กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12226
ชื่อเรื่อง: กลไกการรับส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสำหรับเครือข่ายยานพาหนะที่เน้นเนื้อหาเป็นศูนย์กลาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency of packet delivery mechanism for content-centric networking in VANET
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิรวัฒน์ แท่นทอง
แสงเดือน ชูทอง
College of Computing (Information Technology)
คำสำคัญ: เครือข่ายแอดฮอกของยานพาหนะ;ระบบสื่อสารเคลื่อนที่;ระบบขนส่งอัจฉริยะ
วันที่เผยแพร่: 2017
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This thesis presents the three mechanisms. In the first part, the clustering technique is performed, the second part is caching replacement management for the cluster head, and the third part is cluster maintenance mechanism. In the first part, the Vehicular Content-Centric Networking in Cluster (VCCN-C) is the sub-clustering technique performed by the speed of the vehicle. A node of cluster acts as a cluster head to provide data services for cluster members. The cluster head handles to deliver packets among clusters. The advantage of this mechanism is to reduce the packet overhead and the data redundancy. The results are demonstrated the VCCN-C increases the performance of packet delivery delay and the hop counts are greater than the VCCN. In the second part, we design the Cache Replacement Content Popularity (CRCP) mechanism on the cluster head. The research is based on the Content Popularity (CP) of the data cached on the cluster head. The Exponential Moving Average (EMA) function is applied to evaluate the popularity of the content data in the cluster head. The results are proved the CRCP is better than the standard of cache replacement technique in term of average cached hit ratio. In the third part, the cluster maintenance mechanism is designed to solve the problem of the cluster head leaves from the cluster in the first part. We modify the mechanism in the first part in order to allow selecting one additional node for data backup, called Secondary Cluster Head (SCH). The local data access is guaranteed for cluster members. The results are explained the proposed mechanism improves the performance of the packet delivery delay and the average hop counts are better than the VCCN.
Abstract(Thai): วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นําเสนอกลไกซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วิธีการจัด แบ่งกลุ่มย่อย ส่วนที่ 2 การจัดการแคชข้อมูลลงในโหนดที่หน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม และส่วนที่ 3 คือ การรักษาเสถียรภาพของกลุ่ม ส่วนที่ 1 นําเสนอระบบเครือข่ายที่เรียกว่า VCCN-C เป็นเทคนิคการจัด กลุ่มย่อยตามความเร็วของยานพาหนะ โหนดในกลุ่มที่ทําหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจะคอยให้บริการ ข้อมูลแก่สมาชิก นอกจากนี้หัวหน้ากลุ่มยังทําหน้าที่ในการจัดส่งแพ็คเก็ตข้อมูลระหว่างกลุ่ม ข้อดีของ กลไกนี้ คือ ช่วยลด Overhead และลดความซ้ําซ้อนของข้อมูลภายในกลุ่ม ผลการทดลองแสดงให้ เห็นว่า VCCN-C มีประสิทธิภาพดีกว่า VCCN ในแง่ของการช่วยลดความล่าช้าและจํานวน hop ใน การส่งข้อมูล ส่วนที่ 2 มุ่งเน้นเรื่องการจัดการแคชข้อมูลลงในโหนดที่หน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม สิ่งที่ได้ จากงานวิจัย คือ เทคนิคการแคชข้อมูลตามความนิยมของเนื้อหา (Content Popularity: CP) ที่ เรียกว่า Cache Replacement Content Popularity (CRCP) โดยอาศัยฟังก์ชัน Exponential Moving Average ซึ่งจะนําค่าความนิยมมาพิจารณาในการเก็บรายการข้อมูลให้ยังคงอยู่ใน CS ต่อไป ผลการทดลองพบว่า CRCP มีอัตราการเจอข้อมูลเฉลี่ย (Average Cache Hit Ratio) ดีกว่าแบบ Least Recently Used (LRU) และ Least Frequently Used (LFU) และส่วนที่ 3 คือ ส่วนของ การรักษาเสถียรภาพของกลุ่ม โดยการปรับปรุงแนวคิดในส่วนที่ 1 โดยการเลือกหัวหน้ากลุ่มเพิ่มอีก 1 โหนดที่เรียกว่า Secondary Cluster Head (SCH) ซึ่งจะทําหน้าที่คอยให้บริการข้อมูลสํารองในกรณี ที่ Primary Cluster Head (PCH) ออกจากกลุ่ม ประโยชน์ของกลไก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการ กระจายข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลให้ได้จากโหนดหัวหน้ากลุ่มเสมอ ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่ากลไกที่ นําเสนอช่วยลดความล่าช้าในการส่งแพ็คเก็ตข้อมูลและค่าเฉลี่ยจํานวน Hop น้อยกว่า VCCN
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12226
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:976 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
422659.pdf2.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น