กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12272
ชื่อเรื่อง: | จริยธรรมของอิมามอันนะวะวีย์ด้านการใช้ชีวิตและด้านการศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Ethics of Imam An-Nawawiy in Daily Life and Education |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อับดุลฮาดี, สะบูดิง มูฮำมาดอาดลันด์, มะแซ College of Islamic Studies (Islamic Studies) วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) |
คำสำคัญ: | ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | การวิจัยฉบันนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาชีวประวัติของอิมามอันนะวะวีย์2) เพื่อศึกษาจริยธรรมของอิมามอันนะวะวีย์ด้านการใช้ชีวิต 3) เพื่อศึกษาจริยธรรมของอิมามอันนะวะวีย์ด้านการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยการนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive method) และแบบนิรนัย (Deductive method)และเชื่อมโยงประเด็นที่เกี่ยวข้องจากนั้นจึงนำมาเรียบเรียงเนื้อหาอธิบาย และใช้วิธีการสังเคราะห์ (Synthesis) ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญและใหม่ จากการวิจัยพบว่าท่านอิมามอันนะวะวีย์เป็นปราชญ์มุสลิมที่มีความโดดเด่นด้านจริยธรรม ซึ่งมีอยู่ 2 ด้านด้านที่หนึ่ง คือ จริยธรรมด้านการใช้ชีวิต มีดังนี้ 1)อัซซุฮดฺ(اَلزُّهْدُ)ซึ่งจะปรากฏให้เห็นจากการระมัดระวังของท่านในการรับประทานอาหาร การแต่งกาย การไม่รับตำแหน่งหน้าที่จากทางการ และการไม่รับค่าตอบแทน 2) อัลวัรอฺ(اَلْوَرْعُ)ปรากฏให้เห็นได้จากการไม่รับประทานอาหารที่คลุมเครือของท่าน3) อัลญุฮดฺ(اَلْجُهْدُ) ปรากฏให้เห็นได้จากการแสดงจุดยืนต่อผู้มีอำนาจทางการเมือง การปฏิเสธให้การฟัตวาทางศาสนา เพื่อดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องของศาสนบัญญัติ4) อัลอิบาดะห์(اَلْعِباَدَةُ)ที่ปรากฏให้เห็นจากการละหมาดของท่าน การถือศีลอด และการบริจาคในหนทางของอัลลอฮ์ ส่วนด้านที่สอง คือจริยธรรมด้านการศึกษา มีดังนี้ 1) อัลอิคลาส (الإِخْلاَصُ)มีปรากฏให้เห็นได้จากการสอนหนังสือเผยแผ่ความรู้ให้กับสังคมมุสลิมและดำรงตำแหน่งชัยคฺอัลหะดีษซึ่งท่านไม่รับค่าตอบแทนแต่ท่านนำค่าตอบแทนบริจาคให้กับสถาบัน 2) อัลซอบรฺ(اَلصَّبْرُ)มีปรากฏให้เห็นจากที่ท่านใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายอาศัยอยู่หอพักที่แคบไม่หรูหรา มีความพยายามมั่นเพียรและมีความมุ่งหมั่นสูง 3) อัลอัคลาก (الأَخْلاَقُ)มีปรากฏให้เห็นจากการที่ท่านเป็นคนมีจิตอาสาและความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ 4) อัลมูญาฮะดะห์(اَلمُجَاهَدَةُ)มีปรากฏให้เห็นจากการที่ท่านมีความละเอียดและขัดเกลาในงานเขียนตำรา This research aims to: 1) study the biography of Imam An-Nawawiy (may God have mercy on him) 2) study his moralities in the field of life, and 3) study his moralities in the field of seeking knowledge. This research is based on a descriptive approach and an inductive approach, which is a method that links the issues related to the subject, and then organizes the information and explains and synthesis, in order to obtain the novelty and importance in the subject studied. The research concluded that of Imam al-Nawawi, may God have mercy on him, is characterized by knowledge and its emergence in good morals, where research is concentrated in only two areas: the field of life and the field of seeking knowledge. The moralities of of Imam al-Nawawi in the field of life are four things: Firstly; the asceticism, which is evident in the care of his food and drink, and clothes, and not accept the official positions provided by the rulers, and not accept the equivalent of his work. Secondly; the deterrent, which is prominent in the disappearance and non-proximity of the suspicions of food and drink. Thirdly; the voltage which shown by his strict approval in front of Sultan or ruler. Fourthly; the worship, that emerges clear from him, may God have mercy on him, in the abundance of nawafil prayers and fasting, as well as the obligatory ones, and to give moneyfor the sake of Allaah. As for his field of moralities in seeking knowledge, he is characterized by devotion where we saw him through teaching, dissemination of science and installed in the Sheikh of al-Hadith without taking anything from the salary. Secondly; the patience, where we saw that from his simple life, diligence and perseverance persists. Thirdly: ethics, where we saw that through his humility and services to his teachers. Fourthly: work hard where we saw that in its accuracy and refinement in the writing of his books |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12272 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1557.pdf | 7.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น