กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12273
ชื่อเรื่อง: โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Multilevel Causal Model the Desirable Student Behavior for Lower Secondary School Students in Multi – Cultural Society in Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชิดชนก, เชิงเชาว์
ไลลา, โต๊ะเด็น
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คำสำคัญ: สังคมพหุวัฒนธรรม;พฤิตกรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้นในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดสตูล ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียน 632 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการสุ่มโรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียนและระดับชั้นที่เรียน ขั้นตอนที่สองเป็นการสุ่มนักเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำหรับนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) ตัวแปรทำนายระดับบุคคล ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต สัมพันธภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ (2) ตัวแปรทำนายระดับห้องเรียน ได้แก่ บรรยากาศในชั้นเรียน และคุณภาพครูที่ปรึกษา (3) ตัวแปรตามคือ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน การเป็นลูกที่ดี การเป็นนักเรียนที่ดี และการเป็นคนดีของสังคม ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ด้านการเป็นลูกที่ดี และด้านการเป็นนักเรียนที่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการเป็นคนดีของสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ^2= 609.66, df = 209, χ^2/df = 2.92, CFI = 0.932, TLI = 0.912, RMSEA = 0.055, SRMRW = 0.024, SRMRB = 0.043) (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ปัจจัยระดับบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยลักษณะมุ่งอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านการคาดการณ์ไกล ด้านการวางแผนและแก้ปัญหา และด้านการรู้จักรอคอยและเพียรพยายาม และปัจจัยสัมพันธภาพ ได้แก่ สัมพันธภาพภายในครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ส่วนปัจจัยระดับห้องเรียนส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับบุคคลและระดับห้องเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนในพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนได้ร้อยละ 84.3 และ 83.9 ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12273
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:276 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1489.pdf6.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น