Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12190
Title: | การศึกษาพฤติกรรมด้านกำลังเนื่องจากผลกระทบของอุณหภูมิและอัตราของดินเหนียวปากพนัง |
Other Titles: | Study Strength Behavior due to Temperature and Rate Effect of Pakphanang Clay |
Authors: | ธนันท์ ชุปอุปการ วัชระ ศรีสะกูล Faculty of Engineering Civil Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา |
Keywords: | ปฐพีกลศาสตร์ ปากพนัง (นครศรีธรรมราช);ดินเหนียว ผลกระทบจากอุณหภูมิ ปากพนัง (นครศรีธรรมราช) |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Changes in soil engineering behavior because of the changing temperature affect the strength of the soil, especially saturated clay. The total ground response depends on time-dependent behavior or viscosity of soil, especially in clay. To predict soil behavior and design structure foundation, the engineer must clearly understand the time-dependent behavior of dependent behavior is the result of the viscosity of soil that relates to the plasticity of soil that viscosity of so is predominant in clay. Pakphanang, Nakhon Si Thammarat province rapidly developing city, eastern coast of southern of Thailand. The geology of Pakphanang is soft marine clay that is a potential host formation for geothermal utilization. Therefore this research aimed to present stress-strain behavior and shear strength of soft Pakpanang clay by developed triaxial compression apparatus at varying of temperature and shear rate. Triaxial tests, consolidated undrained type. The shear temperature were 45 and 60 degrees Celsius, shear rates were 0.02%, 0.075%, 1.0%, and 6.0% per minute. At the end of this paper, we will present a comparative study of the relationship between stress and strain, shear strength of soft clay, high temperature, and room temperature. The test results were showed that the increased temperature did not affect molecular structure of soil but it's was effect to Atterberg's limits. The dried soils have plastic limit (PL) of 36.9 percent, liquid limit (LL) of 109.0 percent, and 72.1. of plastic index (PI). The soil that dried by heat the liquid limit is 70.7 percent, plastic limit is 31.0 percent. It's showed that Pakphanang Clay is organic clay. In addition, increased temperatures also contribute to the strength of Pakphanang clay, the strength of the clay is increased in every overconsolidation ratio, a few moving to the point of failure, The soil at room temperature reaches to the point of failure about 12.1 percent of the axial strain. The soil at 45 and 60 degrees Celsius had a failure point about 8.3 and 6.2 percent of the axial strain, respectively. The temperature also contributes to the modulus of elasticity at the point of failure, a clear increase in the modulus of elasticity secant, no significant effect of excess water |
Abstract(Thai): | การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านวิศวกรรมของดินเนื่องด้วยอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อความแข็งแรงของดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเหนียวที่อิ่มตัวด้วยน้ำ การตอบสนองของพื้นดิน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพฤติกรมที่ขึ้นกับเวลาหรือความหนืดของดินโดยเฉพาะในดินเหนียว เพื่อทำนายพฤติกรรมของดิน และการออกแบบโครงสร้างรากฐาน วิศวกรต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมที่ขึ้นกับเวลาอย่างชัดเจน พฤติกรรมที่ขึ้นกับความชอบเป็นผลมาจากความหนืด ของดินที่เกี่ยวกับความเป็นพลาสติก ของดินที่มีความหนืดที่เด่นในดินเหนียว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วทางชายฝั่ง ด้านตะวันออกของภาคใต้ ธรณีวิทยาของปากพนังเป็นดินเหนียวอ่อนซึ่งเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากความร้อนใต้พิภพ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอพฤติกรรมความเค้นความเครียด และกำลังของดินเหนียวอ่อนปากพนัง ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและอัตราเฉือนโดยใช้เครื่องทดสอบแรงอัดสามแกนที่พัฒนาขึ้น ทำการทดสอบแรงอัดสามแกนแบบอัดตัวคายน้ำและเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ ที่อุณหภูมิ 45 และ 60 องศาเซลเซียส และอัตราความเครียดที่แตกต่าง กัน 0.02%, 0.075%, 1.0% และ 6.0% ต่อนาทีตามลำดับ ในตอนท้ายของงานวิจัยนี้จะได้นำเสนอผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นกับความเครียด และกำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวอ่อนปากพนังอุณหภูมิสูงกับอุณหภูมิห้อง จากผลการทดสอบพบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างโมเลกุลของ เม็ดดิน แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อค่าขีดจำกัดอัตเตอร์เบิร์ก โดยดินที่ปล่อยให้แห้งเองจะมีค่าขีดพิกัดพลาสติก (Plastic limit, PL) ได้ร้อยละ 36.9 ค่าขีดพิกัดเหลว (Liquid limit, LL) ได้ร้อยละ 109.0 ดัชนีพลาสติก (Plastic index, PI) ได้ค่า 72.1 ส่วนดินที่ทำให้แห้งด้วยความร้อน มีค่า ขีดจำกัดเหลวร้อยละ ร้อยละ 70.7 ค่าขีดจำกัดพลาสติกร้อยละ 31.0 จึงทำให้ทราบว่าดินเหนียวปากพนังเป็นดินเหนียวอินทรีย์ นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังมีผลพฤติกรรมการรับแรงของดินเหนียวปากพนังให้มีความแข็งแรงมากขึ้นด้วยในทุก ๆ การอัดแน่นเกินตัว และส่งผลให้ดินถึงจุดวิบัติด้วยการเคลื่อนตัวที่น้อย ดินที่อุณหภูมิห้องดินจะถึงจุดวิบัติอยู่ที่ประมาณ 12.1 เปอร์เซ็นต์ของความเครียดแนวแกน ดิน ที่ได้รับอุณหภูมิ 45 และ 60 องศาเซลเซียส มีจุดวิบัติอยู่ที่ประมาณ 8.3 และ 6.2 เปอร์เซ็นต์ของความเครียดแนวแกน ตามลำดับ อุณหภูมิยังส่งผลให้ค่าโมดูลัสยึดหยุ่นที่จุดวิบัติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในค่าโมดูลัสยืดหยุ่นซีแค้นต์ รวมถึงไม่มีผลทำให้เกิดแรงดันน้ำส่วนเกินอย่าง มีนัยสำคัญ และมีผลต่อเส้นทางเดินของหน่วยแรงด้วย รวมถึงมีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความดันน้ำที่จุด วิบัติมีค่าเพิ่มขึ้นไม่มากนักตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12190 |
Appears in Collections: | 220 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
420420.pdf | 15.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.