knowledge and understanding of the content found that overall the mean scores for development were at medium level. The post-training scores were significantly higher than those before the training at the .05 level. In all subjects, the level of knowledge use behavior was at the high level. The mean is 4.00. The standard deviation is .33. The highest order of the mean is as follows: Design and teaching The teaching content and the measurement and evaluation of learning respectively, and the outcomes of the teacher and student, showed that each teacher was developed in teaching and learning management. The outcomes of students found that. Students feel better about their studies. 2. The results of the correspondence analysis found that the behavior level after training was significantly correlated with the sex of the teachers at the .05 level. However, the experience with teaching, domicile and position was not statistically significant at the .05 level, when analyzed separately, the group found that. The level of behavior was not significantly different at all , at the .05 level. 3. Guidelines and suggestions for the development of inadequate teachers in the southern border provinces to be effective. 1) The best context should be analyzed. 2) Management should be adjusted in the training process. 3) Guidelines and suggestions for the development of non-direct qualified teachers in the three southern border provinces. Based on contextual feedback. Should study and consider the problems and needs of the participants. Project Objectives And the availability of the project organizer is consistent. Import factor The number of project staff and trainers should be appropriately adjusted to the number of trainees so that trainees can be fully developed. Reaction The participants should be separated in their classes and emphasized the development of both the content and the teaching skills. And the results side Follow up after training. To develop participants continuously. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12276 |
Appears in Collections: | 276 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1492.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.