Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12203
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญชลี ศิริโชติ-
dc.contributor.authorอภันตรี มีบุญ-
dc.date.accessioned2019-04-02T07:43:57Z-
dc.date.available2019-04-02T07:43:57Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12203-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560th_TH
dc.description.abstractSomkhwai (Garcinia pedunculata Roxb., G. pedunculata) and Somkhaek (G. atroviridis Griffith ex T. Anderson., G. atroviridis) are Thai medicinal plants found most in the southern area of Thailand. This research aimed to study (1) growth developmental stages on the physical, chemical and antioxidant properties of Somkhwai and Somkhaek fruits. and (2) hot- air dehydration time on the physical, chemical and antioxidant properties of Somkhwai and Somkhaek slices. It was found that Somkhwai and Somkhaek fruits from the 5 developmental stage (maturity stage) had the firmness of 11.47±1.71 N and 7.64±0.33 N, and hue angle (h) of 84.03±2.31 degree and 92.54±1.13 degree, respectively, which both values were significantly (p<0.05) lower than those of other stages. The Somkhwai fruit at this stage also contained highest in the total phenolic content (TPC) of 5.34±0.10 mg GAE/g (db) and DPPH scavenging activity of 0.53±0.07 μg/ml. Also, the contents of hydroxycitric acid (HCA) and hydroxycitric acid lactone (HCAL) were 531.26±4.49 and 396.79±4.30 mg/g (db), respectively. Whereas the Somkhaek fruit from the 5th maturity stage contained both TPC of 1.50±0.09 mg GAE/g (db) and DPPH scavenging activity of 0.91±0.10 mg/ml, gradually lower than those of the 1 maturity stage. While the contents of HCA and HCAL were 348.19±1.70 and 199.20±0.89 mg/g (db), respectively. In addition, the hot-air drying at 51°C of each stage of Somkhwai and Somkhaek slices (1.0 mm average thickness) until obtaining the final moisture content of proximately 9% was performed. During dehydration, drying rates of both Somkhwai and Somkhaek slices from each maturity stage showed changes in similar trends with increasing in the rate during 0 to 4 hours and decreasing during 4 to 8 hours except Somkhwai slices from the 3rd maturity stage had quite constant in the dryings rate at the beginning of 4 hours and great reduction in the later of 4 hours. It was found that the maturity stage of fruits significantly effected (p<0.05) on the cutting force, color values, TA, TPC and DPPH scavenging activity. Somkhwai and Somkhaek slices during dehydration had the moisture contents great tentatively reduction in every maturity stage at drying time of 4 hours. And at the dehydration time of 8 hours, it was found that dried Somkhwai slices from the 5th maturity stage had the least of h value. Which were in the range from 45 to 90 degree, while the cutting force was the least of 37.20 N. Furthermore, dried Somkhaek slices from the 5" maturity stage had the greatest in cutting force of 42.81 N and C* higher than those of other stage dried ones. Also, the least h value was in the range of 90 to 135 degree. As the dehydration times of both Somkhwai and Somkhaek slices from each maturity stage increased, the TPC and DPPH scavenging activity trended to significantly reduce. Moreover, the correlation number (r) of TPC and DPPH scavenging activity (EC) of dried Somkhwai and Somkhaek slices were -0.531 and -0.247, respectively. It was also found that hot-air dehydration effected on the reduction in contents of HCA and HCAL of dried Somkhwai slices obtaining from the maturity stage of 4" and 5". At the end of dehydration process of 8 hours, it was found that dried Somkhwai slices from both maturity stages contained HCA and HCAL of 254.39±1.06 and 221.63±1.26 mg/g (db), and of 222.06±0.30 and 196.55±0.61 mg/g (db), respectively. Dried Somkhaek slices from the 4th maturity stage had the decrease in HCA and HCAL contents of 160.41±0.45 and 111.46±0.46 mg/g (db), respectively. While the observed dried Somkhaek slices from the 5" maturity stage contained greater in HCA and HCAL contents of 398.60±0.80 and 270.86±3.11 mg/g (db), respectively. This research showed that fresh Somkhwai fruit from the 5 maturity stage provided the highest in the contents of TPC, DPPH scavenging activity, HCA and HCAL. Whereas fresh Somkhaek fruit from the 5th maturity had highest only HCA and HCAL contents. While dried Somkhwai slices from the 5" maturity stage at drying time of 8 hours had decrease in contents of both hydroxycitric and hydroxycitric lactone. However, dried Somkhaek slices from the same maturity stage and drying time had greater in both amounts of two compounds.-
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์th_TH
dc.subjectส้มควาย (พืช) การอบแห้งth_TH
dc.subjectส้มแขก (พืช) การอบแห้งth_TH
dc.titleสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางเคมีและคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระที่มีผลมาจากระยะการเจริญของผลและการอบแห้งแบบลมร้อนของส้มควาย (Garcinia pedunculata) และส้มแขก (Garcinia atroviridis)th_TH
dc.title.alternativePhysical, Chemical and Antioxidant Properties as Affected by Fruit Developmental Stages and Hor-Air Dehydration of Garcinia pedunculata and Garcinia atroviridisth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Agro-Industry (Food Technology)-
dc.contributor.departmentคณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร-
dc.description.abstract-thส้มควาย (Garcinia pedunculata Roxb., G. pedunculata) และส้มแขก (G. atroviridis Griffith ex T. Anderson, G. atroviridis) เป็นพืชสมุนไพร พบในท้องถิ่นภาคใต้ของ ประเทศไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระยะการเจริญของผลที่มีต่อสมบัติทางกายภาพ เคมีและการต้านอนุมูลอิสระของส้มควายและส้มแขกและ (2) เวลาการอบแห้งด้วยตู้อบแห้ง ลมร้อนที่มีต่อสมบัติทางกายภาพ เคมี และการต้านอนุมูลอิสระของส้มควายและส้มแขกชิ้นบาง พบว่าผลส้มควายสดและส้มแขกสดจากระยะที่ 5 มีค่าความแน่นเนื้อเท่ากับ 11.47±1.71 นิวตัน และ 7.64±0.33 นิวตัน และค่ามุมของสี (hue angle, h) มีค่าเท่ากับ 84.03±2.31 องศา และ 92.54±1.13 องศา ตามลําดับและมีค่าต่ํากว่าผลจากระยะการเจริญอื่นๆ (p<0.05) ผลส้มควายสดจากระยะการ เจริญของผลระยะที่ 5 ยังพบมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและสมบัติการจับอนุมูล DPPH สูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 5.34±0.10 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิก/กรัมฐานแห้ง และ 0.53±0.07 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ ขณะที่มีปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริก และกรดไฮดรอกซีซิตริก แลกโตน มีค่าเท่ากับ 531,26±4.49 และ 396.79±4.30 มิลลิกรัม/กรัมฐานแห้ง ตามลําดับ ส่วนผลส้ม แขกจากระยะการเจริญที่ 5 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและสมบัติการจับอนุมูล DPPH มากเป็นอันดับรองลงมาจากผลส้มแขกจากระยะที่ 1 โดยมีปริมาณและคุณสมบัติเท่ากับ 1.50±0.09 มิลลิกรัมสมมูล กรดแกลลิก/กรัมฐานแห้ง และ 0.91±0.10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ ขณะที่มี ปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริกและกรดไฮดรอกซีซิตริกแลกโตน มีค่าเท่ากับ 348.19±1.70 และ 199.20±0.89 มิลลิกรัม/กรัมฐานแห้ง ตามลําดับ เมื่อนําผลส้มควายและส้มแขกจากแต่ละระยะการเจริญตัดเป็นชิ้นบาง (ความหนา เฉลี่ย 1.0 มิลลิเมตร) อบแห้งลมร้อนที่อุณหภูมิ 51 องศาเซลเซียส จนมีปริมาณความชื้นสุดท้าย ประมาณ 9% ในระหว่างการอบแห้ง พบว่าอัตราการอบแห้งของทั้งส้มควายและส้มแขกชิ้นบางจาก ทุกระยะการเจริญมีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณความชื้นที่คล้ายคลึงกัน โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นใน ระหว่าง 0 ถึง 4 ชั่วโมง และอัตราลดลงในระหว่าง 4 ถึง 8 ชั่วโมง ยกเว้นส้มควายจากระยะการเจริญ ที่ 3 ที่อัตราการอบแห้งค่อนข้างคงที่ในช่วง 4 ชั่วโมงแรก แล้วลดลงในช่วง 4 ชั่วโมงหลังตามลําดับ ระยะการเจริญของผลมีผลต่อค่าแรงตัด สี ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ ปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกทั้งหมดและสมบัติการจับอนุมูล DPPH ของส้มควายและส้มแขกชิ้นบางอบแห้งอย่าง มีนัยสําคัญ (p<0.05) เมื่ออบแห้งเป็นเวลา 8 ชั่วโมง พบว่าส้มควายชิ้นบางแห้งจากระยะที่ 5 มีค่า h ต่ําที่สุด โดยมีค่า h อยู่ในช่วง 45-90 องศา และมีค่าแรงตัดต่ําที่สุด เท่ากับ 37.20 นิวตัน ขณะที่ ส้มแขกชิ้นบางอบแห้งจากระยะที่ 5 มีค่าแรงตัดสูงที่สุด เท่ากับ 42.81 นิวตัน และมี ค่าสี C* สูงกว่า ส้มแขกชิ้นบางอบแห้งจากระยะอื่นๆ และมีค่า 1 ต่ําที่สุด อยู่ในช่วง 90-135 องศา เมื่อเวลาการ อบแห้งส้มควายและส้มแขกชิ้นบางจากแต่ละระยะการเจริญเพิ่มขึ้น มีผลให้ปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกทั้งหมดและสมบัติการจับอนุมูล DPPH มีแนวโน้มลดลง (p<0.05) โดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (Correlation number; r) ของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและสมบัติการจับ อนุมูลอิสระ DPPH (EC) ของส้มควายและส้มแขกชิ้นบางอบแห้ง เท่ากับ -0.531 และ -0.247 ตามลําดับ และยังพบว่าการอบแห้งลมร้อนส่งผลให้ปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริกและกรดไฮดรอกซี ซิตริกแลกโตนของส้มควายชิ้นบางอบแห้งจากระยะการเจริญทั้งที่ 4 และ 5 มีค่าลดลง โดยเมื่อ สิ้นสุดการอบแห้ง 8 ชั่วโมง ส้มควายชิ้นบางอบแห้งจากระยะทั้งสอง มีปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริก และกรดไฮดรอกซีซิตริกแลกโตน เท่ากับ 254.39±1.06 และ 221.63±1.26 มิลลิกรัม/กรัมฐานแห้ง และ 222,06±0.30 และ 196.55±0.61 มิลลิกรัม/กรัมฐานแห้ง ตามลําดับ ส้มแขกชิ้นบางอบแห้ง จากระยะการเจริญที่ 4 มีปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริกและกรดไฮดรอกซีซิตริกแลกโตนลดลง มีค่า เท่ากับ 160.41±1.70 และ 111,46±0.46 มิลลิกรัม/กรัมฐานแห้ง ตามลําดับ แต่ส้มแขกชิ้นบางอบแห้ง จากระยะที่ 5 มีปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริกและกรดไฮดรอกซีซิตริกแลกโตนเพิ่มขึ้น โดยมีค่า เท่ากับ 398.60±0.80 และ 270.86+3.11 มิลลิกรัม/กรัมฐานแห้ง ตามลําดับ จากงานวิจัยนี้ผลส้มควายสดในระยะการเจริญที่ 5 มีปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกทั้งหมด สมบัติการจับอนุมูล DPPH ปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริกและไฮดรอกซีซิตริก แลกโตนสูงที่สุด ในขณะที่ผลส้มแขกในระยะการเจริญที่ 5 มีปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริกและ กรดไฮดรอกซีซิตริกแลกโตนสูงที่สุด ส่วนชิ้นส้มควายอบแห้งจากระยะการเจริญที่ 5 เมื่ออบแห้ง ลมร้อนระยะเวลาอบแห้ง 8 ชั่วโมง พบว่ามีทั้งปริมาณกรดไฮดรอกซีซิตริกและไฮดรอกซีซิตริก แลกโตนลดลง อย่างไรก็ดีชิ้นส้มแขกอบแห้งจากระยะการเจริญและระยะเวลาอบแห้งเดียวกันให้ ปริมาณสารทั้งสองชนิดดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น-
Appears in Collections:850 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
420464.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.